6 ภารกิจเพื่อคนกรุง เช็คลิสต์งานค้าง ‘ชัชชาติ’ ผู้ว่า กทม.

หลังจากเป็นผู้ว่าราชการที่ได้คะแนนเสียงท่วมท้น 1.38 ล้านเสียง สูงสุดนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ยื้อหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 4 หมื่นล้าน

ปัญหาหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ระหว่างกรุงเทพมหานคร บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)​​ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS ยังไม่ได้ข้อสรุปถึงแม้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะประกาศหาข้อสรุปภายใน 1 เดือน หลังเข้ารับตำแหน่ง เพื่อสร้างความต่อเนื่องของการบริการขนส่งสาธารณะ

ล่าสุดวันที่ 25 ก.ค.2567 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ก้อนแรก 11,755 ล้านบาท ภายใน 180 วัน แต่ได้มีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำพิพากษา โดยยังไม่มีการปฏิบัติตามคำพิพากษา

ขณะที่ยังเหลือหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าดังกล่าวอีก 3 ก้อน คือ หนี้ที่ยื่นยฟ้อง่อศาลปกครองกลาง 11,811 ล้านบาท , หนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าตั้งแต่ พ.ย. 2565 ถึง มิ.ย.2567 วงเงิน 13,513 ล้านบาท และหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าตั้งแต่เดือน มิ.ย.2567 ถึงครบสัญญาในปี 2585

โจทย์ใหญ่เมืองเพื่อขนส่งสาธารณะ

นโยบายสนับสนุนการเดินทางสาธารณะ กรุงเทพมหานครมีนโยบายพัฒนาป้ายรถเมล์มีข้อมูลและสว่างปลอดภัยทุกป้าย จากก่อนหน้านี้กรุงเทพฯ มีป้ายรถเมล์ประมาณ 5,000 ป้าย และมีเพียง 600 ป้ายเท่านั้นที่มีการพัฒนารูปแบบป้ายให้มีข้อมูลของรถเมล์ บอกเส้นทางเดินรถเมล์อย่างชัดเจน และมีหลายป้ายยังขาดแสงส่องสว่าง

 

ขณะที่การสรุปผลงานครบรอบ 2 ปี ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือน พ.ค.2567 นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศยืนยันถึงการทำงานในช่วง 2 ปี สุดท้าย จะดำเนินการให้คนกรุงเทพฯ จะเดินทางสะดวกขึ้นด้วยบริการป้ายรถเมล์ดิจิทัลที่จะพัฒนาเพิ่ม 500 ป้าย การปรับปรุงศาลารถเมล์ 300 หลัง และจะมีการติดตั้งจอดิจิทัลในศาลาที่พักผู้โดยสารอีก 200 หลัง

Bangkok health zoning ยังไม่เกิด

นโยบายสาธารณสุขมีเป้าหมายยกระดับระบบสุขภาพปฐมภูมิและเครือข่ายสาธารณสุข ด้วยการยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) เพิ่มการรักษา เพิ่มเวลา เพิ่มทรัพยากร เพื่อให้บริการประชาชนได้เพิ่มมากขึ้น 

ผ่านมาแล้ว 2 ปี สิ่งเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้น ศบส.หน่วยบริการปฐมภูมิที่ควรมีบทบาทดูแลรักษาสุขภาพคนกรุงให้เหมือน รพ.ชุมชนของคนต่างจังหวัด ยังไม่ยกระดับเป็นหน่วยให้บริการตามสิทธิ์บัตรทอง 30 บาท ให้ประชากรในพื้นที่ได้เต็มศักยภาพ และและยังมีหน่วยบริการประจำตามสิทธิ์ไม่พอ 

ส่วนการแก้ปัญหาความไม่คล่องตัวในการเข้ารับบริการหรือส่งต่อผู้ป่วยมีการขับเคลื่อนนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เชื่อมโยงไร้รอยต่อ หรือ “Sandbox ระบบสุขภาพ กทม.” ซึ่งมีเพียง “ดุสิตโมเดล” และ ”ราชพิพัฒน์โมเดล” ที่เป็นต้นแบบบูรณาการหน่วยบริการปฐมภูมิ ภาคีเครือข่าย และภาคประชาชน ทำให้ยังไม่เห็นภาพใหญ่ของ “Bangkok health zoning” ทั่วกรุงเทพฯ

 

ผังเมือง กทม.ประชาพิจารณ์ 2 ปี ไม่จบ

ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปี พ.ศ.2556 ถูกต่ออายุใช้งานมากว่า 10 ปี ทั้งที่มีอายุใช้งานจริง 5 ปี โดยร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ที่ทำร่วมกันทั้งสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปี 2564 ฟังความเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อออกแบบผังเมืองที่ทันสมัยและรองรับการการพัฒนาเมือง 

สุรเชษฐ กองชีพกรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ จำกัด กล่าวว่า 10 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ และปริมณฑล เปลี่ยนแปลงมาก โดยเฉพาะการคมนาคมและรถไฟฟ้า และโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลต่อการพัฒนาเมือง ดังนั้น ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครที่จะประกาศใหม่ควรส่งเสริมศักยภาพทำเลและไม่เพิ่มข้อจำกัดในการพัฒนาในอนาคต

ดังนั้น กำหนดการณ์เดิมที่จะประกาศบังคับใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครในเดือน พ.ย.2568 อาจเลื่อนออกไปอีกจึงรอความชัดเจนจากกรุงเทพมหานครว่าจะมีการบังคับใช้เมื่อไหร่

ถอดบทเรียนน้ำท่วมรับมือโลกร้อน

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สรุปการทำงานรอบ 2 ปี โดยถอดบทเรียนน้ำท่วมกรุงเทพฯ ในปี 2565 พบจุดสำคัญที่ต้องแก้ไข 737 จุด และแก้ไขแล้ว 370 จุด และจะแก้ไขอีก 190 จุด ในปี 2567 ส่วนที่ต้องดำเนินการต่อครอบคลุมการทำท่อเชื่อมเร่งระบายน้ำ ก่อสร้างบ่อสูบน้ำและลอกท่อระบายน้ำ อาทิ การปรับปรุงระบบสูบน้ำ ถ.รัชดาภิเษก

ชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาครัฐต้องเตรียมรับมือปริมาณน้ำฝนที่อาจสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยลอกคลองหรือกำจัดขยะและวัชพืชในคลองและท่อระบายน้ำ รวมถึงการบำรุงรักษาบานประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำให้สมบูรณ์มากที่สุด และปรับปรุงคลองรัฐโพธิ์ให้พร้อมรับน้ำช่วงหน้าฝนเพื่อปกกันน้ำท่วมในอนาคต

อุปสรรค “กรุงเทพฯ” สมาร์ทซิตี้

ปี 2565 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกาศนโยบายพัฒนากรุงเทพฯ เป็นสมาร์ทซิตี้ภายใน 4 ปี โดยวางกรอบเมืองน่าอยู่ โครงสร้างพื้นการเดินทาง ระบบอินเทอร์เน็ตและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม

กรุงเทพฯ ได้รับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์เมืองอัจฉริยะของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) มาตั้งแต่ปี 2560 แต่ยังมีปัญหาใหญ่ที่กรุงเทพมหานครแก้ไขไม่สำเร็จตามเป้าหมายปี 2567 คือ ปัญหาสายโทรคมนาคมตามเสาไฟฟ้าและสายสื่อสาร

ปัญหาดังกล่าวกรุงเทพมหานครต้องทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ซึ่งมีการให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด จัดหาผู้ประมูลสร้างท่อร้อยสายใหม่ แต่ไม่มีเอกชนรายใดมาเช่ามาเพราะราคาที่แพงกว่าการพาดสายบนเสาไฟฟ้ามาก จึงเป็นหนึ่งในอุปสรรคของเมืองอัจฉริยะ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...