อุตฯซีเมนต์ไทย-มหาดไทย ดัน 'สระบุรีแซนด์บ๊อกซ์' สู่ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ

ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทยระบุว่าได้ร่วมประกาศความร่วมมือ “MISSION 2023” ผนึกกำลังมุ่งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก 1,000,000 ตันคาร์บอน สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน สาขากระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ มาตรการทดแทนปูนเม็ด

ด้วยเจตนารมณ์ที่ชัดเจนของกระทรวงมหาดไทยในการให้ความสำคัญกับการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ที่เป็นเป้าหมายเดียวกันของนานาประเทศทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่องตามนโยบายรัฐบาล และได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ได้ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย (อบจ.) สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (สทท.) สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย (อบต.) เพื่อส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนช่วยลดโลกร้อนตามนโยบายภาครัฐ ด้วยการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกทุกงานก่อสร้าง ตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง

โดยมี สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) เป็นภาคีเครือข่ายที่สำคัญในการนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก (Low Carbon Cement) เข้าแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั้งหมด เพื่อร่วมกันลดโลกร้อน สนับสนุนยกระดับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยมุ่งสู่ Thailand Net Zero

โดยกระทรวงมหาดไทยได้รับทราบข้อมูลจาก “สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA)” ภายใต้การนำของ ดร.ชนะ ภูมี นายกสมาคมฯ ถึงการขับเคลื่อน “สระบุรีแซนด์บ๊อกซ์” ซึ่งมีที่มาจากการที่ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ในการยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี 2608

ด้วยศักยภาพของจังหวัดสระบุรีที่มีองคาพยพที่พร้อมและสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม TCMA ที่เข้มแข็ง รวมไปถึงชุมชน เกษตรกรรม และการมีส่วนร่วมในภาคครัวเรือน เรียกได้ว่า “ทำงานเป็น Parnership ร่วมกัน” จึงเป็นที่มาของการที่ TCMA ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคัดเลือกให้จังหวัดสระบุรีเป็นจังหวัดนำร่องในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ในประเทศไทย

โดยสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ จะเป็นต้นแบบที่ดีของประเทศชาติ ด้วยความพร้อมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ตลอดจนการประกอบอุตสาหกรรมที่ร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

รวมถึงเรื่องโรงเรียนไร้ขยะ โดยถอดบทเรียนความสำเร็จควบคู่การประมวลแนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติของภาคราชการ ตลอดจนการประกอบการของผู้ประกอบการด้านต่าง ๆ รวมถึงภาคเกษตรกรรม และจัดทำเป็นคู่มือ (Cookbook) ให้กับทุกจังหวัดทั่วประเทศ

เพื่อพิจารณาดำเนินการตามสภาพภูมิสังคมของพื้นที่ และสร้างความรับรู้เข้าใจ รณรงค์ให้ทุกภาคีเครือข่าย ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน/หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดได้ร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดผลสำเร็จภาพรวมทั้งประเทศ  และสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ สามารถเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่พลังงานสะอาด โดยสามารถผลิตพลังงานได้มากกว่า 100,000 เมกะวัตต์ ทั้ง ๆ ที่มีความต้องการใช้พลังงานเพียง 30,000 เมกะวัตต์ ด้วยมีพื้นที่ว่างที่สามารถใช้ในการเพิ่มพูนการผลิตพลังงานได้เป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดความยั่งยืนของชีวิตประชาชนและสิ่งแวดล้อมตลอดไป

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...