“ภาวะปอดผิดปกติ” จากการติดโควิด มีวิธีการฟื้นฟูอย่างไร

ภาวะปอดผิดปกติ หนึ่งในกลุ่มโรคที่นิยมเกิดขึ้นได้หลังจากหายจากโรคโควิด-19 เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีการฟื้นฟูอย่างไร

ภาวะปอดผิดปกติ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มโรคที่เกิดขึ้นได้หลังจากหายจากโควิด-19 เนื่องมาจากผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการไอ เจ็บคอร่วมด้วย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบที่ปอดอย่างรุนแรงได้ จนถึงขั้นเป็นพังผืดที่ปอด ส่งผลให้การหายใจลำบาก เจ็บบริเวณทรวงอก การทำงานของปอดในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 

ลองโควิด หรือ ภาวะปอดผิดปกติ สามารถหายเองได้ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อในปอด หากเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ไม่รุนแรงมาก เนื้อปอดไม่โดนทำลายมาก ย่อมฟื้นตัวเป็นปกติได้ในเวลาไม่นาน และสามารถหายเองได้ แต่กลับกันหากเชื้อไวรัสโควิดนี้ลงปอดรุนแรงก็อาจจะต้องฟื้นฟูที่นานขึ้น และควรเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ตามมา การมาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กสุขภาพปอดอย่างละเอียดจึงมีความสำคัญมาก หลังจากหายจากโควิด-19 

อาการของภาวะปอดผิดปกติ

  • เจ็บบริเวณทรวงอก
  • หายใจลำบาก
  • เหนื่อยง่าย
  • หอบ หืด
  • อ่อนเพลีย 
  • เมื่อยล้า
  • ไอเรื้อรัง
  • นอนไม่หลับ
  • วิงเวียนศีรษะ

...

โรคแทรกซ้อนที่ควรเฝ้าระวัง จาก “ภาวะปอดผิดปกติ”

การติดเชื้อแทรกซ้อน : สามารถเกิดขึ้นได้จากการอักเสบที่รุนแรง ส่วนใหญ่จะเป็น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส ซึ่งหลังจากป่วยเป็นโควิด-19 อาจจะมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ ซึ่งควรเฝ้าระวัง และฟื้นฟูอย่างใกล้ชิด

ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด : หนึ่งโรคแทรกซ้อนที่ควรเฝ้าระวัง หากผู้ป่วยมีการสูบบุหรี่ร่วมด้วย สังเกตได้จากหากมีอาการเหนื่อยมากกว่าปกติ หายใจลำบาก และมีอาการบวมร่วม

เนื้อปอดอักเสบเสียหายรุนแรง : โรคที่ต้องฟื้นฟูหลังจากหายจากโรคโควิด-19 โดยปอดอาจเกิดพังผืด ทำให้ปอดมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง การฟื้นฟูมีหลายระดับ อาจจะหายได้เอง หรือต้องรับประทานยาร่วมด้วย บางรายอาจต้องทำกายภาพบำบัด

ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบหัวใจ และหลอดเลือด : ผู้ที่มีความผิดปกตินี้อาจจะมีโรคอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคความดัน เบาหวาน ความเครียด โรคหัวใจ ที่สามารถส่งผลไปกระตุ้นระบบหัวใจ และหลอดเลือดได้เพิ่มเติม

วิธีดูแลตัวเอง และฟื้นฟูจากภาวะปอดผิดปกติ

  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในระยะเวลาที่เหมาะสม
  • ยืดกล้ามเนื้อ
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้น โปรตีน โพรไบโอติกส์ และวิตามิน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
  • งดอาหารมื้อดึก
  • ฝึกการหายใจเข้าออก บริหารปอด
  • หลีกเลี่ยงกาเฟอีน
  • หลีกเลี่ยงบุหรี่
  • พบแพทย์เพื่อการฟื้นฟูที่ไวขึ้น

ข้อมูล : bangkokhospital

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...