สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนยินดีไทยนั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษชนยูเอ็น

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ออกแถลงการณ์ในวันที่ 11 ต.ค. ความว่า  ตามที่ประเทศไทยได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระปี พ.ศ. 2568-2570 (United Nations Human Rights Council: UNHRC) จากการลงคะแนนเลือกตั้งในที่ ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567 นั้น 

 สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และองค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่แนบข้างท้ายนี้ ขอแสดงความ ปรารถนาดีและชื่นชมที่ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมในเวทีสิทธิมนุษยชนระดับโลก อันแสดงให้เห็นว่าประเทศสมาชิก คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งประชาชาติเชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและค่านิยมประชาธิปไตย 

พร้อมกันนี้ สสส.และองค์กรแนบท้าย ขอเสนอความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนให้สมเกียรติตามที่ได้รับ ดังต่อไปนี้ 

 1. ให้รัฐบาลใช้กลไกส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนหลัก ตามวัตถุประสงค์ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลไกพิเศษ (Special Procedure) ติดตามและรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งในลักษณะ สถานการณ์รายประเทศ รายประเด็นสิทธิมนุษยชน กระบวนการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนซึ่งเป็นกลไกในการ รับและพิจารณาข้อรองเรียนแบบลับเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรง ต่อเนื่อง และเป็นระบบ และ กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) ที ่ให้สมาชิกสหประชาชาติ ทบทวนสถานการณ์สิทธิ มนุษยชนระหว่างกัน ทั้งนี้โดยให้ความสำคัญต่อสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สิทธิของผู้ลี้ภัย แรงงานข้ามชาติ และประเด็นแหลมคมอื่นๆ 

 2. ให้รัฐบาลยืนยันที่จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศ การสร้าง ความตระหนักรู ้เรื่องสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมศักยภาพ (capacity building) ในการ ดำเนินการตามมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนของไทย การเคารพเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพ ทางวิชาการ ผลักดันการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) และมาตรฐานระหว่างประเทศอื่นๆ ที่ส่งเสริมการ ดำเนินการที่เคารพสิทธิมนุษยชนรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และจะทำงานร่วมกับนานาประเทศในการ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการนำประชาธิปไตยและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและ สันติภาพกลับสู่เมียนมาร์และประเทศสมาชิกอาเซียน ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44-45 และการประชุมที่เกี่ยวข้องที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 

 สสส. และองค์กรแนบท้าย หวังว่าข้อคิดเห็นนี้จะได้รับการพิจารณาดำเนินการในโอกาสแรกที่รัฐบาล สามารถดำเนินการได้ เพื่อร่วมกับภาคประชาชนในการส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนอันเป็นรากฐานสำคัญของ ระบอบประชาธิปไตยและสันติภาพในประเทศ ในภูมิภาคอาเซียนและโลกสืบไป

ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2567

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)

มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Pro-rights)

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

โอบามา ลุยหาเสียงช่วยแฮร์ริส เลือกตั้งสหรัฐ สูสี แม้เข้าช่วงโค้งสุดท้าย

อดีตประธานาธิบดี บารัก โอบามา เชิญชวนให้ชาวอเมริกันลง คะแนนเสียงให้กับรองประธานาธิบดี คามาลา แฮร์ริส...

TikTok เลิกจ้างพนักงานหลายร้อยคน หลังใช้ AI ทำงานกรองเนื้อหาแทน ‘มนุษย์’

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า “ไบต์แดนซ์” (ByteDance) บริษัทแม่ของ TikTok ประกาศว่ากำลังเลิกจ้างพนักงาน...

‘เฮดจ์ฟันด์ชั้นนำ’ หันมาช้อนหุ้นจีน ชี้ราคาปัจจุบันยังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “กองทุนเฮดจ์ฟันด์ชั้นนำของจีน” หันมาซื้อหุ้นเทคโนโลยีจีนที่จดทะเบียนในฮ...

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนยินดีไทยนั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษชนยูเอ็น

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ออกแถลงการณ์ในวันที่ 11 ต.ค. ความว่า ตามที่ประเทศไทยได้รับการเลือ...