ความเสี่ยงในยุคสมัยใหม่ที่มนุษย์โลกต้องเผชิญในอีก 2 ปีข้างหน้า

ความเสี่ยงที่โลกยุคใหม่ต้องเผชิญ หลังจากการพัฒนาที่ก้าวกระโดดของเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม ทำให้มีเป็นจุดบอด ที่สามารถสร้างความเสี่ยงใหม่ๆ ได้ รวมถึงภัยจากธรรมชาติที่โหมกระหน่ำหนักมากขึ้นจากภาวะโลกร้อน

โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้สังคมมนุษย์ในทุกระดับต้องปรับตัวตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด จนเกิดช่องโหว่ที่ทำให้มนุษย์ปรับตัวตามไม่ทัน ซึ่งตามมาด้วยปัญหาอยู่มากมายที่ต้องช่วยกันแก้ไข

รวมถึงปัญหา ‘ด้านสภาพแวดล้อม’ ของการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดนี้ แม้จะส่งผลดีต่อการใช้ชีวิต และความสะดวกสบายของมนุษย์ แต่ในทางกลับกันนั้นได้ส่งผลเสียไปอย่างมาก เป็นวงกว้าง ตั้งแต่ระดับอุตสาหกรรม ภาครัฐ ระดับโลก ลุกลามไปจนเกิดปัญหาสภาพภูมิอากาศ กลายเป็นการแย่งชิงทรัพยากร และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งอย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้

แม้ปัจจุบันเกิดการรณรงค์ และร่วมกันแก้ไขมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถยับยั้งปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดได้ในอนาคต และทั้งหมดที่จะกล่าวถึง คือ “5 ความเสี่ยงในยุคสมัยใหม่ที่มนุษย์โลกต้องเผชิญในอีก 2 ปีข้างหน้า”

ข้อมูลที่ผิด หรือการบิดเบือนข้อมูล

เมื่อเทคโนโลยี AI มีให้เลือกใช้เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เนื้อหา ข้อมูลที่เป็นความจริงเกิดการบิดเบือนเพิ่มขึ้นจากความซับซ้อนของตัว AI และแหล่งข้อมูลของมนุษย์เอง ซึ่งอาจนำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เรื่องนี้อาจดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่สามารถสร้างความเสี่ยง ความขัดแย้ง และอันตรายตั้งแต่ตัวเราเอง ระดับองค์กร และไปถึงระดับประเทศได้ หากเนื้อหาเหล่านี้ไม่ได้รับการกรองอย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพ

สภาพอากาศที่แปรปรวนแบบสุดขั้ว

...

สภาพอากาศแปรปรวนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่า 50 ปีที่แล้ว ถึง 5 เท่าที่มีความถี่ และรุนแรงขึ้นทุกปี เคยมีผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศนอกจากจะสร้างความเสียหายแก่ครัวเรือนแล้ว ยังสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศถึง 16 ล้านเหรียญสหรัฐ (560,680,000 บาท) รวมทั้งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มนุษย์เกิดการรณรงค์ และตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่น่ากังวลใจนี้

การแบ่งขั้วทางสังคม

เรื่องหนึ่งที่น่าเป็นห่วงมาจากอิสระทางความคิดที่มากขึ้น มีการรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวทางสังคม ความต่างของเจเนอเรชัน และความไม่เท่าเทียมกันที่เพิ่มขึ้นทางรากฐานทางการเงิน อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง แบ่งฝักฝ่ายความเห็นที่ไม่ลงรอย จนเกิดความแตกแยกในประเทศ ระหว่างประเทศ จากความวุ่นวายของระบบการเมืองทั่วโลก

ความไม่มั่นคงทางไซเบอร์

โลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยี และไซเบอร์ แม้มีข้อดี แต่ก็เปรียบเสมือนดาบสองคม ที่กลับกลายเป็นหนึ่งช่องโหว่ที่ทำให้เหล่าผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถเพิ่มช่องทางของการสร้างความไม่ปลอดภัยทั้งในด้านข้อมูล การเงิน ที่ส่งผลได้ทั้งในระดับบุคคล องค์กร รัฐ และประเทศได้เลยทีเดียว 

จากสถิติชี้ว่าในปี 2022 มีผู้ประสบภัยทางไซเบอร์ในด้านข้อมูล ของระดับองค์กรถึง 83% ได้รับความเสียหายเฉลี่ยอยู่ที่ 4.35 ล้านเหรียญสหรัฐ (152,424,000 บาท) ทำให้ปัจจุบันในหลายๆ ประเทศทั่วโลกต่างเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น เพื่อลดระดับความไม่ปลอดภัยนี้ให้ลดลง

ความขัดแย้งที่อาจก่อให้เกิดสงครามระหว่างภาครัฐ

ความขัดแย้งเหล่านี้มีชนวน มาจากผลประโยชน์ของด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรต่างๆ ที่พากันลดลง จนเกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในระดับภาครัฐ และประเทศ ทำให้บางประเทศกุมความได้เปรียบ เสียบเปรียบในเรื่องเหล่านี้มากจนเกิดเป็นช่องว่างแห่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

รายงานจาก Global Risk Report 2024 ยังกล่าวถึงความเสี่ยงระยะยาวที่ร้ายแรงที่สุดจากทั้งหมดที่กล่าวมา ซึ่งก็ คือ “ปัญหาของสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศ” ที่อาจส่งผลไปถึง 10 ปี และทวีคูณความรุนแรงที่อาจคาดไม่ถึงได้ อีกทั้งยังส่งผลต่อระบบนิเวศที่อาจทำให้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติที่หาได้ยากยิ่งขึ้น

สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นเทรนด์ที่มนุษย์ต้องปรับตัว และโลกต้องหันกลับมารณรงค์ และให้ความใส่ใจมากขึ้น เพื่อยับยั้งปัญหาจากความไวของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในปี 2024 นี้

ข้อมูล : worldeconomicforum

ภาพ : istock

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...