แร่ลิเทียม คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรในอนาคต หลังไทยพบเจอเป็นอันดับ 3 ของโลก

รู้จัก ‘แร่ลิเทียม’ แร่พลังงานสำคัญที่ประเทศไทยพบเจอเป็นอันดับ 3 ของโลก มีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงเป็นพลังงานที่เป็นที่ต้องการในอนาคต

ข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ เผยว่า ไทยสำรวจพบ แร่ลิเทียมกว่า 14,800,000 ล้านตัน ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่ค้นพบแร่ดังกล่าวมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากโบลิเวีย และอาร์เจนตินา

ปัจจุบันไทยค้นพบแหล่งแร่ลิเทียมที่มีศักยภาพทั้งหมด 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งเรืองเกียรติ และแหล่งบางอีตุ้ม แร่ลิเทียม จึงกลายเป็นแร่หลักสำคัญ ในการทำแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยจึงมีโอกาสสำคัญในการเป็นศูนย์กลาง และฐานการผลิตแบตเตอรี่ EV ของภูมิภาคในอนาคต 

ล่าสุดยังค้นพบแหล่งแร่โซเดียม ในพื้นที่ภาคอีสานปริมาณสำรองอีกจำนวนมาก ซึ่งแร่ทั้งสองชนิด (แร่ลิเทียม และแร่โซเดียม) ถือเป็น แร่หลักหรือวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) 100% ทำให้ไทยมีการเตรียมความพร้อมในการเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลาง และฐานการผลิตแบตเตอรี่ EV ในภูมิภาค

ประวัติของแร่ลิเทียม

สารเพทาไลต์ (Petalite) เป็นสารที่มีลิเทียมเป็นส่วนประกอบ ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิล โฮเซ โบนิฟาเชียว เด อันดราดา เอ ซิลวา (José Bonifácio de Andrada e Silva) และ ‘ลิเทียม’ ถูกค้นพบ โยฮันน์ อาร์ฟเวดสัน (Johann Arfvedson) ในปี 1817 ในขณะที่กำลังวิเคราะห์แร่ธาตุชนิดใหม่บนเกาะอูโท (Uto) ในประเทศสวีเดน ประกอบไปด้วย สปอดูมีน (spodumene) และเลปิโดไลต์ (lepidolite) ในสินแร่เพทาไลต์ (petalite) แต่ไม่สามารถแยกลิเทียมออกมาได้

...

โทมัส เบรนด์ (William Thomas Brande) และเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี (Humphrey Davy) นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ได้ค้นพบวิธีการแยกสลาย ‘เกลือลิเทียม’ ด้วยไฟฟ้ากับลิเทียมออกไซด์ในปี ค.ศ. 1818 และในปี ค.ศ. 1855 ได้มีการค้นพบการแยกโลหะส่วนใหญ่ด้วยการแยกสลายลิเทียมคลอไรด์ด้วยไฟฟ้า 

การผลิตโลหะลิเทียมเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ประสบความสำเร็จ เมื่อ ค.ศ. 1923 โดยบริษัทเมทัลเกเซลชาฟท์ (Metallgesellschaft)  ประเทศเยอรมนี ด้วยการใช้วิธีแยกสลายด้วยไฟฟ้าดังกล่าว แต่ใช้สารตั้งต้นเป็นลิเทียมคลอไรด์ และโพแทสเซียมคลอไรด์ที่หลอมละลาย เมื่อได้ธาตุบริสุทธิ์ออกมา ก็ได้ตั้งชื่อว่า “ลิเทียม”

ลิเทียม (Lithium) สามารถพบได้ในแร่หลายชนิด ส่วนใหญ่จะพบได้ในแถบทะเลสาบน้ำเค็ม ลิเทียมสามารถนำไปผลิตแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ (Rechargeable Battery) ซึ่งแบตเตอรี่เหล่านี้ถูกนำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า และสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้ในการผลิตแก้ว เซรามิก และจาระบี

แร่ลิเทียม คืออะไร

ลิเทียม คือธาตุที่ 3 ที่ถูกค้นพบต่อจากไฮโดรเจน และฮีเลียม โดยลิเทียม เป็นโลหะที่มีความอ่อนนุ่ม และน้ำหนักเบาที่สุดในธาตุทั้งหมด มีสีขาวเงินปนประกอบกัน ติดไฟได้ง่าย และไม่สามารถดับได้ด้วยน้ำ

ถึงแม้ลิเทียมจะมีลักษณะเบา และเปราะบาง แต่เป็นหนึ่งในกลุ่มโลหะอัลคาไลที่สามารถช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในยานอวกาศ และเรือดำน้ำได้ ซึ่งลิเทียมเป็นโลหะไม่กี่ชนิดที่สามารถรับ และปล่อยพลังงานไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง ซึ่งนิยมนำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า และสมาร์ทโฟน รวมทั้งในสิ่งของต่างๆ ตั้งแต่เซรามิกไปจนถึงอาวุธนิวเคลียร์ 

จากการเติบโตของรถยนต์ EV และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีเพิ่มขึ้น ลิเทียม จึงเป็นทรัพยากรสำคัญในอนาคต ที่มีความต้องการเป็นอย่างมากในตลาดโลกในปัจจุบัน

การค้นพบแร่ศักยภาพอย่างลิเทียม-โซเดียม ดังกล่าวนี้ ทำให้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ครอบครองแร่ลิเทียมมากที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง ทำให้ส่งผลในเรื่องของเศรษฐกิจประเทศ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และดึงดูดนักลงทุนเพิ่มมากขึ้น 

มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการลิเทียมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าภายในปีพ.ศ. 2568 และจะต้องการมากกว่า 2 ล้านตันภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งข่าวดี และโอกาสสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต

...

ภาพ : iStock

ข้อมูล : thaigov, กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...