พาณิชย์ เผย ครึ่งปีแรกไทยส่งออก 7 กลุ่มสินค้าที่อยู่ภายใต้กฏ EUDR ได้ดี

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์การส่งออกสินค้าภายใต้กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า หรือ EUDR (EU Deforestation Regulation) ครอบคลุม 7 กลุ่มสินค้า คือ โกโก้ กาแฟ ถั่วเหลือง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน โค และไม้ รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปของสินค้าเหล่านี้ EUDR  

โดยสินค้าไทยไปสหภาพยุโรป (อียู)  พบว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 มูลค่าการส่งออกมีการขยายตัวดี และยังสามารถขยายตัวได้สูงกว่าการส่งออกไปโลก  โดยไทยส่งออกสินค้าที่อยู่ภายใต้มาตรการ EUDR ไปอียู รวมมูลค่า 379.47 ล้านดอลลาร์  (มูลค่าของสินค้าโดยใช้พิกัดศุลกากรตามที่ระบุใน Regulation (EU) 2023/1115) ขยายตัว  49.94%  จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เรียงลำดับตามมูลค่าการส่งออกสูงสุด ดังนี้

1. ยางพารา 314.82 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว  51.67 %

2. ไม้ 49.06 ล้านดอลลาร์  ขยายตัว  24.71 %

3. ปาล์มน้ำมัน 11.85 ล้านดอลลาร์  ขยายตัว 488.80 %

4. โกโก้ 3.56 ล้านดอลลาร์ หดตัว  10.15 %

5. กาแฟ 0.18 ล้านดอลลาร์ หดตัว  6.54  %

6. ถั่วเหลือง 0.001 ล้านดอลลาร์ หดตัว  44.37  %

ส่วนโคเป็นสินค้าที่ไทยไม่มีการส่งออกไปอียู

สำหรับสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก รวมกันคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง  99.01 %  ของมูลค่าการส่งออกสินค้าภายใต้มาตรการ EUDR จากไทยไปอียู (ยางพารา ไม้ และปาล์มน้ำมัน มีสัดส่วน   82.96 %  12.92 %  และ 3.12 %  ตามลำดับ ซึ่งมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้ง 3 กลุ่มไปอียู มีการขยายตัวดีกว่ามูลค่าการส่งออกไปโลก ดังนี้ 1.การส่งออกยางพาราไปอียู ขยายตัวถึง 51.67 %  ขณะที่การส่งออกยางพาราไปโลก ขยายตัว 30.86%    2.  การส่งออกไม้ไปอียู ขยายตัว 24.71 %   ขณะที่การส่งออกไม้ไปโลก ขยายตัว 5.48%   และ 3. การส่งออกปาล์มน้ำมันไปอียู ขยายตัว  488.80 %  ขณะที่การส่งออกปาล์มน้ำมันไปโลก หดตัว  20.15 %

แม้ว่าปัจจุบัน การส่งออกกลุ่มสินค้าที่อยู่ภายใต้กฎหมาย EUDR จากไทยไปอียู ยังมีสัดส่วนไม่มาก เมื่อเทียบกับการส่งออกจากไทยไปโลก มีสัดส่วน  7.65 %  ของมูลค่าการส่งออกไปโลก  แต่การขยายตัวที่ดีแสดงให้เห็นถึงโอกาสและศักยภาพของไทย ที่จะสามารถปรับตัวและส่งออกสินค้าภายใต้ EUDR ไปยังอียูได้มากขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ มาตรการ EUDR จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2567 ซึ่งผู้ประกอบการไทยอาจต้องเผชิญกับต้นทุนในการตรวจสอบย้อนกลับห่วงโซ่การผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต จึงจำเป็นต้องวางแผนปรับตัวและเตรียมการให้พร้อม เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ราบรื่นภายใต้กฎระเบียบการค้าใหม่ของอียู การเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่เพียงแต่เป็นความท้าทาย แต่เป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับไทยที่จะพัฒนาคุณภาพสินค้าและสร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจด้วย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...