‘นายกฯ’ ถก ‘อาเซียน-จีน’ ชี้ เจริญได้ ภูมิภาคต้องมีเสถียรภาพ ทะเลจีนใต้สันติ

ที่ศูนย์ประชุม NCC  เวียงจันทน์ สปป.ลาว น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44-45  โดยเวลา 08.30 น. นายกฯ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 27 จากนั้นจะประชุมสุดยอดอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 25 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 35 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน กับสาธารณรัฐเกาหลี ต่อด้วยกำหนดการของนายกฯ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 27 ขณะที่ช่วงบ่าย นายกฯ มีกำหนดการหารือทวิภาคีกับผู้นำประเทศ และผู้แทนจากเวที World Economic Forum (WEF) โดยในเวลา 12. 30 น. นายกฯ มีกำหนดพบหารือแบบทวิภาคกับนายยุน ซอกยอล  (Mr. Yoon Suk Yeol) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี 

โดยเวลา 13.00 น. เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 27 จากนั้น เวลา 14.30 น. พบหารือ ( pull-aside) กับนาย Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและประธานสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) เวลา 15.00 น. พบหารือ (pull-aside) กับนายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา และเวลา 15.40 น. พบหารือแบบทวิภาคีกับดาโตะ เซอรี อันวาร์ อิบราฮิม (Dato’ Seri Anwar Bin Ibrahim) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จากนั้น เวลา 16.00 น. ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่ 21 หลังจากนั้น เวลา 17.00 น. พบหารือแบบทวิภาคีกับนายแอนโทนี บลิงเกน (Mr. Antony Blinken) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐฯ และเวลา 18.30 น. พบหารือทวิภาคีกับนายหลี่ เฉียง (Mr. Li Qiang) นายกรัฐมนตรีจีน ซึ่งช่วงค่ำ ในวันเดียวกัน นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ประมุข/หัวหน้ารัฐบาล ที่เข้าร่วมการประชุมและคู่สมรส และเลขาธิการสหประชาชาติและคู่สมรส โดยนายสอนไซ สีพันดอน (Mr. Sonexay Siphandone) นายกรัฐมนตรี สปป. ลาว และนางวันดาลา สีพันดอน (Madame Vandara Siphandone) ภริยา เป็นเจ้าภาพด้วย

ทั้งนี้ น.ส.แพทองธาร กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดอาเซียน - จีน ครั้งที่ 27 ซึ่งมีนายหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีนเข้าร่วมด้วย โดยนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

การประชุมวันที่ 2 นี้ ในช่วงเช้า เป็นการประชุมผู้นำอาเซียน กับ นายกรัฐมนตรีของจีน น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า ความสัมพันธ์อาเซียน – จีน เป็นรากฐานสำคัญของสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค ซึ่งยังมีศักยภาพอีกมากที่จะพัฒนาร่วมกันในการสร้างประโยชน์ร่วมกันระหว่างสมาชิกอาเซียนกับ จีน  ผ่านการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน เพื่อความสันติภาพ ความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรือง การพัฒนาที่ยั่งยืน และมิตรภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด "บ้าน 5 หลัง" (Five-Homes) ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำความร่วมมือที่ให้ความสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

1. การบูรณาการทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยง (Economic integration and connectivity) นั้นประเทศไทย ยินดีต่อความสำเร็จของการเจรจายกระดับ FTA อาเซียน-จีน 3.0 ซึ่งอาเซียนและจีนควรใช้ประโยชน์จาก RCEP ซึ่งประเทศไทยสนับสนุนการรวบรวมสมาชิกใหม่ที่รวมไปถึงเขตบริหารพิเศษฮ่องกงด้วย 

ทั้งนี้ การจะบรรลุการเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น ต้องมุ่งเน้นการบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียว โดยจะต้องส่งเสริมความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงทางดิจิทัล เทคโนโลยี AI และเกษตรอัจฉริยะ

2. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน (People-to-people relations) ประเทศไทยยินดีต่อความสำเร็จในปีนี้ซึ่งเป็นปีแห่งความร่วมมืออาเซียน - จีนว่าด้วยการแลกเปลี่ยนระหว่าประชาชน (ASEAN-China Year of People-to-People Exchanges) ซึ่งต้องเสริมสร้างความเข้าใจ ความรักความสามัคคีของประชาชนในประชาคม อาเซียน กว่า 700 ล้านคนโดยจะดำเนินมาตรการยกเว้นวีซ่า อย่างต่อเนื่อง เพิ่มจำนวนเที่ยวบิน และขยายโอกาสในการรับทุนการศึกษา

3. ด้านความร่วมมือด้านความมั่นคง (Security cooperation) ควรเพิ่มความพยายามเป็นสองเท่าในการจัดการกับประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นอาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์และยาเสพติด และการหลอกลวงออนไลน์ ซึ่งประเทศไทยยินดีต่อการมีส่วนร่วมของจีนในความพยายามของอาเซียนที่จะจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาหมอกควันข้ามแดนและภัยพิบัติทางธรรมชาติ

นายกฯ กล่าวว่า “ความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาของเราขึ้นอยู่กับสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค สถานการณ์ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้เป็นสาเหตุของความกังวลร่วมกัน ซึ่งจุดยืนตามหลักการของประเทศไทยคือ การยุติข้อพิพาทอย่างสันติผ่านการทูต การเจรจา และตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS) โดยต้องดำเนินความร่วมมือแบบ win-win อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่น”

สำหรับสถานการณ์ในเมียนมานั้น ประเทศไทยยืนยันความมุ่งมั่นต่อฉันทามติ 5 ข้อ (Five-Point Consensus) เพื่อช่วยเมียนมาหาทางออกอย่างสันติที่นำโดยเมียนมาและเป็นของเมียนมาเอง ซึ่งไทยชื่นชมบทบาทที่แข็งขันของประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมา รวมถึงจีนในการมุ่งสู่เป้าหมายนี้ 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

รัฐบาลสหรัฐเปิดศึก ‘กูเกิล’ ใหญ่เกินไปจน ‘ผูกขาดตลาด’

คอนเซปต์ทางธุรกิจเรื่อง Too Big to Fail ที่เคยเชื่อกันว่าธุรกิจใหญ่เกินไปที่จะล้มได้ หรือใหญ่เกินไปท...

รู้จัก ‘การประมูลแบบดัตช์’ หนทางรอดสินค้าค้างสต็อกแฟชั่นออนไลน์

แพลตฟอร์มแฟชั่นหรูชื่อดังอย่าง Farfetch, Matchesfashion และ Yoox Net-a-Porter กำลังเผชิญกับวิกฤติทาง...

'เฮอริเคนมิลตัน' ขึ้นฝั่งฟลอริดา ทอร์นาโดหลายลูกถล่มซ้ำ

รอน เดอซานติส ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา แถลงข่าวประจำวันเมื่อเย็นวันพุธ (9 ต.ค.67) ตามเวลาท้องถิ่น ยืนยันเ...

‘ทรัมป์-แฮร์ริส’ ถล่มกันยับด้วยพายุเฮอริเคน

รองประธานาธิบดีแฮร์ริส กล่าวเมื่อวันอังคาร (8 ต.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น เธอคิดว่าอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ ...