ชวนระวังคำลวงของ 'โรแมนซ์สแกม' โจรกรรมทางความรัก รับวันวาเลนไทน์ 2567

วาเลนไทน์ 2567 นี้ ชวนทุกคนระวังโรแมนซ์สแกมจากโลกโซเชียล หนึ่งในการโจรกรรมที่มีอัตราสูงขึ้นในทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบการหาคู่ในโลกออนไลน์ที่คนโสดควรรู้เท่าทัน

โรแมนซ์สแกม คือ การหลอกหลวง ต้มตุ๋นด้วยการหลอกให้รัก หลอกให้ไว้ใจ และพร้อมที่จะเชิดเงินของเหยื่อแล้วหายไปในกลีบเมฆ 

มิจฉาชีพเหล่านี้ จะศึกษาในส่วนข้อมูลที่เหยื่อได้ใส่ไว้ในแอปพลิเคชัน โดยจะทำตัวให้สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามสเปกที่เหยื่อชื่นชอบ โดยมักจะมาในรูปแบบโปรไฟล์ปลอม ที่มีการแต่งตัว สัดส่วน และรสนิยมในแบบที่เหยื่อต้องการ 

จากรายงานของเหยื่อ ส่วนใหญ่บุคคลเหล่านี้มักจะไม่ออกเดต หรือพบเจอ แต่จะยื้อเวลาให้ตัวเองได้กอบโกยให้นานที่สุด ด้วยการหยอดคำหวานมาอย่างรัวๆ บางรายมีการโทรคุย หรือบางครั้งมิจฉาชีพเหล่านี้อาจยอมพบเจอเหยื่อด้วยก็สามารถมีได้เช่นกัน

อันดับคำโกหกของโรแมนซ์สแกมเมอร์ (นักต้มตุ๋นเรื่องความรัก) ที่ชอบใช้หลอกเงินเหยื่อมากที่สุด นั้น ที่อ้างอิงจาก Romance Scam Report ในปี 2022 จากจำนวนคำให้การ 8,070 ฉบับของผู้ตกเป็นเหยื่อมักจะประกอบไปด้วย 

...

  • คนใกล้ตัว ครอบครัว กำลังป่วย บาดเจ็บ หรือมีปัญหา จำนวน 24%
  • สามารถสอนการลงทุนได้ 18%
  • มีอาชีพเป็นทหาร และอยู่ในพื้นที่ห่างไกล 18%
  • ต้องการความช่วยเหลือด่วน 18%
  • ชวนคุยเรื่องการแต่งงาน 12%
  • เล่าถึงการได้เงินมา โฆษณาชวนเชื่อ 7%
  • ทำงานที่แท่นขุดเจาะ และเหมือง 6%
  • คุณสามารถเชื่อในรูปโปรไฟล์ และไว้วางใจได้ 3%

ตัวเลขของเหยื่อการโรแมนซ์สแกมนี้ไม่ค่อยสู้ดีนักในทุกๆ ปี นับตั้งแต่ปี 2022 ซึ่งมีเหยื่อประมาณ 70,000 กว่าราย และเพิ่มขึ้นกว่า 22% ในปี 2023

ส่วนใหญ่เหยื่อของ โรแมนซ์สแกม มักจะเป็นผู้หญิง และสูญเสียเงินมากกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงจะสูญเสียเงินเป็นจำนวน 9,083 ปอนด์ (410,365 บาท) และผู้ชาย 5,145 ปอนด์ (232,474 บาท) ในอัตราเฉลี่ย ซึ่งจะมีช่วงอายุอยู่ในวัยกลางคน (55-64 ปี) ที่ตกเป็นเป้าหมายบ่อยที่สุด และผู้ที่มีอายุ 65-74 ปี เคยสูญเสียเงินสูงจากการโรแมนซ์สแกมสูงสุด เฉลี่ย 13,123 ปอนด์ หรือ 592,985 บาท ตามรายงานของ Lloyds Bank

การหลอกลวงการหาคู่ทางอินเทอร์เน็ตบางส่วนมักจะมาพร้อมกับกลโกงอื่นที่ควบคู่ไปด้วย เพื่อดึงดูดข้อมูล และโจรกรรมเงินของเหยื่อ 

เว็บไซต์หาคู่ปลอม : อ้างตัวเป็นผู้บริการเว็บไซต์หาคู่บนแอปพลิเคชัน เพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว

การหลอกลวงด้วยภาพถ่าย : โน้มน้าวให้เหยื่อส่งข้อมูลส่วนตัวเพื่อแลกกับรูปภาพ

ปลอมเป็นทหารสร้างความเชื่อใจ : ใช้ความเป็นทหาร สร้างความเชื่อใจ โดยมีอำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ รวมไปถึงการข่มขู่ เพื่อหลอกเอาเงิน

ชวนทำกิจกรรมลับ เพื่อบันทึกภาพ และข่มขู่ : สร้างความเชื่อใจ แบล็กเมล์ และข่มขู่

การหลอกลวงให้กดลิงก์ยืนยันรหัส, มัลแวร์ : ล่อหลอกให้เหยื่อกดเว็บไซต์ที่อันตรายเพื่อขโมยข้อมูล

การหลอกลวงเรื่องมรดก : จำเป็นต้องแต่งงานเพื่อรับ และแบ่งมรดก โดยแสร้งขอความช่วยเหลือในส่วนอื่นๆ

ปลอมตัวเป็นป๋า (Sugar Daddy Scam) : หลอกเอาค่าธรรมเนียมล่วงหน้า หรือข้อมูลส่วนบุคคลก่อนที่จะส่งเงินช่วยเหลือ

"วันวาเลนไทน์ จึงเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญที่ควรระวังอย่างมาก โดยเป็นหนึ่งวันที่มีการโจรกรรมของโรแมนซ์สแกมมากที่สุด" จากการรายงานของ ESET ความปลอดภัยดิจิทัล เผยว่า 52% คนมีแนวโน้มที่จะถูกหลอกลวงทุก "วันวาเลนไทน์"

...

ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามของการศึกษา ESET ในปี 2020 ตอบว่า เคยตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงเรื่องความรักในช่วงวันวาเลนไทน์ เหตุมาจากความเหงาในช่วงวันสำคัญสุดพิเศษนี้ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคนโสดที่มีอยู่จำนวนมาก โดยคนเหล่านี้มักจะใช้แอปฯ หาคู่ เพื่อที่จะหาใครสักคนที่จะอยู่ด้วยในช่วงเวลาดังกล่าว นักต้มตุ๋นจึงใช้โอกาสนี้เพื่อล่อลวงเหยื่อ

วิธีระมัดระวังโรแมนซ์สแกมเบื้องต้น

เริ่มคุยได้ไม่นาน และคู่สนทนามีความต้องการติดต่อผ่านช่องทางสนทนาอื่น

ทุกอย่างสมบูรณ์ ถูกสเปกจนน่าตกใจ

คู่สนทนาหลีกเลี่ยงการเจอตัวจริง

คู่สนทนาพยายามขอข้อมูลส่วนตัว

คู่สนทนาเรียกร้องความสงสาร หรือมักพูดถึงปัญหาทางการเงินอยู่บ่อยครั้ง

คู่สนทนามีสถานภาพทางการเงิน หรืออาชีพที่เราไม่สามารถพิสูจน์ได้

เชื่อในสัญชาตญาณของตัวเอง

ตรวจสอบข้อมูล และรูปต่างๆ ของคู่สนทนาให้ถี่ถ้วน

ถามคำถามเข้าไว้

ห้ามเปิดเผยข้อมูลบนพื้นที่สาธารณะบนโลกออนไลน์

ห้ามโอนเงินให้แก่คนไม่รู้จัก

ห้ามกดลิงก์ต่างๆ ที่ไม่แน่ใจ และไม่รู้จัก

ข้อมูล : ftc.gov, us.norton และ dataprot

...

ภาพ : istock

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...