เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุคืออะไร ต้องมีคุณสมบัติ และเงื่อนไขอย่างไรบ้าง

ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุอยู่ที่ 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยกลุ่มผู้สูงวัยนี้มีส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย จัดอยู่ในกลุ่มเปราะบาง ด้วยเหตุนี้เองทำให้รัฐมีมาตรการในการดูแล และช่วยเหลือเป็นพิเศษ ซึ่งมาจากนโยบาย และเป็นสวัสดิการที่กลุ่มผู้สูงอายุจะได้รับเพื่อยังชีพ และเป็นหนึ่งในสิทธิและสวัสดิการของผู้สูงวัยที่ควรได้รับ

วันที่ 4 กันยายน 2566 กรมบัญชีกลาง มีประกาศการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในอัตรา 100 บาทต่อเดือน โดยนางสาวทิวาพร ผาสุข รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เผยว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุได้อนุมัติแนวทางการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่ได้รับสิทธิในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในอัตรา 100 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน-เดือนกันยายน 2566 โดย กรมบัญชีกลาง จะโอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ ดีเดย์ 12 ก.ย.นี้ โดยแบ่งกลุ่มการโอนเงินตามวัน เดือน ปีเกิด 

เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ คือ ส่วนหนึ่งของเบี้ยยังชีพผู้สูงวัย จากโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ที่กำหนด โดยทางรัฐบาลนั้นจะใช้เงินสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้สูงอายุ เป็นเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพตามเงื่อนไขที่รัฐได้กำหนด

ข้อมูลเว็บไซต์รัฐสภา กล่าวไว้ว่า เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แนวคิดเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ รวมทั้งได้มีการจัดบริการต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย เช่น การจัดตั้งศูนย์บริการผู้สูงอายุ โครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน เป็นต้น โดยมีการกำหนดนโยบาย และแผนในทุกระดับที่เกี่ยวกับเรื่องการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้นตามลำดับ เพื่อให้เพียงพอทั่วถึง และสอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถือเป็นสวัสดิการสังคมประเภทหนึ่งที่รัฐบาลจัดสรรให้กับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 

...

สิทธิเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ มีคุณสมบัติอะไรบ้าง

สิทธิเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ต้องเป็นผู้ได้รับสิทธิในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และเป็นผู้สูงอายุโดยมีเงื่อนไขเกิดก่อนวันที่ 1 กันยายน 2506 เป็นต้นไป

คุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ

1. สัญชาติไทย 

2. อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

3. ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช ผู้ต้องขัง ผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขังบุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ฯ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้รับบำเหน็จรายเดือน ผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ ข้าราชการการเมือง สส. และ สว.

คุณสมบัติรายได้ของผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ

4. รายได้บุคคลต่อปี ไม่เกิน 100,000 บาท และครอบครัว รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี ไม่เกิน 100,000 บาท

5. ทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ มีเงินฝาก สลาก พันธบัตร และตราสารหนี้ภาครัฐ

  • บุคคลทรัพย์สินทางการเงินต่อปี ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ครอบครัว ทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยต่อคนต่อปี ไม่เกิน 100,000 บาท

6. ไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ไม่เกินหลักเกณฑ์

  • วงเงินกู้บ้าน ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท
  • วงเงินกู้รถ ไม่เกิน 1 ล้านบาท

7. ไม่มีบัตรเครดิต

8. ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามเกณฑ์ และเงื่อนไขดังนี้

กรณีผู้ลงทะเบียนไม่มีครอบครัว

  • ห้องชุดไม่เกิน 35 ตร.ม.
  • ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย : ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตร ไม่เกิน 1 ไร่ และในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ไม่เกิน 10 ไร่
  • ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน) : บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถว ไม่เกิน 25 ตารางเมตร ใช้อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตรไม่เกิน 10 ไร่ และใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตร ไม่เกิน 1 ไร่ จะต้องมีขนาดพื้นที่รวมกันทั้งหมด แยกเป็น การเกษตร ไม่เกิน 10 ไร่ และไม่ใช่เพื่อการเกษตร ไม่เกิน 1 ไร่ 

กรณีผู้ลงทะเบียนมีครอบครัว

  • ห้องชุดขนาดไม่เกิน 35 ตร.ม.ต่อคน และกรณีเป็นเจ้าของร่วมกันไม่เกิน 35 ตร.ม.
  • ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตร ไม่เกิน 2 ไร่ และในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ไม่เกิน 20 ไร่

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน) 

  • บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว หรือตึกแถว ต้องเป็นเจ้าของแยกจากกัน ไม่เกิน 25 ตร.ว.ต่อคน และกรณีเป็นเจ้าของร่วมกัน ไม่เกิน 25 ตร.ว.
  • อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร ไม่เกิน 20 ไร่ หรือ ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เมื่อการเกษตร ไม่เกิน 2 ไร่ โดยจะต้องมีขนาดขึ้นพื้นที่รวมกันทั้งหมดเพื่อการเกษตรไม่กิน 20 ไร่ และไม่ใช้เพื่อการเกษตร ไม่เกิน 2 ไร่

ผู้ที่ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ และมีอายุตามเกณฑ์ ต้องยืนยันตัวตนของผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ และวันที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์ หากผู้มีสิทธิที่ยังไม่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) สามารถไปยืนยันตัวตนได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาเพื่อรับเงินสวัสดิการ 

ผู้มีสิทธิที่ไม่สามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนได้ (เฉพาะกรณีผู้พิการ/ผู้ป่วยติดเตียง/และหรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่สามารถเปิดบัญชีหรือผูกพร้อมเพย์ได้) สามารถแจ้งความประสงค์ให้โอนเงินเข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่น หรือเข้าบัญชีบุคคลอื่น โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินเข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่น หรือเข้าบัญชีบุคคลอื่น ได้ทางเว็บไซต์โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 หรือติดต่อขอรับที่ กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัดทุกจังหวัด และยื่นเอกสารได้ที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัดทุกจังหวัด ภายในวันที่ 17 พ.ย. 2566 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

...

ข้อมูล : welfare.mof.go.th, รัฐสภา และ กรมบัญชีกลาง

ภาพ : istock

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...