รู้จักกับปรากฏการณ์ภาพลวงตาของความยั่งยืน Sustainability Mirage

ความร่วมมือในระดับนานาชาติต่อเรื่องของการสนับสนุนให้ทุกประเทศทั่วโลกให้หันมาพัฒนาสร้างความยั่งยืนของโลกให้กลับมาเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตต่างๆ และธรรมชาติอย่างยืนยาวได้ตลอดไปก็มีความเข้มข้นมากขึ้นตามไปด้วย

เรือธงของกระบวนการนี้ก็คือการกำหนด เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ข้อ (SDG 17) ที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดขึ้นและสนับสนุนให้ประเทศต่างๆ นำไปกำหนดเป็นเป้าหมายเฉพาะของแต่ละประเทศที่จะต้องพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายในปี 2030 ไว้อย่างเป็นกิจจจะลักษณะในทุกภาคส่วน

แรงผลักดันดังกล่าว ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่ถูกเรียกว่า ปรากฏการณ์ภาพลวงตาของความยั่งยืน หรือ Sustainable Mirage

ตั้งแต่บทเรียนในระดับชั้นมัธยม ทุกคนคงได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ภาพลวงตา (Mirage) ว่าหมายถึงการที่สายตาเรามองเห็นภาพที่ไม่ได้ปรากฏขึ้นจริง แต่เป็นเพียงภาพสะท้อนที่เกิดจากการหักเหของแสงที่กระทบกับวัตถุใดวัตถุหนึ่ง แล้วสะท้อนกลับมาเข้าสู่ตาของเรา

ตัวอย่างที่มักยกมาประกอบก็คือ กรณีปรากฏการณ์ที่มักเกิดขึ้นในช่วงแดดจัดและอากาศร้อนที่ทำให้ความหนาแน่นของอากาศที่ความสูงต่างๆ จะมีค่าต่างกัน ทำเกิดภาพลวงตาเหมือนเห็นมีแอ่งน้ำหรือเงาสะท้อนน้ำอยู่บนผิวถนนข้างหน้า แต่เมื่อเคลื่อนที่เข้าไปใกล้ๆ กลับเห็นแต่ถนนที่แห้งไม่มีแอ่งน้ำใดๆ เหมือนที่เห็นมาก่อนหน้า

อันเป็นสถานการณ์ที่คล้ายกับการเกิด ภาพลวงตาของการพัฒนาความยั่งยืน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่องค์กรต่างๆ รวมถึงองค์กรในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่พยายามเผยแพร่ข้อมูลเพื่อนำเสนอว่าองค์กรของตน มีนโยบาย ความพยายาม หรือมีความมุ่งมั่นเกี่ยวกับด้านการพัฒนาความยั่งยืนที่เมื่อดูอย่างผิวเผินแล้วจะคล้ายกับว่าได้สนองต่อเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ

แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดที่ลึกลงไปพบว่ายังขาดสาระสำคัญหรือไม่สามารถส่งมอบผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม หรือเศรษฐกิจได้อย่างครบถ้วนแท้จริง ขาดการสร้างความรับรู้ถึงความยั่งยืนและผลกระทบที่แท้จริงของการดำเนินการหรือกิจกรรมตามที่กล่าวอ้าง

ลักษณะที่จะชี้บ่งถึงภาพลวงตาเหล่านี้ มักได้แก่

1) นโยบายหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาความยั่งยืนที่กล่าวอ้าง เป็นเพียงนโยบายระยะสั้น หรือเป็นกิจกรรมที่จะเกิดผลกระทบเพียงระยะสั้น ขาดความต่อเนื่องไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาวที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสังคมมนุษย์

2) เป็นนโยบายหรือกิจกรรมที่ไม่ได้นำเสนอหรืออธิบายให้ชัดเจนว่า จะนำไปสู่ผลกระทบต่อความยั่งยืนที่เป็นปัญหาหลักที่แท้จริง เป็นเพียงการปรับแต่งนโยบายเดิมเล็กๆ น้อยๆ หรือเป็นเพียงการดำเนินการเชิงสัญลักษณ์ แทนที่จะเป็นการริเริ่มเพื่อจัดการกับปัญหาหลักที่จะสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกในโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างแท้จริง

3) เป็นนโยบายหรือกิจกรรมที่ระบุถึงผลเชิงปริมาณต่อกิจกรรมเฉพาะเรื่อง เช่น การลดปริมาณขยะหรือของเสีย การลดปริมาณการใช้พลังงานฟอสซิล การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ฯลฯ แต่ไม่ได้ให้คำอธิบายต่อเนื่องว่า ข้อมูลเชิงปริมาณที่นำเสนอนั้น จะสร้างผลกระทบโดยรวมอย่างไรต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือผลกระทบในเชิงสังคมอย่างไร

4) เป็นการนำเสนอนโยบายหรือโครงการกิจกรรมในลักษณะของ “การฟอกเขียว” (Green Washing) ที่องค์กรใช้แนวทางด้านการตลาดเพื่อกล่าวอ้างถึงผลงานต่างๆ โดยไม่ได้มีการปฏิบัติจริงตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด

ความเข้าใจกับแนวคิด “ภาพลวงตาแห่งความยั่งยืน” เป็นสิ่งสำคัญสำหรับประชาคมภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หรือ ธุรกิจเอสเอ็มอี ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงที่สะท้อนถึงเป้าหมายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงใจ

ไม่ให้เกิดภาพที่เป็นเพียงการสร้างภาพลวงตาของความยั่งยืนขององค์กรเท่านั้น!!??!!

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

แหล่งข่าวเผย อิสราเอลแจ้งสหรัฐจะทำอะไรบางอย่างในเลบานอน!

เมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) กระทรวงสาธารณสุขเลบานอนแถลงว่า วิทยุมือถือ (ว.) ที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ใช้ ได้ระเ...

ว.ฮิซบอลเลาะห์ระเบิด แปะฉลาก ‘เมด อิน เจแปน’

ภาพถ่าย ว.ฮิซบอลเลาะห์ที่ระเบิดเมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) พบฉลาก “ICOM” และ “เมด อิน เจแปน” สำนักข่าวรอยเ...

'บิลลี ไอลิช-โจ โรแกน' เชียร์'คามาลา แฮร์ริส'

เว็บไซต์บลูมเบิร์กรายงาน ป็อปสตาร์ “บิลลี ไอลิช” โพสต์คลิปเคียงข้างพี่ชายบนอินสตาแกรม กระตุ้นให้ผู้ต...

‘รถไฟ’ กระจายความเจริญ กรณีศึกษา: โฮคุริคุ ของญี่ปุ่น | กันต์ เอี่ยมอินทรา

ได้เห็นการเชื่อมต่อด้วยระบบรางระหว่างกรุงเทพกับลาวแล้วก็อดคิดถึงรถไฟต่างประเทศไม่ได้ เพราะรถไฟไทยเรา...