รู้จัก "อิทธิบาท 4" คืออะไร มีอะไรบ้าง พร้อมแนวทางใช้ในชีวิตประจำวัน

"อิทธิบาท 4" ศัพท์ในพระพุทธศาสนาที่ได้ยินกันบ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นหนึ่งหลักธรรมคำสอนที่ถูกบรรจุไว้ในวิชาพระพุทธศาสนา หรือวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำคัญ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และพุทธศาสนิกชนได้เรียนรู้และปฏิบัติตนตามหลักธรรมในการชีวิตประจำวัน

รู้จัก "อิทธิบาท 4" คืออะไร

อิทธิบาท 4 หมายถึง หลักธรรมสำคัญในศาสนาพุทธ ว่าด้วยเรื่องหนทางสู่ความสำเร็จในชีวิต โดยจะต้องยึดหลักคุณธรรมทั้ง 4 เพื่อให้ชีวิตประสบความสำเร็จได้

อิทธิบาท 4 มีอะไรบ้าง

อิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมที่ประกอบด้วยหลักคุณธรรม 4 ประการ ได้แก่

  • ฉันทะ หมายถึง ความรัก พอใจในสิ่งที่มีอยู่หรือสิ่งที่ทำ
  • วิริยะ หมายถึง ความพากเพียรและความขยันอย่างต่อเนื่อง
  • จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่ มุ่งมั่น และรับผิดชอบสิ่งนั้นๆ
  • วิมังสา หมายถึง ความตระหนักไตร่ตรองถึงเหตุและผลด้วยปัญญา

อิทธิบาท 4 มีความสำคัญอย่างไร

เนื่องจากหลักธรรมในศาสนาพุทธมักสอดแทรกข้อคิดหรือแนวทางในการดำรงชีวิตประจำวันอยู่เสมอ เช่นเดียวกับ อิทธิบาท 4 ที่เป็นเสมือนหลักธรรมคำสอน เป็นแนวทางให้ประพฤติปฏิบัติตนของพุทธศาสนิกชน

...

อิทธิบาท 4 การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

อิทธิบาท 4 กลายเป็นหลักธรรมที่นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านการทำงานและการเรียน ดังนี้

อิทธิบาท 4 การทำงาน

ฉันทะ หมายถึง ความรัก พอใจในสิ่งที่มีอยู่ อาจลองสำรวจตนเองว่ามีความรักและพอใจในงานที่ตนเองทำหรือไม่ หากพบว่าตนเองไม่รักหรือพอใจในงานที่ทำมากพอ ก็จะช่วยให้มองเห็นแนวทางหรือสิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลงในการทำงานได้

วิริยะ หมายถึง ความพากเพียรและความขยันอย่างต่อเนื่อง หากตั้งใจทำงานด้วยความขยัน พากเพียรก็จะช่วยเสริมให้งานที่ทำอยู่นั้นประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ทั้งนี้ จะต้องไม่ลืมที่จะฝึกฝนและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่ มุ่งมั่น และรับผิดชอบสิ่งนั้นๆ โดยเฉพาะการใส่ใจและรับผิดชอบในงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย หากทำงานด้วยความรัก ความขยัน ประกอบกับการรับผิดชอบงานที่ดีแล้ว ก็เป็นหนึ่งในหนทางที่ช่วยให้งานประสบความสำเร็จได้

วิมังสา หมายถึง ความตระหนักไตร่ตรองถึงเหตุและผล ในการทำงานแต่ละครั้งจะต้องคำนึงถึงหลักและเหตุผลโดยใช้ทักษะและปัญญา เพื่อให้งานถูกต้องและไม่เกิดความผิดพลาดในครั้งต่อไป

อิทธิบาท 4 ในการเรียน

ฉันทะ การเรียนในวิชาหรือสาขาที่ตนเองพอใจ หากมีความพอใจในวิชานั้นๆ จะช่วยเสริมสร้างกำลังใจให้มีกำลังใจและไม่ท้อถอยในการเรียน

วิริยะ หมายถึง ความขยันหมั่นเพียรที่จะเรียนรู้ รวมถึงมีความใฝ่รู้ในการพัฒนาทักษะของตนเองทั้งที่เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา และเป็นทักษะเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น การส่งการบ้านตามกำหนดเวลา การส่งรายงานได้อย่างถูกต้องครบถ้วน หรือแม้กระทั่งการเข้าเรียนให้ครบกำหนดในรายวิชานั้นๆ

วิมังสา หมายถึง การตรวจสอบ ไตร่ตรอง และพิจารณาถึงเหตุและผลโดยใช้ทักษะและปัญญา เพื่อให้งานหรือการเรียนวิชานั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากพบข้อผิดพลาดก็สามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

อิทธิบาท 4 แนวทางสู่ความสำเร็จในชีวิต เป็นหลักธรรมที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย เพียงแต่จะต้องนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเอง ก็จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ไม่ยาก

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

รมต.สหราชอาณาจักร เสร็จภารกิจเยือนไทยย้ำร่วมมือ รัฐบาลแพทองธาร

แคทเธอรีน เวสต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศและการพัฒนา รับผิดชอบกิจการอินโด-แปซิฟิก (รม...

'อิสราเอล' ถล่มกรุงเบรุตเด็ดชีพผบ. 'ฮิซบอลเลาะห์' มีผู้เสียชีวิตแล้ว 14 ราย

สำนักข่าวเอพีรายงาน พล.ร.ต.แดเนียล ฮาการี โฆษกกองกำลังป้องกันอิสราเอลกล่าวยืนยันว่า อิสราเอล สามารถป...

‘บัฟเฟตต์’ มอบเงินมหาศาลให้การกุศล แต่ทำไมถึงไม่มอบเงินก้อนโตให้ลูกๆ ตัวเอง

วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) หนึ่งในนักลงทุนระดับตำนานที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มียอดทรัพย์สินสุทธิ ...

ค่ายรถไฟฟ้าเวียดนามอ่วมหนัก 'วินฟาสต์' ขาดทุนพุ่ง 27% ไตรมาส 2

บริษัทวินฟาสต์ (Vinfast) ค่ายรถไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2024 ขาดทุนเพ...