ชวนเช็ก 8 พฤติกรรมสุ่มเสี่ยง สัญญาณเตือน ‘โรคซึมเศร้า’

ชวนเช็กพฤติกรรมของตนเองว่ามีภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้ามากแค่ไหน หากมีพฤติกรรมเหล่านี้แล้วควรทำอะไร และต้องเตรียมตัวได้อย่างไรบ้าง

โรคซึมเศร้า คือ โรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองเซโรโทนิน (Serotonin) ที่มีปริมาณลดลง จนเกิดอาการผิดปกติทางอารมณ์ มีอารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ส่งผลกระทบในด้านจิตใจของผู้ป่วย โดยสามารถลุกลามไปในด้านพฤติกรรม ความคิด และความรู้สึก ที่ไม่สามารถหาคำพูดออกมาได้ โดยมักจะคิดแต่เรื่องที่มีผลกระทบต่อจิตใจในด้านลบ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบไปในวงกว้างต่อการใช้ชีวิต การทำงาน ลุกลามจนไปถึงไม่อยากทำอะไรต่อไปในชีวิต และเป็นสาเหตุหนึ่งในการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเป็นลำดับต้นๆ

สาเหตุที่ทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อาจเกิดได้หลากหลายกรณี ส่วนใหญ่มักจะมาจากพันธุกรรมในครอบครัวที่มีประวัติผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า, สภาพแวดล้อม, การเลี้ยงดูของพ่อแม่ หรือเป็นคนที่มีลักษณะนิสัยเก็บตัว ที่มีลักษณะนิสัยที่อ่อนไหวง่าย คิดมาก มองโลกในแง่ลบเสมอ

8 พฤติกรรมเสี่ยงเป็น ‘โรคซึมเศร้า’

  • สมาธิลดลง เหม่อลอย 

อาการสมาธิลดลง เหม่อลอย สังเกตตนเองได้จากการที่เวลาโฟกัสอะไรสักอย่างหนึ่งจะไม่สามารถทำได้เป็นระยะเวลานาน มักจะมีเรื่องให้คิดตลอดเวลา และตกอยู่ในภวังค์ มีความเหม่อลอยคิดเรื่องอื่นๆ ในหัวอยู่เสมอ

  • นอนไม่หลับเป็นประจำ

การนอนหลับยากของผู้ที่มีความเสี่ยง และป่วยซึมเศร้านั้น มักจะชอบคิดอะไรที่ส่งผลลบต่อตนเอง คุณอาจมีภาวะความกดดัน ความเครียดนั้นก่อนเข้านอน ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการนอนหลับ และยิ่งหากพักผ่อนไม่เพียงพอก็สามารถส่งผลทางอารมณ์ให้มีอาการรุนแรงยิ่งขึ้น

...

  • รู้สึกตนเองไร้ค่า ไร้ประโยชน์ จุดมุ่งหมายชีวิตลดลง

การหมดอาลัยตายอยากในชีวิตเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างยิ่งสำหรับโรคซึมเศร้านี้ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความทะเยอทะยานสูง มักจะหาอะไรใหม่ๆ ทำได้เสมอ หากหมดไฟ โทษตัวเองบ่อย และไม่มีแรงขับเคลื่อนแล้ว ส่วนใหญ่จะหยุดชะงักไปโดยใช้เวลาไม่นานนัก หากคุณหยุดใช้เวลาในการหาจุดมุ่งหมาย หรือคิดว่าตนเองไร้ประโยชน์เป็นเวลานานคุณอาจจะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงของโรคซึมเศร้าแล้ว 

  • ชอบกดดันตัวเองมากจนเกินไป 

การกดดันเพื่อการแข่งขันกับตนเอง และผู้อื่นเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าคุณกดดันตัวเองจนเกินความสามารถไป และไม่อาจทำได้แล้ว อาจจะเป็นการสร้างความเครียดสะสมเข้าไปในร่างกายแทน จนทำให้คุณเกิดภาวะเสี่ยงกับโรคซึมเศร้าได้ง่ายๆ เพราะความผิดหวัง ความเครียดเหล่านี้ สามารถกดภาวะทางอารมณ์ และจิตใจของคุณได้เป็นอย่างดี

  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดหัว

ผลกระทบข้างเคียงของผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า มักจะมีอาการเหล่านี้โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่จริงๆ แล้วสาเหตุอาจจะมาจากกร่างกายที่อ่อนแอขึ้น หรือจากภายใต้จิตใจที่สารเคมีในสมองลดลง

  • เซื่องซึม และเชื่องช้า

ความเครียดทำให้เราสมาธิเราสั้นลง และนานๆ เข้า อาจจะทำให้เกิดอาการเซื่องซึม และมีความเชื่องช้าลงไปอย่างเห็นได้ชัด จากคนที่เคยกระปรี้กระเปร่าที่สุดกลับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเฝ้าระวังตนเองได้เป็นอย่างดีด้วยการสังเกตพฤติกรรมตนเอง

  • เบื่ออาหาร น้ำหนักเพิ่ม และลดลง

ผลพวงทั้งหมดจากอาการเครียด และซึมเศร้า สามารถทำให้เรารับประทานอาหารได้น้อยลง จนเกิดผลข้างเคียงต่อระบบย่อยอาหารภายในที่ปรับเปลี่ยนกะทันหัน จนเกิดอาการเบื่ออาหาร และมีน้ำหนักเพิ่ม หรือลดลงได้อย่างรวดเร็ว

  • คิดถึงเรื่องของการฆ่าตัวตาย

หนึ่งในสิ่งที่น่ากลัวที่สุดของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า และส่งผลต่อผู้ที่มีความเสี่ยงได้เช่นกัน เพราะหากมีอารมณ์ มีความเครียด และความเศร้าในจิตใจ ณ เวลานั้นๆ แล้ว บางทีอาจทำให้คำพูดเหล่านี้หลุดออกมาจากปากได้ และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ควรลองเข้าพบจิตแพทย์ดูสักครั้งว่าที่พูดออกไปนั้นมาจากความรู้สึกจริงๆ หรือการประชดกันแน่

วิธีแก้ไข และป้องกันโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิต ไม่ใช่การเจ็บป่วยที่สามารถรักษาให้หายเองได้ ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นควรได้เข้ารับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์อย่างจริงจัง เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลา โดยอาจจะต้องรับการทำจิตบำบัดควบคู่ไปด้วย และอีกหนทางหนึ่ง คือ การหาสภาพแวดล้อมดีๆ เพื่อน และครอบครัวที่รู้ใจในการช่วยเหลือ พร้อมรับฟัง และช่วยกันแก้ไข ก็เป็นอีกทางออกหนึ่งที่สามารถเป็นทางออกที่ดีได้

ข้อมูล : โรงพยาบาลรามาธิบดี, Medpark, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช

ภาพ : istock

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...