Sustainable Tourism : ทรานส์ฟอร์มสู่ความยั่งยืน

ธุรกิจที่สามารถตอบรับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ย่อมมีความได้เปรียบในการแข่งขัน การพลิกโฉมธุรกิจท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนจึงกลายเป็นหมุดหมายสำคัญทั้งในเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปัจจุบันธุรกิจการท่องเที่ยวและการบริการต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้าน เช่น การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง การขาดการจัดการที่เป็นระบบและขาดข้อมูลเชิงลึกเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการดำเนินงานทำให้สูญเสียทรัพยากรและสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โรงแรมหลายแห่งไม่สามารถปรับปรุงการใช้พลังงานได้เนื่องจากขาดระบบบริหารจัดการพลังงานและขาดการวิเคราะห์ผลกระทบต่อธุรกิจและสิ่งแวดล้อม

         การทำ Digital Transformation ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่ได้เพียงแค่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเท่านั้น แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

การนำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้วิเคราะห์การใช้พลังงาน การจัดการขยะ และบริหารการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ทำให้ธุรกิจสามารถประเมินและปรับปรุงการใช้ทรัพยากรได้ดียิ่งขึ้น

โรงแรมหลายแห่ง เช่น ในเครือ Accor นำเอาระบบ IoT มาติดตามการใช้พลังงาน ปรับอุณหภูมิในห้องพักตามจำนวนผู้เข้าพักเพื่อลดการใช้พลังงานและลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้อย่างมีนัยสำคัญ

แพลตฟอร์ม Cloudbeds ช่วยให้โรงแรมสามารถปรับการใช้พลังงานตามความต้องการของลูกค้าในแบบเรียลไทม์ทำให้สามารถประหยัดทรัพยากรได้มากขึ้น

แพลตฟอร์ม Green Key Global ช่วยโรงแรมต่าง ๆ ในการติดตามและรับรองมาตรฐานการจัดการพลังงาน น้ำ และขยะ ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยโรงแรมปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความอย่างยืน

 ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น เดนมาร์ก และ คอสตาริกา มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยขับเคลื่อนการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เดนมาร์กมีโครงการ Green Key ที่ส่งเสริมให้โรงแรมปรับปรุงการใช้พลังงานและทรัพยากรผ่านการใช้ IoT และระบบดิจิทัล

ขณะที่ในคอสตาริกา มีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยติดตามผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลให้ภาคธุรกิจสามารถปรับแผนการบริหารจัดการได้ในแบบที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สนามบินชางงีในสิงคโปร์ มีการใช้มาตรการประหยัดพลังงาน และเทคโนโลยีในการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังใช้พลังงานสะอาด ทำให้กลายเป็นผู้นำด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

การนำกรณีศึกษาเหล่านี้มาปรับใช้ในประเทศไทยจะช่วยยกระดับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจท่องเที่ยวไทย

           การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันให้ธุรกิจต้องปรับตัว ผู้บริโภครุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ตามรายงานจาก Booking.com พบว่า 83% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกมองว่าการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ แต่มีเพียง 49% ที่สามารถหาทางเลือกที่ยั่งยืนได้ ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจที่สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทรานส์ฟอร์มและนำเสนอการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ได้มากขึ้น

 การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงดิจิทัลให้ยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน รัฐควรมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนควรลงทุนในระบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากร

การร่วมมือกันในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และสร้างโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้เติบโตไปไกลในระดับโลก. 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

คาดชาวจอร์เจียใช้สิทธิล่วงหน้ามากเป็นประวัติการณ์

กาเบรียล สเตอร์ลิง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ แบรด ราฟเฟน สเปอร์เกอร์ เลขานุการรัฐจอร์เจียกล...

ผู้พิพากษารัฐจอร์เจียสั่งระงับกฎให้นับบัตรลงคะแนนเลือกตั้งด้วยมือ

เมื่อวันอังคาร (15 ต.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น โรเบิร์ต แม็คเบอร์นี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาล ฟุลตัน เคาน์ตี...

ทรัมป์ได้เงิน ‘คริปโท’บริจาค มูลค่า 7.5 ล้านดอลลาร์

ตามเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งรัฐบาลกลางในวันอังคาร (15 ต.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น ระบุว่า...

‘อีลอน มัสก์’ นำทัพเศรษฐีทุ่มเงินช่วยทรัมป์

CNN รายงานข่าวว่า รายงานใหม่ที่ยื่นต่อหน่วยงานกำกับ ดูแลของรัฐบาลกลางเมื่อวันอังคาร (15 ต.ค.) ตามเวล...