เด็กไทยในอนาคต

เพราะดูเหมือนระบบการศึกษาของเราจะไม่เอื้อต่อการสร้างเด็กรุ่นใหม่ให้พร้อมรับมือกับเรื่องนี้เท่าที่ควร

แม้จะเริ่มเห็นการปรับแนวทางการเรียนรู้ใหม่ๆ ด้วยโครงการที่น่าสนใจมากขึ้น แต่นั่นก็ยังเป็นส่วนน้อยและส่งผลต่อเด็กนักเรียนเพียงบางกลุ่ม ในขณะที่นักเรียนของไทยส่วนใหญ่ยังคงต้องคร่ำเคร่งเรียนรู้อย่างเอาเป็นเอาตายเพื่อทำคะแนนสอบให้สูงมากพอที่จะเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้

ภาพที่เราเห็นอย่างชินตาจึงเป็นเด็กนักเรียนที่มีตารางเรียนอัดแน่นตั้งแต่วิชาเรียนปกติในตอนกลางวัน และเรียนพิเศษต่อในตอนเย็นถึงค่ำ และยังต้องกวดวิชาต่อในวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งพ่อแม่ต่างก็สนับสนุนอย่างเต็มที่เพราะเชื่อว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำคืออนาคตที่ดีของลูก

แต่ในเวลาเดียวกัน เราก็จะเห็นภาพอนาคตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญสาขาใหม่ๆ ถือกำเนิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งความรู้ใหม่ๆ เหล่านี้แทบไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย ส่งผลให้เด็กที่เรียนจบมาตกงานเพราะไม่มีทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคต ในขณะที่บางคณะบางสาขาวิชาที่ปรับตัวได้ดีก็ผลิตคนได้ไม่มากพอ

ความไม่สมดุลเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญที่เราหนีไม่พ้นในอนาคตอันใกล้ เพราะค่านิยมในระบบการศึกษาแบบเดิมจะทำให้เด็กจำนวนมากเหนื่อยล้าและหมดไฟในการเรียนรู้ จนท้ายที่สุดแม้จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้ แต่ก็ไม่คิดที่จะเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ๆ พัฒนาตัวเองเพิ่มเติม

ท้ายที่สุดเรียนจบออกมาก็จะได้ความรู้ทางวิชาการที่เกิดจากการรวบรวมเนื้อในการเรียนจากอดีต แต่ไม่มีทักษะเพียงพอที่จะไปทำงานในอนาคต และเมื่อยุคของปัญญาประดิษฐ์มาถึง งานที่เขาอยากทำก็อาจเป็นงานที่ง่ายเกินไปจนสามารถให้ระบบปัญญาประดิษฐ์จัดการแทนได้

ลองคิดดูว่าถ้าบ้านเราเน้นให้เด็กได้เรียนรู้อยู่กับปัจจุบันและอนาคต ไม่ยึดติดกับค่านิยมที่ต้องแก่งแย่งกันทำคะแนนสูงๆ เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย เด็กรุ่นใหม่ก็จะมีเวลามากขึ้นในการค้นหาตัวเองและได้ลองทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้รู้ว่าตรงกับความชอบของตัวเองไหม

เมื่อเด็กรักการเรียนรู้ เขาก็จะเติบโตไปในแนวทางที่ต้องการและเปิดใจรับความรู้ใหม่ๆ เพื่อยกระดับตัวเองอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งเรื่องปัญญาประดิษฐ์ที่เขาย่อมเข้าใจและใช้งานมันได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงรู้วิธีปรับแต่งกลไกให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงความต้องการมากที่สุด

 

เด็กกลุ่มนี้จะไม่มีวันถูกเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่เพราะเขาจะอยู่ในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่เพียงแค่ปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น แต่เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นในอนาคตเขาก็พร้อมที่จะเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับมันได้อีกเสมอ

การเน้นแต่ความรู้ทางวิชาการที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงทำให้เด็กจำนวนมากถูกตีตราว่าเป็นเด็กไม่ฉลาด​ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วเขาอาจจะฉลาดมากกว่าที่เราคิด ​แต่ขาดครูที่จะกระตุ้นให้เขาเปิดรับการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่มากกว่า ซึ่งท้ายที่สุดแล้วถ้าระบบการศึกษาไม่มีการเปลี่ยนแปลง เด็กกลุ่มนี้ก็จะขาดโอกาสและโตไปอย่างไม่มีศักยภาพเท่าที่ควรจะเป็น

การศึกษาที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตจึงต้องเอื้อให้เด็กมีความคิดเป็นของตัวเอง และเปิดโอกาสให้เขาได้ทดลองสิ่งที่อยากทำเพื่อให้ค้นหาตัวเองให้เจอ ซึ่งถ้าทำได้เด็กจะมีวินัยในการเรียนรู้อย่างสมำเสมอพร้อมรับกับทุกกระแสการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมาในอนาคต

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ดีมานด์ออฟฟิศย่านซีบีดีกทม.พุ่ง! รับอานิสงส์ต่างชาติย้ายสำนักงานใหญ่

ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารหัวหน้าส่วนพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย...

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี” หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ฤดูฝน (20 พ.ค. 2567) ถึง ณ วันที่ 27 ส.ค. 2567 มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากอุท...

ถ้าจะลาออก จะ ”บอกเจ้านายยังไงดี” ให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย !?

Part.1.เรื่องธรรมดา กับ เรื่อง ไม่ธรรมดา เมื่อพนักงาน ลาออก !? เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่แต่ละที่...

เตรียมโรดทริป 'อันดามัน' เส้นทางใหม่ ถนนเลียบชายฝั่ง เชื่อม 6 จังหวัดยอดฮิต !

โครงการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วงจังหวัดระนอง – สตูล หนึ่งใ...