ถึงเวลาลดความเหลื่อมล้ำการศึกษา “ราชบุรีโมเดล” เด็กทุกคนต้องได้เรียน

ตอกย้ำความเป็นผู้นำเทรนด์สนับสนุนการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา “แสนสิริ” ภายใต้การนำของซีอีโอยุคใหม่ “อภิชาติ จูตระกูล” มอบโอกาสทางการศึกษาให้เด็กไทย ด้วยการจับมือกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสมัชชาการศึกษาราชบุรี เดินหน้าโครงการ “ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายช่วยเด็กราชบุรีหลุดจากการศึกษาเป็น “ศูนย์” ตามเป้าปี 2567

จากข้อมูลสถิติของ กสศ. หลังจากเปิดตัวโครงการ “ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ตั้งแต่ปี 2565 สามารถลดจำนวนเด็กเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษารวมไปถึงเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาไปแล้ว ให้สามารถได้รับการศึกษาและพัฒนาให้มีทักษะการทำงานในโลกยุคใหม่ ได้แล้วราว 1 หมื่นคน จากทั้งหมด 10 อำเภอ และล่าสุดคือโมเดลการศึกษา “1 โรงเรียน 3 รูปแบบ” ซึ่งปัจจุบันเริ่มต้นแล้วใน 12 โรงเรียน ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และมีแผนสร้างความรู้ความเข้าใจ เพื่อขยายไปทุกเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดราชบุรี

...

ถามว่าทำไม “แสนสิริ” จึงเลือก “จังหวัดราชบุรี” เป็นพื้นที่นำร่องแห่งแรก เนื่องจาก “ราชบุรี” มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจากภูมิศาสตร์จังหวัดติดชายแดน ที่มีสภาพทั้งแบบชุมชนและเมือง ขณะที่ยังเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้กับกรุงเทพฯ ที่สำคัญคือ “แสนสิริ” ไม่มีการพัฒนาโครงการ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในพื้นที่ดังกล่าวทั้งนี้ โครงการ “ZERO DROPOUT เด็กทุกคนต้องได้เรียน” เกิดขึ้นเพื่อจุดประกายให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ด้วยการช่วยกันลงมือและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างยั่งยืน

ตลอดจนสร้างโอกาสใหม่ๆทางการศึกษาให้เยาวชนในพื้นที่ และขับเคลื่อน “ราชบุรีโมเดล” ให้เป็นจังหวัดต้นแบบนวัตกรรมการศึกษาของประเทศ ผ่านความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้เยาวชนทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม

...

จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่า ไม่ใช่แค่ปัจจัยด้านทุนทรัพย์เท่านั้น ที่ทำให้เด็กเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงกลายเป็นเด็กนอกระบบการศึกษา แต่ยังเกิดจากอีกหลายปัจจัย เช่น เด็กกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาด้านกายภาพไม่พร้อมจะเรียนรวมกับเด็กอื่นๆ (กลุ่มออทิสติกและกลุ่มเด็กที่พัฒนาการช้า) และเด็กที่ไม่กล้าไปโรงเรียนหรือไม่สามารถไปโรงเรียนได้ (เด็กถูกรังแก, เด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และเด็กที่ต้องช่วยครอบครัวทำงาน)

นอกจากนี้ ยังพบว่า ระบบการศึกษาที่ไม่เข้ากับเด็ก, ขาดแคลนทางเลือก และไม่สามารถตอบสนองความ ต้องการที่หลากหลายได้ เป็นสาเหตุสำคัญของการผลักให้เด็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษาและระบบสังคม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในครัวเรือนยากจน, ด้อยโอกาส, กลุ่มเปราะบางทางสังคม และปัญหาเฉพาะ เช่น เด็กและเยาวชนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม, กลุ่มตั้งครรภ์ในวัยเรียน, กลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ

...

ดังนั้น ควรสนับสนุนให้เกิดหน่วยจัดการเรียนรู้หลากหลายที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาค ตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันรายบุคคล ควรมีความยืดหยุ่นทั้งเวลา, รูปแบบ และเงื่อนไขในการเข้ารับบริการทางด้านการศึกษา สามารถเรียนแล้วได้วุฒิ, ได้งาน, ได้เงิน, ได้ทักษะชีวิต ที่สำคัญต้องมีทักษะการทำงานในโลกยุคใหม่ด้วยถึงจะเอาตัวรอดได้.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...