สิงคโปร์ เล็ง ร่วมไทยพัฒนาความมั่นคงทางด้านอาหาร

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยภายหลัง การเข้าพบของนายสแตนเลย์ โลว์ ปลัดกระทรวงความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมของสิงคโปร์ (Mr. Stanley Loh Permanent Secretary, Ministry of Sustainability and the Environment) ว่า ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนนโยบายขับเคลื่อน ภาคเกษตรร่วมกัน โดยเฉพาะด้านความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ซึ่งฝ่ายสิงคโปร์มีแผนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน Singapore Green Plan 2030 เป็นวาระระดับชาติที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการพัฒนาพื้นที่สีเขียว ส่วนฝ่ายไทยมีแนวทางการดำเนินงาน BCG Model ที่มีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนภาคเกษตรกรรมให้บรรลุ 3 สูง

(3 Highs) ได้แก่ 1) ประสิทธิภาพสูง (High Efficiency) โดยการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เพิ่มผลผลิต

2) การผลิตทางการเกษตรที่มีมาตรฐานสูง (High Standard) โดยการนำระบบการผลิตที่ยั่งยืนมาใช้เพื่อให้ได้คุณภาพสูงสุด

และ 3) อาชีพที่มีรายได้สูง (High Income) มุ่งเน้นการสร้างรายได้ด้วยการผลิตสินค้าเกษตรระดับพรีเมียมและหลากหลาย โดยเน้นคุณภาพสินค้าซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคาตลาด

นอกจากนี้ ฝ่ายสิงคโปร์มีความสนใจที่จะจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ เกี่ยวกับด้านเกษตรกับฝ่ายไทยในหลายสาขา อาทิ การศึกษาดูงานด้านการเพาะเลี้ยงปลากะพง การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่อง Climate change และการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร (Carbon Credit) เป็นต้น

นับเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือเพื่อพัฒนาความร่วมมือภาคการเกษตรระหว่างกัน ซึ่งประเทศไทย มีสินค้าที่มีความหลากหลาย มีคุณภาพที่ได้มาตรฐานสากลและปลอดภัย อาทิ สินค้าด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ รวมถึงความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการทำฝนเทียม เพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน มลพิษ และหมอกควัน ฝ่ายไทยได้เตรียมความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อยกระดับและพัฒนาภาคเกษตรของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล อีกด้วย”

ทั้งนี้ สาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 10 ของไทย โดยระหว่างปี 2564-2566 ภาพรวมการค้าระหว่างไทยกับสิงคโปร์มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 598,580 ล้านบาท จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยปีละ 329,652 ล้านบาท และมูลค่า การนำเข้าเฉลี่ยปีละ 268,928 ล้านบาท ซึ่งสินค้าส่งออกของไทยไปสิงคโปร์ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ไก่ชนิดแกลลัสโดเมสติกัสปรุงแต่ง เช่น แกงไก่บรรจุกระป๋อง 2) ข้าว เช่น ข้าวเหนียว ข้าวหอมมะลิ 3) น้ำตาลที่ได้จากอ้อยหรือหัวบีตอื่น ๆ 4) นมและครีม และ 5) สตาร์ชทำจากมันสำปะหลัง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...