'กัลฟ์' หวั่น 'รีเสิร์ชมาจิ้น' เหลือ 7-8% แนะ 'พลังงาน' รับมือใช้ไฟพีค

นายรัฐพล ชื่นสมจิตต์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับ (ร่าง) แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 (PDP 2024) ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ในส่วนการใช้ไฟฟ้าของประชาชนในปัจจุบันจะเห็นว่ามีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ในช่วงกลางคืนเพิ่มสูงขึ้น โดยร่างแผน PDP ใหม่มองว่ามีความเหมาะสมแล้วที่จะมีความรอบคอบในเรื่องของกำลังสำรองไฟทั้งเวลากลางวันและกลางคืน 

นอกจากนี้ รีเสิร์ชมาจิ้นปัจจุบันก็ไม่ได้เยอะอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะการใช้ไฟฟ้าพีคของประเทศไทยไปเกิดในช่วงเวลากลางคืน แต่ความจริงแล้วไฟฟ้าพีคก็เป็นเวลากลางวันเหมือนที่ผ่านมา เพราะมาเนื่องจากปัจจุบันทั้งภาคประชาชนและภาคอุตสาหกรรมหันมาติดตั้งโซลาร์เซลล์เพิ่มมากขึ้น จึงเชื่อว่าหากนับจำนวนเมกะวัตต์ในเวลากลางวันก็น่าจะเกิน 40,000 เมกะวัตต์ไปแล้ว

ทั้งนี้ ปัจจุบันการติดโซลาร์เซลล์เพิ่มมากขึ้น จึงไม่เห็นการใช้ไฟฟ้าพีคของ 3 การไฟฟ้า (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. และการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน.) อีกทั้งการใช้ไฟฟ้าพีคประเทศไทยอยู่ในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง เขื่อนผลิตไฟฟ้าได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นตัวเลขรีเสิร์ชมาจิ้น 30% จึงใช้ไม่ได้แล้ว ซึ่งเวลากลางคืนอาจจะหล่นมาเหลือแค่ 7-8% ก็ไม่มีการพูดถึงกัน จึงต้องรอว่าดูปีหน้าจะแก้ไขอย่างไร 

นอกจากนี้ ในช่วงปี 2568 จะเริ่มนำไฟจากพลังงานหมุนเวียนในโครงการในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงของสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดรับซื้อตามโครงการจำนวน 175 ราย ปริมาณเสนอขาย 4,852.26 เมกะวัตต์ สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรมของทั้งโครงการกว่า 5,000 เมกะวัตต์ จะเริ่มทยอยขายไฟเข้าระบบ ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System: BESS) มาช่วย รวมทั้งโรงไฟฟ้าหินกองซึ่งต้องยอมรับว่าคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่เข้าใจธุรกิจ 

รายงานข่าว ระบุว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมา ยอดใช้ไฟฟ้าพีคสูงสุดอยู่ที่ 36,792.1 เมกะวัตต์ ในเวลา 22.24 น. และได้ทำลายสถิติไฟฟ้าพีคของประเทศเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2566 เวลา 21.41 น. ที่ 34,826.5 เมกะวัตต์ แล้ว

สำหรับแผนPDP ใหม่โดยจะมีพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาความมั่นคง เพราะด้วยเทคโนโลยีเปลี่ยน ใช้พื้นที่เล็กลง ความปลอดภัยสูง ปลายแผนขนาดเบื้องต้นที่ 600 เมกะวัตต์นั้น สิ่งสำคัญคือการคุยกับชุมชนอย่างไรให้เข้าใจ 

อย่างไรก็ตาม หากภาครัฐจะลองทำพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) เอกชนก็ไม่ขัดข้อง โดยภาครัฐอาจจะใช้วิธีการศึกษากรณีของต่างประเทศแล้วนำมาปรับใช้ในประเทศไทย ซึ่งเท่าที่เห็นส่วนมากจะเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ ส่วนขนาดเล็ก ๆ จะเป็นในรูปแบบของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่ใช้ในเรือดำน้ำ ที่ใช้มานานกว่า 40 ปีแล้ว แต่ไม่ได้นำมาใช้ในรูปแบบของโรงไฟฟ้า 

"กัลฟ์ก็เห็นด้วยกับนโยบายภาครัฐที่จะให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่จะต้องศึกษาอย่างจริงจังและเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชน" นายรัฐพล กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...