'ปดิพัทธ์' ถกสมัชชาสหภาพรัฐสภา จ่อดัน 'กัณวีร์' นั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2567 ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 แถลงข่าวถึงการเตีรยมเดินทางไปประชุมร่วมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 148 (IPU) ที่เมืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 23-27 มี.ค.นี้ เพื่อสานสัมพันธ์ “การทูตรัฐสภา” ไม่ว่าจะเป็นการสานสัมพันธ์ ผสานประโยชน์กับรัฐสภาประเทศอื่นในระดับทวิภาคี รวมไปถึงการสานสันพันธ์ในระดับพหุภาคี ไม่ว่าจะเป็นระดับภูมิภาค เช่น อาเซียน เอเชียแปซิฟิค รวมไปถึงระดับโลก

นายปดิพัทธ์ กล่าวถึงภารกิจในการไปประชุมครั้งนี้ว่า ตนในฐานะเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ได้รับมอบหมายจากประธานสภาฯ ให้ดูแลด้านการต่างประเทศและเรื่องของกฎหมาย ดังนั้นหมุดหมายสำคัญของการไปครั้งนี้คือ ภารกิจการออกกฎหมาย เพื่อเรียนรู้การออกกฎหมายซึ่งกันและกัน ซึ่งตนจะเริ่มศึกษาจากการประชุมออนไลน์ในเย็นวันนี้ เรื่องของการออกฎหมาย Climate change ประเทศเยอรมันนี และนิวซีแลนด์

ภารกิจที่สองคือ การตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เพื่อเรียนรู้ประเทศอื่น ๆ ว่ามีการจัดโครงสร้างกันอย่างไรบ้าง และสุดท้ายคือ ภารกิจการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อนำมาปรับปรุงโครงสร้างสำนักงบประมาณของรัฐสภา

นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญคือ เรื่องของการช่วยหาเสียงเพื่อชิงตำแหน่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) วาระปี 2025-2027 เป็นการร่วมแสดงออกถึงความมุ่งมั่น commitment ของประเทศไทย ในการที่จะไปขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนของไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ และจะได้เข้าร่วมในการเสนอชื่อ ของ สส. กัณวีร์ สืบแสง เพื่อเข้าชิงดำรงตำแหน่ง กรรมาธิการว่าด้วยการส่งเสริมการเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (Committee to Promote Respect of the International Humanitarian Law หรือ IHL) ในนามของประเทศไทยสัดส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ IPU อีกด้วย

ประเด็นสำคัญอื่น ๆ คือการที่รัฐสภาไทยอยากจะมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับปรุงนโยบายหรือกฎหมาย ผ่านกลไกทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน Universal Periodic Review (UPR) ซึ่งที่ผ่านมา จะมีกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพหลัก ปดิพัทธ์ ขอใช้เวทีนี้ในการแลกเปลี่ยนและหาแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศอื่น เพื่อมาทำข้อเสนอแนะให้รัฐสภาไทยได้มีบทบาทร่วมกับกระบวนการ UPR นี้ด้วย

"ฝากประเด็นสุดท้าย คือติดตามการเปิดรับลงทะเบียนสำหรับประชาชนในการเข้ามาฟังอภิปรายไม่ไว้วางใจมาตรา 152 ในวันที่ 3-4 เมษายนนี้ โดยจะเปิดรับทั้งหมด 4 รอบ รอบละ 250-300 คน รายละเอียดจะเพิ่มเติมให้ในเร็ว ๆ นี้" นายปดิพัทธ์ กล่าว

นายปดิพัทธ์ กล่าวอีกว่า ตนได้เดินทางร่วมกับคณะผู้แทนรัฐสภาในฐานะที่ปรึกษาคณะเดินทาง ทั้ง ส.ว. ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน จำนวน 10 คน นำโดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะหัวหน้าคณะ นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ส.ว. ในฐานะที่ปรึกษาคณะ ส่วน ส.ส.ฝั่งรัฐบาลมี น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย น.ส.สรัสนันท์ อรรณนพพร ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย นายอัคร ทองใจสด ส.ส.เพชรบูรณ์ พรรคพลังประชารัฐ และ ส.ส.ฝ่ายค้าน มีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สำหรับ ส.ว. ประกอบด้วย นางสุวรรณี ศิริเวชภัณฑ์ นายไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล และเจ้าหน้าที่อีกจำนวนหนึ่ง

นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า รวมทั้งจะผลักดันหาเสียงเพื่อชิงตำแหน่งในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) วาระปี 2025-2027 ซึ่งเป็นวาระเดียวกันกับที่รัฐบาลพยายามเข้าไปมีบทบาทในเวทีโลก ซึ่งจะร่วมกันผลักดันโดยไม่แยกฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ส.ส. ส.ว. และจะเสนอชื่อนายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคเป็นธรรม เข้าชิงตำแหน่งกรรมาธิการว่าด้วยการส่งเสริมการเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (Committee to Promote Respect of the International Humanitarian Law หรือ IHL) ในนามของประเทศไทย สัดส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วย

ทั้งนี้ ไทยอยากมีส่วนร่วมในการปรับปรุงนโยบายผ่านกลไกทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review หรือ UPR) ที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพหลัก แต่ภารกิจรอบนี้จะมีโอกาสเสนอความเห็นและหาแนวทางปฏิบัติระหว่างรัฐสภากับกระบวนการทำ UPR

“ภารกิจครั้งนี้ อาจกระทบกับการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 67 ในวันที่ 22 มี.ค. เนื่องจากจะมีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่คนเดียว เพราะนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภา มีภารกิจต่างประเทศเช่นกัน ดังนั้น ในวันที่ 21 มี.ค. ตนจะนั่งบัลลังก์ยาวหน่อย ยืนยันว่า ทีมประธานสภาทั้ง 3 คน จะทำหน้าที่พิจารณางบ และงานด้านต่างประเทศอย่างดีที่สุดไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ส่วนการอภิปรายแบบไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 ในวันที่ 3-4 เม.ย.นี้ จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมสังเกตการณ์การอภิปราย โดยจะเปิดรับทั้งหมด 4 รอบ รอบละ 250-300 คน” นายปดิพัทธ์ กล่าว

เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ที่จะช่วงชิงตำแหน่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ทั้งที่ยังมีข้อครหาจากประชาชนเรื่องสิทธิมนุษยชนในไทย จะทำให้เสียเปรียบหรือไม่นั้น นายปดิพัทธ์กล่าวว่า “เราจำเป็นที่ต้องใช้เวทีนานาชาติไปฟังฟีดแบ๊ก เพื่อรับทราบว่าต่างชาติมีข้อกังวลอะไรบ้าง แล้วจะส่งผลกระทบต่อการช่วงชิงตำแหน่งอย่างไร เป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทยที่ต้องฟังเสียงสะท้อนจากทั้ง ส.ส. ประชาชน และสังคมโลก เราคงไม่มีความสมบูรณ์แบบก่อนแล้วถึงจะท้าชิงได้ เราอาจจะต้องเข้าชิง แล้วดูจุดที่บกพร่องของตนเองเพื่อปรับปรุง ซึ่งผมก็หวังว่ารัฐบาลจะนำข้อเสนอที่มีการปรับปรุงไปพิสูจน์ความจริงใจในการเข้าชิงตำแหน่งนี้” นายปดิพัทธ์กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

เยี่ยมชม ‘ลาซา’ เมืองแห่งศรัทธา มี ‘ภาพทังก้า’ เป็นซอฟต์พาวเวอร์

หลังจากเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สัมผัสธรรมชาติ และสูดอากาศบริสุทธิ์จากเมืองหลินจือ เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่...

โลกเดือด! ดันตลาด 'นอนวูฟเวน' โต ไทยยึดเบอร์ 1 ภูมิภาค

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ชี้อุตสาหกรรมนอนวูฟเวน ในตลาดโลกโตแรงไม่หยุดกว่า 8.7% ต่อปี โดยไทยเป็นผู...

"APAC Tower"มิกซ์ยูสใหม่!สี่แยกเอกมัย ออฟฟิศเกรดA+คว้า Fitwelระดับสูงสุด

"เอแพค ทาวเวอร์"อาคารสำนักงาน นับเป็นอีกหนึ่งโครงการมิกซ์ยูสบนทำเลศักยภาพริมถนนสุขุมวิท-เอกมัย หัวมุ...

หุ้นสหรัฐปิดบวกนิวไฮ รับผลประกอบการกลุ่มแบงก์แข็งแกร่ง

ดัชนีดาวโจนส์และดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันศุกร์ (11 ...