'แพลนต์เบสฟู้ด' กลุ่มปตท.รุกคนรุ่นใหม่ ปั้น 'คอมมูนิตี้อาหารแห่งอนาคต'

บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด กล่าวถึง ความคืบหน้าโรงงานใน บริษัท แพลนท์ แอนด์ บีน ประเทศไทย : Plant & Bean (Thailand) ผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชให้แก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการด้านอาหารว่าขณะนี้ โรงงานแพลนท์เบสได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ อยู่ระหว่างทดลองตัวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งได้เริ่มทดลองวางจำหน่ายในร้านอาหารเพื่อสุขภาพในชื่อร้าน “alt. Eatery” และอีกส่วนจำหน่ายในร้าน Texas Chicken ถือเป็นคอมมูนิตี้อาหาร Plant-Based เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่

โรงงานแพลนต์เบสที่อยุธยาเสร็จแล้ว ตอนนี้ก็ทะยอยนำผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาป็นโปรดักส์ไปทดลองและผลิต ที่ผ่านมามีลูกค้าเข้ามาที่เยี่ยมชมโรงงานเพื่อให้เราทดลองผลิตให้จำนวนมาก ช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาสมาคมผู้ผลิตแพลนต์เบสไทย ได้พาสมาชิกเข้ามาเยี่ยมชมโรงงานด้วย รวมถึงลูกค้าที่มาในรูปแบบพัฒนาสูตรร่วมกัน จึงไม่ได้ทำเป็นสินค้าเราขายเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ในช่วงไตรมาส 4/2566 จะเห็นผลิตภัณฑ์ออกมาอีกแน่นอน ซึ่งขณะนี้ ในเรื่องของการใบอนุญาตก็ได้เกือบครบหมดแล้ว”

ทั้งนี้ โรงงานแพลนต์เบส กลุ่มปตท. ถือเป็นโรงงานแพลนต์เบสแรกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่ผลิตเฉพาะอาหารที่ทำมาจากพืชโดยเฉพาะ ถือเป็นอีกธุรกิจที่ยกระดับในเรื่องของอาหาร ก้าวสู่การเป็น ฟู๊ด อินโนเวชั่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า

แพลนต์เบสในไทยยังไม่เป็นกระแสมากเท่าฝั่งยุโรป หากสามารถทำดีก็จะสามารถหาลูกค้าต่างประเทศได้ กลายถือเป็นฐานการส่งออกได้ดี

บุรณิน กล่าวว่า สำหรับเทรนด์การทานอาหารแพลนต์เบสในประเทศไทยนั้น เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจต้องแยกกันระหว่าง กลุ่มวีแกน ซึ่งเป็นกลุ่มที่บริโภคสินค้าที่ไม่มีส่วนผสมของวัตถุดิบที่มาจากสัตว์ และไม่มีการใช้สัตว์ในกรรมวิธีการผลิตใด ๆ เลยกับ กลุ่ม Flexitarian ซึ่งเป็นกุล่มผู้บริโภคมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น สามารถทานเนื้อสัตว์ได้และทานพืชก็ได้เป็นบางครั้งคราว ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในร้านอาหารจะมีทั้งไส้กรอกที่ทำโดยโปรตีนจากพืช และไส้กรอกอีกหลากหลายชนิด ทั้งเนื้อ หมู ไก่ เป็นต้น

สำหรับมูลค่าตลาดรวมแพลนต์เบสในประเทศไทยนั้น ในอดีตได้มีการวิเคราะห์ไว้ที่ประมาณปีละ 50,000 ล้านบาท ถือว่าเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ราว 5% - 10% ซึ่งจะรวมถึงการแปรรูปมาเป็นร้านอาหารแล้วด้วย เพราะกระแสคนรุ่นใหม่นิยมดูแลเรื่องสุขภาพมากขึ้น เมื่อ ปตท. เข้ามาดูธุรกิจ Life sciences ธุรกิจด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ ก็จะไม่ได้มุ่งไปที่คนสูงวัยอย่างเดียว เพราะคนรุ่นใหม่ก็มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น จึงไม่ได้เข้ามาดูแค่เรื่องยาอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการป้องกัน

บุรณิน กล่าวว่า อินโนบิกถือเป็นกลุ่มธุรกิจใหม่ที่จะช่วยดันกำไรตามเป้าหมายที่วางไว้ของกลุ่มธุรกิจใหม่ที่ 30% ในปี ค.ศ. 2030 ถือเป็นความโชคดีที่กลุ่มธุรกิจยาประสบความสำเร็จค่อนข้างดีจากการเข้าไปลงทุนถือหุ้นใน บริษัท โลตัส ฟาร์มาซูติคอล จำกัด บริษัทยาระดับโลกของไต้หวัน ตามสัดส่วนการถือหุ้น 37% หรือคิดเป็นประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีการขายยาทั่วโลก คาดว่าปี 2566 โลตัส ฟาร์มาซูติคอล จะมีกำไรระดับ 3-4 พันล้านบาท จากปีที่ผ่านมากำไรที่ระดับกว่า 1 พันล้านบาท ถือว่ากำไรเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ซึ่งในส่วนของอินโนบิกเองคาดว่าจะมีกำไรปีนี้เป็นตัวเลข 3 หลัก

สำหรับโรงงานแพลนต์เบสเกิดจากการร่วมทุนระหว่าง อินโนบิก และบริษัท โนฟ ฟู้ดส์ จำกัด ร่วมทุนกับ บริษัท แพลนท์ แอนด์ บีน ประเทศอังกฤษ ในสัดส่วนการลงทุน 51% และ 49% ตามลำดับ โดยจัดตั้งบริษัท นิวทรา รีเจนเนอเรทีฟ โปรตีน จำกัด หรือ NRPT ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทเอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF ถือหุ้น 100%

โดยนำเทคโนโลยีการผลิตโปรตีนจากพืชชั้นสูงจากประเทศอังกฤษ มาตั้งไว้ที่ประเทศไทย ตั้งเป้ากำลังการผลิตเบื้องต้นที่ 3,000 ตันต่อปี ในการดำเนินธุรกิจพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากพืชครบวงจร

อาหารเพื่อสุขภาพในเวอร์ชั่น “แพลนต์เบส”สามารถตอบโจทย์ทั้งสุขภาพส่วนบุคคลและสุขภาพสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปได้ แต่ขึ้นชื่อว่าอาหารย่อมต้องมีเรื่องของรสชาติ เนื้อสัมผัสที่ต้องตอบโจทย์ใหญ่ที่เรียกว่า “ความอร่อย”ให้ได้

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

แหล่งข่าวเผย อิสราเอลแจ้งสหรัฐจะทำอะไรบางอย่างในเลบานอน!

เมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) กระทรวงสาธารณสุขเลบานอนแถลงว่า วิทยุมือถือ (ว.) ที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ใช้ ได้ระเ...

ว.ฮิซบอลเลาะห์ระเบิด แปะฉลาก ‘เมด อิน เจแปน’

ภาพถ่าย ว.ฮิซบอลเลาะห์ที่ระเบิดเมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) พบฉลาก “ICOM” และ “เมด อิน เจแปน” สำนักข่าวรอยเ...

'บิลลี ไอลิช-โจ โรแกน' เชียร์'คามาลา แฮร์ริส'

เว็บไซต์บลูมเบิร์กรายงาน ป็อปสตาร์ “บิลลี ไอลิช” โพสต์คลิปเคียงข้างพี่ชายบนอินสตาแกรม กระตุ้นให้ผู้ต...

‘รถไฟ’ กระจายความเจริญ กรณีศึกษา: โฮคุริคุ ของญี่ปุ่น | กันต์ เอี่ยมอินทรา

ได้เห็นการเชื่อมต่อด้วยระบบรางระหว่างกรุงเทพกับลาวแล้วก็อดคิดถึงรถไฟต่างประเทศไม่ได้ เพราะรถไฟไทยเรา...