อรรธนารีศวร

ในศาสนาฮินดู มีลัทธิศักดิครับ ลัทธินี้ถือว่า ชายาของเทพองค์หนึ่งๆ คือผู้กุมอำนาจที่แท้จริงของเทพองค์นั้น

เช่น พระปารวตี กุมอำนาจของพระศิวะ พระสรัสวตี กุมอำนาจของพระพรหม และพระลักษมี กุมอำนาจของพระวิษณุ (ถอดรหัสสัญลักษณ์ปริศนาฯ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ สำนักพิมพ์สารคดีพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ.2562)

เมื่อมีลัทธิศักดิที่มีเค้าว่าหญิงเป็นใหญ่กว่าชาย ในศิลปะ ศาสนาฮินดู จึงมีพระศิวะอีกปาง...ที่ดูประนีประนอม ยอมให้หญิงกับชายรวมอยู่ในร่างเดียวกัน

เพียงแต่ผู้ชายอยู่ซีกขวา ผู้หญิงอยู่ซีกซ้าย พระศิวะปางนี้ เรียก อรรธนารีศวร

พระศิวะปางนี้มีความเป็นมาอย่างไร และสื่อความหมายถึงอะไร

ตำนานกล่าวว่า เมื่อแรกสร้างจักรวาล พระพรหมสร้างมนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว แต่เมื่อพระพรหมรู้ว่าแค่เพศชายเพศเดียว มนุษย์ขยายเผ่าพันธุ์ในโลกไม่ได้ จึงบวงสรวงขอให้พระศิวะเสด็จลงมาแนะแนวทางแก้ปัญหา

พระศิวะท่านรู้งาน ไม่อยากเหนื่อยแรงบอกกล่าว จึงเสด็จมาในปาง อรรธนารีศวร มีทั้งเพศชายและเพศหญิงในร่างเดียวกัน เสียเลย...

ตำนานเล่าอีกว่า ทันทีที่พระพรหมได้ยลโฉม อรรธนารีศวร หญิงชายอยู่ในร่างเดียวกัน ท่านก็เข้าใจแจ่มแจ้งในกำลังเสริมของเพศคู่ อันจะนำมาซึ่งความสมบูรณ์ และการถือกำเนิดของชีวิตใหม่

คำว่า อรรธนารีศวร มาจากสามคำ ได้แก่ อรรธ แปลว่าครึ่ง นารี แปลว่า ผู้หญิง อิศวร แปลว่าพระผู้เป็นเจ้า หมายถึงเทพเจ้าที่เป็นสตรีครึ่งหนึ่ง

มีการตีความหลายความหมาย ความหมายแรกนี่คือสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า พระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นทั้งชายและหญิง ไม่ได้เป็นชายอย่างเดียวหรือหญิงอย่างเดียว

ความหมายต่อมา พลังแห่งเพศชายและพลังแห่งเพศหญิงเติมเต็มซึ่งกันและกัน ไม่อาจแยกจากกันได้ ดร.บัญชา เปรียบเปรย การตีความแบบนี้ ฟังแล้วไปกันได้กับปรัชญา หยิน-หยาง ของจีน

...

พระอรรธนารีศวรส่วนใหญ่ที่พบ มักอยู่ในท่ายืนสามแบบ แบบแรก อภังค์ (ยืนตรง) แบบสอง ตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพกเล็กน้อย) แบบสาม อติภังค์ (ยืนเอียงสะโพกมากเป็นพิเศษ)

สัตว์ที่มักพบอยู่กับพระอรรธนารีศวร คือโคนนทิ ซึ่งเป็นพาหนะของพระศิวะ และมีเสือหรือสิงโต ซึ่งเป็นพาหนะของพระปารวตี

ยังมีเกร็ดความรู้เพิ่มเติม แม้พระอรรธนารีศวรจะดูเผินๆเหมือนชายครึ่งหญิงครึ่งเท่ากัน แต่การที่ร่างกายฝ่ายชายอยู่ด้านขวา และร่างด้านซ้ายเป็นฝ่ายหญิงนั้น ก็ยังมีคนอุตส่าห์ตีความซ่อนลึกไว้ว่า “ชายใหญ่กว่าหญิง”

เพราะในวัฒนธรรมอินเดียถือว่า ด้านขวาเหนือกว่าด้านซ้าย

ความเชื่อนี้ บรรดาพวกศักตะ หรือพวกที่นับถือลัทธิ “ศักดิ” ทนไม่ได้ จึงสร้างประติมากรรมหรือภาพวาดกลับด้าน สร้างให้ขวาเป็นหญิง ซ้ายเป็นชาย เพื่อย้ำความเชื่อดั้งเดิมแต่สมัยดึกดำบรรพ์

หญิงต่างหากเล่าที่ใหญ่กว่าชายอย่างแน่นอน

บางบ้านเมืองใกล้ๆ เกิดมีปัญหาผู้นำสองคน...เขาก็มีทางออกง่ายๆให้ผู้ชายวุ่นวายอยู่กับการงานบ้านเมือง อยู่แต่ในทำเนียบ...

ส่วนทางพรรคซึ่งที่จริงก็เป็นแหล่งก่อเกิดอำนาจการเมืองทั้งปวงนั้น เขายกให้ผู้หญิง

แต่ความจริงนั้น ก็รู้ๆกันอยู่แก่ใจ...คนพรรคนั้น เป็นพรรคลัทธิศักดิ แตกต่างจากแบบอินเดียที่เมียใช้อำนาจทุกอย่างของผัว ตรงที่ลูกหญิงกุมอำนาจทั้งปวงของเทพผู้เป็นพ่อ.

กิเลน ประลองเชิง

คลิกอ่านคอลัมน์ “ชักธงรบ” เพิ่มเติม

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...