“ไก่น้อง” KFC ไม่ทิ้งให้ใครต้องหิว Food Bankแก้วิกฤตขยะอาหาร

ขยะอาหาร” เป็นปัญหาใหญ่ของโลก ที่ไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)เผยแพร่รายงานดัชนีขยะอาหารระบุ ปี 2565 ทั่วโลกมี“ขยะอาหาร” (Food Waste)สูงถึง 1,050 เมตริกตัน

โดยนักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากครัวเรือน ร้านอาหาร และร้านค้าปลีกในแต่ละประเทศทั่วโลก ทำให้พบว่าในแต่ละปีผู้คนสร้าง“ขยะอาหาร”คนละประมาณ 79 กิโลกรัม เท่ากับว่ามีอาหารอย่างน้อย 1,000 ล้านจานถูกทิ้งในแต่ละวันซึ่งเป็นการประเมินขั้นต่ำ ในความเป็นจริงตัวเลขอาจจะมากกว่านี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

'ขยะอาหาร' ขยะใกล้ตัว ที่ทุกคนต้องช่วยลด

'บุฟเฟ่ต์'หนึ่งตัวการขยะอาหาร

คนไทยมีปัญหาเข้าถึงอาหาร3.8 ล้านคน

“วิกฤตขยะอาหาร”ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางอาหารของประชาชนกลุ่มเปราะบาง ซึ่งการตอบสนองต่อปัญหานี้นอกเหนือจากการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาขยะอาหารแล้ว การลดการสูญเสียอาหารตั้งแต่ต้นทางเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญในการลดวิกฤตปัญหาขยะอาหาร

ขยะอาหาร 60% มาจากการบริโภคในครัวเรือน อีก 28% มาจากร้านอาหารหรือผู้ให้บริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม ส่วน 12% ที่เหลือมาจากร้านค้าปลีกอีกทั้งตัวเลขนี้ยังไม่รวมขยะอาหารอีก 13% ที่เน่าเสียหรือสูญเสียไประหว่างขั้นตอนการเก็บเกี่ยว หรือการผลิต

ขณะที่ข้อมูลที่ได้มีการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีอาหารส่วนเกินมากถึงเกือบ 4 ล้านตันต่อปี ในขณะที่มีการรายงานตัวเลขของประชากรของประเทศที่มีรายได้น้อยและมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาการเข้าถึงอาหารอยู่ถึง 3.8 ล้านคน

ส่งต่อให้น้อง ลดขยะอาหาร

 “KFC Thailand” ซึ่งมีทั้งหมด 1,110 สาขาทั่วประเทศไทย และมีปริมาณอาหารส่วนเกินที่มีคุณภาพสามารถนำไปส่งต่อให้แก่น้องๆ และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเปราะบางของสังคม ผ่านโครงการ “Harvest & Colonel’s Kitchen” อีกหนึ่งแนวทางในการช่วยลดเรื่องของอาหารส่วนเกินให้กับองค์กรการกุศลที่ต้องการความช่วยเหลือ

“แจนเน็ต รุ้งสิทธิกุล”Senior Marketing Manager KFC Thailandเล่าว่าKFC ประเทศไทย ได้ดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนปี 2566-2568โดยตั้งเป้าบรรลุพันธกิจขับเคลื่อนใน 3 ด้านสำคัญได้แก่ ผู้คน (People)โลก (Planet)และ อาหาร (Food) โดยKFCได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึงอาหารได้อย่างเท่าเทียมกัน และดูแลสังคมให้ได้รับอาหารที่มีคุณภาพ เพราะหัวใจในการทำธุรกิจของ KFC คือ คน โลก และคุณภาพอาหาร

“ธุรกิจร้านอาหาร ต้องยอมรับว่ามีอาหารส่วนเกินในแต่ละวันจำนวนมาก ซึ่งอาหารส่วนเกินดังกล่าว เป็นอาหารที่สามารถนำไปรับประทาน หรือประกอบอาหารต่อได้มีประโยชน์ต่อผู้อื่น ตอบโจทย์ความต้องการด้านอาหาร ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากเรื่องของขยะอาหาร โดยโครงการHarvest & Colonel’s Kitchenเป็นความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อย่างSOS Thailand(มูลนิธิรักษ์อาหาร) หรือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการส่งต่อไก่ในแต่ละวันไปให้แก่ผู้ที่ต้องการ ซึ่งขณะนี้ได้ช่วยผู้คนไปกว่า 2 ล้านมื้ออาหารและมี 200 สาขาทั่วประเทศที่ร่วมส่งต่อไก่น้อง”แจนเน็ตกล่าว

ทุกคนเข้าถึงอาหารอย่างเท่าเทียม

นอกจากนั้น KFC ได้ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)แก้ปัญหาเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษา ผ่าน KFC Bucket Searchเพื่อเสาะหา และพัฒนาศักยภาพน้องๆ อย่างเต็มที่ก่อนกลับคืนสู่สังคม ให้ น้องๆ ไม่เพียงสามารถพึ่งพาตัวเองได้ แต่ยังสามารถเป็นที่พึ่งให้กับผู้อื่นและช่วยขับเคลื่อนสังคมต่อไป เพราะผู้พันแซนเดอร์สเชื่อว่าทุกศักยภาพมีคุณค่าเสมอ และเด็กทุกคนล้วนมีศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัด และกำลังรอให้ “โอกาส”ได้ค้นพบ

รวมถึงได้มีการทำครัวให้แก่สถานสงเคราะห์และหน่วยงานชุมชนต่างๆ ประมาณ 10 แห่งทั่วประเทศ เพื่อนำไก่น้องไปทำอาหารได้ถูกสุขลักษณะ จัดเก็บอย่างถูกวิธีโครงการต่างๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากพนักงานในแต่ละสาขา และหน่วยงาน อย่าง SOS ที่ดำเนินการมาแล้ว5ปีกระจายความช่วยเหลือได้15 จังหวัด ทั่วประเทศ

แจนเน็ต กล่าวว่า การส่งต่อไก่น้อง ให้แก่ผู้ที่ต้องการเป็นความตั้งใจของKFC ที่ต้องการให้ทุกคนได้รับความเท่าเทียมในการเข้าถึงอาหาร ดูแลสังคม และลดปัญหาขยะอาหาร ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่ใช่เพียงประเทศใดประเทศหนึ่งได้รับผลกระทบ แต่ทุกประเทศทั่วโลกต่างประสบปัญหาดังกล่าว ขณะเดียวกัน มีผู้ขาดแคลนอาหารทั้งในไทยและต่างประเทศ ฉะนั้น การนำอาหารส่วนเกินมาปรุงใหม่ให้กลายเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และSOS เข้ามาช่วยในการขนส่งไก่น้องให้ถึงมือผู้บริโภคได้ทั่วทุกที่เป็นการขยายธนาคารอาหารให้เกิดขึ้นจริงอีกด้วย

ธุรกิจอาหารต้องรับผิดชอบต่อสังคม

“ธุรกิจร้านอาหารต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะเรื่องของการทำให้พนักงานอยากเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อไก่น้อง อาหารส่วนเกินให้แก่มูลนิธิ SOS หรือผู้ที่ต้องการเพราะพนักงานจะต้องเป็นคนจัดเตรียม ควบคุมคุณภาพของอาหารก่อนส่งต่ออาหารส่วนเกินที่ยังบริโภคได้ ให้กับผู้คน-โรงเรียน-ชมชุมชนที่ขาดแคลนต้องการอาหารต่อไป”แจนเน็ตกล่าว

แม้ KFC จะไม่ได้เข้าร่วมดำเนินการธนาคารอาหารโดยตรง แต่หลายๆโครงการที่ได้ทำร่วมกับทาง SOS ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนธนาคารอาหารให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งการที่ธุรกิจร้านอาหาร ร่วมส่งเสริมธนาคารอาหาร นอกจากช่วยลดปัญหาขยะอาหารแล้ว ยังเป้นช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนๆ หนึ่งได้

แจนเน็ตกล่าวทิ้งท้ายว่าบทบาทของธุรกิจร้านอาหาร ไม่ใช่เพียงการขายอาหารที่มีคุณภาพ คุณค่าทางโภชนาการแก่ผู้บริโภคเท่านั้น แต่ต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องของผู้คน สิ่งแวดล้อม และสังคมร่วมด้วย การส่งต่ออาหารส่วนเกินไม่ว่าจะมากหรือน้อย สามารถช่วยเหลือผู้ขาดแคลนอาหารได้มาก และลดจำนวนอาหารที่จะต้องทิ้งในแต่ละวัน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ประชุมอาเซียน-จีน คุกรุ่น 'ฟิลิปปินส์' เรียกร้องเร่งเจรจาปัญหาทะเลจีนใต้

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 27 เมื่อวันพฤหัสบดี (10 ต.ค.) อบอวลไปด้วยบรรยากาศคุกรุ่น เนื่องจ...

พายุเฮอริเคนถล่มฟลอริดาหนัก มีผู้เสียชีวิตแล้ว 10 ราย

"พายุเฮอริเคนมิลตัน"เคลื่อนตัวออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกแล้วในวันพฤหัสบดี (10 ต.ค.67) หลังพัดถล่มใจกลาง...

‘เทสลา’ จ่อเปิดตัว Cybercabs ธุรกิจ 'แท็กซี่ไร้คนขับ' ที่ยังขาดทุนมหาศาล

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า “เทสล่า” (Tesla) ของ “อีลอน มักส์” เตรียมเปิดตัว “แท็กซี่ไร้คนขับ” ที่ชื่...

‘อิสราเอล’ โจมตีกรุงเบรุต ตาย 22 เจ็บ 117 หัวหน้าฮิซบอลเลาะห์รอด

กระทรวงสาธารณสุขเลบานอนรายงานว่า การโจมตีกรุงเบรุต ประเทศเลบานอนของอิสราเอล เมื่อวันพฤหัสบดี (10 ต.ค...