Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน ชู “ราชบุรี” ต้นแบบปฏิรูปการศึกษาไทย

เดินหน้ารุกพันธกิจ “1 โรงเรียน 3 รูปแบบ” หวังปฏิรูประบบการศึกษาไทยให้ยืดหยุ่นและมีทางเลือก ช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา “แสนสิริ” จับมือกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสมัชชาการศึกษาราชบุรี สานต่อโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ปีที่ 2 ผลักดันเด็กราชบุรี หลุดออกนอกระบบต้องเป็น “ศูนย์” ตามเป้าปี 2567

จากข้อมูลสถิติของ กสศ. หลังจากเปิดตัวโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” เมื่อปี 2565 สามารถช่วยเหลือเด็กเสี่ยงหลุดและเด็กหลุดจากระบบให้มีทางเลือกการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์ชีวิตได้แล้วจำนวน 9,311 คน จากทั้งหมด 10 อำเภอในจังหวัดราชบุรี โดย “แสนสิริ” เดินหน้าขับเคลื่อนราชบุรีให้เป็นจังหวัดต้นแบบ ที่จะสร้างกลไกการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาระดับประเทศ เพื่อให้เด็กหลุดจากการศึกษาเป็น “ศูนย์” ในปี 2567 ภายใต้เงินสนับสนุนจากการระดมทุนบริจาคช่วยเหลือเด็ก 100 ล้านบาท

...

ในฐานะหัวเรือใหญ่ของแสนสิริ “อภิชาติ จูตระกูล” บอกเล่าว่า เรามุ่งมั่นดำเนินธุรกิจภายใต้เจตนารมณ์ในการช่วยเหลือสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ผลักดันความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคมทุกมิติ รวมถึงสิทธิทางการศึกษาของเด็กที่จะนำพาประเทศไทยให้เดินไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพ จากโครงสร้างการศึกษาไทยที่ยังไม่ได้คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ และวิกฤติในการใช้ชีวิตของเด็กๆในพื้นที่นั้นๆอย่างเท่าเทียม ในปีนี้เราได้เดินหน้าสานต่อพันธกิจ “1 โรงเรียน 3 รูปแบบ” ร่วมกับ กสศ. และสมัชชาการศึกษาจังหวัดราชบุรี เพื่อลงลึกถึงการแก้ปัญหาตั้งแต่จุดเริ่มต้นอย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันสู่การแก้ปัญหาอย่างแท้จริงในระดับประเทศ ผ่านโครงการ “Zero Dropout เด็กทุกคนต้องได้เรียน” ทั้งภารกิจในการพัฒนากลไกการปฏิรูประบบ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาถึงระดับโครงสร้างการพัฒนากลไกการทำงานเชิงพื้นที่ ภารกิจในการสำรวจ ช่วยเหลือ และติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนในระบบและนอกระบบการศึกษาให้ได้รับโอกาสอย่างต่อเนื่อง

จากการลงพื้นที่สำรวจในปีนี้พบว่า ไม่ใช่แค่ปัจจัยด้านทุนทรัพย์เท่านั้น ที่ทำให้เด็กเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงกลายเป็นเด็กนอกระบบการศึกษา แต่ยังเกิดขึ้นจากอีกหลายปัจจัย เช่น เด็กกลุ่มเปราะบางที่ปัญหาด้านกายภาพไม่พร้อมจะเรียนรวมกับเด็กอื่นๆ (กลุ่มออทิสติกและกลุ่มเด็กที่พัฒนาการช้า) เด็กที่ไม่กล้าไปโรงเรียนหรือไม่สามารถไปโรงเรียนได้ (เด็กถูกรังแก, เด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และเด็กที่ต้องช่วยครอบครัวทำงาน)

“ดร.ไกรยส ภัทราวาท” ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า กสศ.พบว่าระบบการศึกษาที่ไม่เข้ากับเด็ก ขาดแคลนทางเลือก และไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้ เป็นสาเหตุสำคัญของการผลักดันให้เด็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษาและระบบสังคม โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในครัวเรือนยากจน ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบางทางสังคม และปัญหาเฉพาะ เช่น เด็กและเยาวชนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม กลุ่มตั้งครรภ์ในวัยเรียน กลุ่มที่มีความ ต้องการพิเศษ ดังนั้นควรสนับสนุนให้เกิดหน่วยจัดการเรียนรู้หลากหลายที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาค ตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันรายบุคคล มีความยืดหยุ่นทั้งเวลา รูปแบบ และเงื่อนไขในการเข้ารับบริการทางด้านการศึกษา สามารถเรียนแล้วได้วุฒิ ได้งาน ได้เงิน ได้ทักษะชีวิต ที่สำคัญต้องมีทักษะการทำงานในโลกยุคใหม่.

...

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...