“นิปุณ แก้วเรือน” Gen Y มองโอกาสของไทยในอุตสาหกรรมอวกาศ

มอร์แกน สแตนลีย์ บริษัทให้บริการทางการเงินระดับโลก ประมาณการว่าอุตสาหกรรมอวกาศทั่วโลกมูลค่าประมาณ 3.5 แสนล้านดอลลาร์ อาจเพิ่มเป็นมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2040 ถือเป็นขุมทรัพย์เศรษฐกิจอวกาศที่เริ่มต้นหน้าประวัติศาสตร์ใหม่

โจทย์ของประเทศไทยคงไม่ใช่การสร้างยานอวกาศแข่งกับมหาอำนาจ แต่เป็นการคว้าโอกาสจากเทคโนโลยีใหม่เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนของประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง “เทคโนโลยีอวกาศ” และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง

 “นิปุณ แก้วเรือน” หรือ ต้นกล้า นิสิตปริญญาโทสาขาการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะฉายภาพ “อนาคตของประเทศไทยในอุตสาหกรรมอวกาศ” อ้างอิงข้อมูลจากการวิจัยคาดการณ์อนาคต (foresight research) และจะขึ้นเวทีนำเสนอข้อมูลในงาน อว.แฟร์ วันที่ 22-28 ก.ค.นี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

เส้นทางอาชีพต้องชัดเจน

จากการศึกษา นิปุณ ตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจัยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอวกาศของไทย ประกอบด้วย 3 ภาคส่วนคือ ภาคการศึกษาและการวิจัย ภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐ

โดยภาคการศึกษาจะต้องสร้างหลักสูตร/องค์ความรู้ใหม่ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้หรือภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนในอุดมศึกษาสามารถตอบโจทย์ได้ดี โดยกระทรวง อว.มีระบบที่ช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถเชื่อมโยงและรับโจทย์วิจัย (ซีเนียร์โปรเจค) จากภาคธุรกิจมาส่งต่อให้นักศึกษา ทำให้องค์ความรู้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ตรงนี้สำคัญเพราะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นเส้นทางอาชีพในอุตสาหกรรมอวกาศที่ชัดเจนขึ้น เมื่อเทียบกับในอดีต เด็กไม่สนใจเรียนด้านอวกาศ เพราะไม่รู้ว่าเรียนมาแล้วจะไปทำงานอะไร ที่ไหน

“เยาวชนที่เลือกเรียนด้านการบินและอวกาศ มีความมั่นใจ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังทำอยู่ และที่สำคัญคือมีแรงบันดาลใจในการเรียนเพื่อใช้ความเชี่ยวชาญที่ตนเองเรียนมากับงานที่ทำได้อย่างเต็มที่

ต้องยอมรับครับว่าปัจจุบันเยาวชนไทยที่เรียนในสายงานนี้ ยังไม่มีความเชื่อมั่นเท่าไรนัก ว่าเมื่อเรียนจบ จะได้ทำงานในสายงานอวกาศจริงๆ เพราะดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว

ความต้องการแรงงานในประเทศน้อย และเราไม่ได้มีอุตสาหกรรมเป็นของตัวเอง แต่ความเชื่อเดิมเหล่านี้จะค่อยๆถูกเปลี่ยนไปเป็นความมั่นใจเมื่อ อุตสาหกรรมอวกาศในประเทศเราเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจาก THEOS-2 เป็นก้าวแรกครับ” 

ส่วนหนึ่งจากมุมมองของ "ต้นกล้า นิปุณ" ที่ร่วมเสวนาในการแถลงข่าวความพร้อมการนำส่งดาวเทียม THEOS-2: Shaping Thailand’s Future from Space, Our Commitment โดย GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)  

ขณะเดียวกันองค์ความรู้ด้านอวกาศในไทยอยู่กระจัดกระจายในหลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัยต่างๆ จึงน่าจะมีหน่วยงานกลางที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลความรู้เหล่านี้ เพื่อช่วยกันพัฒนานวัตกรรมอวกาศ” 

ในการศึกษาซึ่งเก็บข้อมูลด้านการลงทุนยังไม่พบการลงทุนในธุรกิจอวกาศจากนักลงทุนไทย และไม่พบนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมนี้ในไทย แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีการลงทุนด้านนี้เกิดขึ้น โดยคาดว่าจะเป็นการระดมทุนในรูปแบบปิด หรืออาจจะลงทุนจาก Angel Fund

สหรัฐเป็นกรณีศึกษาที่ดีมากสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศ ตลอดระยะเวลา 60 ปีรั้งตำแหน่งผู้นำด้านนี้มาตลอดโดยให้นาซาเป็นหน่วยงานเดียวที่รับผิดชอบในโครงการอวกาศ และรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณมหาศาล

กระทั่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ขณะที่ประเทศไทยเปิดกว้างให้ภาคเอกชนลงทุนมานานแล้วอย่างไทยคมที่ทำดาวเทียมมาแล้ว 8 ดวง

“ผมมองว่าจุดสำคัญที่ทำให้คนอเมริกันตื่นตัวสูงด้านอวกาศคือ ความสำเร็จในการส่งนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ถือเป็น Public Stun สร้างความสั่นสะเทือนให้กับคนทั้งประเทศ หากไทยเราทำให้เกิดสิ่งนี้ได้ก็จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้กับอุตสาหกรรมอวกาศของเราเช่นกัน แต่ตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้น”

ไทยไม่ต้องสร้างยานอวกาศ

อุตสาหกรรมอวกาศในการศึกษาของนิปุณแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

1.เทคโนโลยีหลัก (core space technology) เช่น ดาวเทียม ยานอวกาศและโครงสร้างพื้นฐาน และ

2.เทคโนโลยีที่นำมาใช้ประโยชน์ (apply technology) ในส่วนของเทคโนโลยีหลักยังแบ่งย่อยเป็นกลุ่ม upstream ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งไปกับดาวเทียม ยานอวกาศ กิจการสำรวจ การค้นพบสิ่งใหม่ เป็นต้น และกลุ่ม downstream คือการนำเทคโนโลยีจากอวกาศนั้นกลับมาใช้ประโยชน์บนโลก เช่น การใช้ประโยชน์จากดาวเทียมสื่อสาร อุปกรณ์จีพีเอส อุปกรณ์ติดตามตัว

“จุดสำคัญคือเทคโนโลยีส่วนที่สองหรือ กลุ่ม apply technology เช่น มีการคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ช่องสัญญาณทีวีดาวเทียมที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมสื่อบันเทิง จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 11% ต่อปี เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีกลุ่มแรกที่เติบโตเฉลี่ย 7% ต่อปี 

จึงเป็นข้อสังเกตสำคัญสำหรับนักลงทุนไทยว่า ไม่ต้องถึงกับลงทุนสร้างยานอวกาศแต่ก็สามารถเติบโตในเศรษฐกิจอวกาศได้เช่นกัน”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ดีมานด์ออฟฟิศย่านซีบีดีกทม.พุ่ง! รับอานิสงส์ต่างชาติย้ายสำนักงานใหญ่

ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารหัวหน้าส่วนพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย...

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี” หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ฤดูฝน (20 พ.ค. 2567) ถึง ณ วันที่ 27 ส.ค. 2567 มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากอุท...

ถ้าจะลาออก จะ ”บอกเจ้านายยังไงดี” ให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย !?

Part.1.เรื่องธรรมดา กับ เรื่อง ไม่ธรรมดา เมื่อพนักงาน ลาออก !? เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่แต่ละที่...

เตรียมโรดทริป 'อันดามัน' เส้นทางใหม่ ถนนเลียบชายฝั่ง เชื่อม 6 จังหวัดยอดฮิต !

โครงการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วงจังหวัดระนอง – สตูล หนึ่งใ...