‘ไมโครพลาสติก’ อยู่ที่ไหน ในร่างกายบ้าง?

ไมโครพลาสติก” ปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมทุกที่ในโลก ตั้งแต่บนยอดเขาเอเวอเรสต์ ยันใต้ทะเลลึก หรือแม้แต่ในขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ พลาสติกเหล่านี้เข้าสู่ในร่างกายของเราผ่านการสูดดูมและการบริโภค ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีงานวิจัยพบไมโครพลาสติกปะพบอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์เสมอ ซึ่งปัจจุบันอนุภาคจิ๋วเหล่านี้ได้แพร่ไปสู่เกือบทุกส่วนของร่างกาย

 

1. เลือด (2022)

การศึกษาที่ได้รับทุนวิจัยจากองค์การเพื่อการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพแห่งชาติเนเธอร์แลนด์และ Common Seas กลุ่มทำงานเพื่อลดมลพิษจากพลาสติก ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Environment International เมื่อปี 2022 พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดี 17 คน จาก 22 คน มีอนุภาคพลาสติกใน “เลือด” โดยมีอนุภาคขนาดเล็กถึง 700 นาโนเมตร

พลาสติกที่พบในเลือดมีด้วยกัน 5 ชนิด เช่น โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต หรือที่เรียกว่า PET ใช้ในการผลิตขวด และโพลีเอทิลีน วัสดุใช้ลผิตบรรจุภัณฑ์อาหาร 

ปัจจุบันนักวิจัยสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ไมโครพลาสติกเข้าสู่กระแสเลือดจนทำให้อนุภาคเหล่านี้เคลื่อนที่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
 

2. สมอง (2022)

การศึกษาโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวตุรกีเมื่อปี 2022 พบว่ามีไมโครพลาสติกอยู่ในเซลล์สมอง ซึ่งเป็นเรื่องที่นักวิจัยเป็นกังวล เพราะโดยปรกติแล้ว สมองจะมี “ตัวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง” หรือ BBB (Blood-brain barrier ตัวย่อ BBB) ทำหน้าที่คัดกรองไม่ให้สารต่าง ๆ ผ่านเข้าไปทำอันตรายต่อสมอง

มีความเป็นไปได้ที่ไมโครพลาสติกในเซลล์สมอง จะทำให้เกิดโรคสมองต่าง ๆ เช่น โรคสมองเสื่อม โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคอัลไซเมอร์ หรือไม่ รวมถึงเป็นต้นตอที่ทำให้เกืดเลือดออกในสมองและโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่

3. น้ำนม (2022)

วิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Polymers ในปี 2022 พบไมโครพลาสติกในน้ำนมแม่เป็นครั้งแรก โดยไมโครพลาสติกที่พบ ประกอบด้วยโพลีเอทิลีน พีวีซี และโพลีโพรพีลีน ทั้งหมดพบได้ในบรรจุภัณฑ์ ทำให้เกิดความกังวลในหมู่นักวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับทารก 

จากการเก็บตัวอย่างน้ำนมแม่จากมารดาที่เพิ่งคลอดลูกได้ 1 สัปดาห์และมีสุขภาพดี 34 ราย ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี พบว่ามี 75% ที่มีพลาสติกปะปนอยู่ในน้ำนม

 

4. ตับ (2022)

ทีมนักวิจัยสหรัฐทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อตับจากอาสาสมัคร 17 ตัวอย่าง ทั้งผู้ป่วยโรคตับแข็งและผู้ที่มีสุขภาพดี ในปี 2022 พบว่า มีไมโครพลาสติกอยู่ในเนื้อเยื่อตับของมนุษย์ ซึ่งมีโพลีเมอร์ที่แตกต่างกัน 6 ชนิดในตับของบุคคลที่เป็นโรคตับแข็ง แตกต่างจากคนที่มีสุขภาพดีที่มีไม่ครบทุกชนิด

ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่การมีไมโครพลาสติกสะสมอยู่ในตับ จะเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคตับแข็งและโรคอื่น ๆ เกี่ยวกับตับ

 

5. รก  (2023)

การศึกษาของ แมทธิว แคมเปน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพนิวเม็กซิโก ที่ทำการวิเคราะห์ตัวอย่าง “รก” 62 ตัวอย่างโดยละเอียดพบว่า ทุกตัวอย่างรกมีไมโครพลาสติกปะปนอยู่ในความเข้มข้นตั้งแต่ 6.5-790 ไมโครกรัมต่อเนื้อเยื่อหนึ่งกรัม  

โพลีเมอร์ที่พบมากที่สุดคือโพลีเอทิลีน คิดเป็น 54% ของพลาสติกทั้งหมดที่ตรวจพบ ตามมาด้วยโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) และไนลอน มีสัดส่วนเท่ากันประมาณ 10% ของทั้งหมด นอกจากนี้จะเป็นส่วนผสมของโพลีเมอร์อื่น ๆ อีก 9 ชนิด

หากสามารถพบไมโครพลาสติกในเนื้อเยื่อรก ที่ใช้เวลาก่อตัวและเจริญเติบโตภายในระยะเวลาเพียงแปดเดือน แสดงว่าไมโครพลาสติก็สามารถสะสมอยู่ในอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจจะสะสมอยู่ชั่วชีวิตของเรา 

6. ปอด (2024)

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ ใช้พลศาสตร์ของไหลและอนุภาคเชิงคำนวณ (CFPD) ในการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเราหายใจเอาไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกาย และเมื่อมันเข้าไปอยู่ในร่างกายของเราแล้วจะไปส่วนใด  

การศึกษาพบว่ารูปแบบการหายใจที่ต่างกันจะทำให้ไมโครพลาสติกเหล่านี้เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจแตกต่างกัน การหายใจเร็วจะทำให้อากาศไหลผ่านจมูกและลำคออย่างรวดเร็ว อาจทำให้อนุภาคพลาสติกขนาดใหญ่เข้าไปติดในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ว่าจะเป็นโพรงจมูก กล่องเสียง 

ขณะที่ การหายใจช้าลงจะทำให้อนุภาคมีขนาดเล็กลง โดยเฉพาะนาโนพลาสติกสามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจได้ลึกมากขึ้น อาจเข้าไปถึงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อนของปอด เช่น เยื่อหุ้มปอด ถุงลมได้  

อ่านต่อ: 

  • สุดช็อก! นักวิจัยพบ ‘ไมโครพลาสติก’ ใน ‘รกเด็ก’
  • ‘ไมโครพลาสติก’ ปนเปื้อนทุกลมหายใจ ซึมลึกเข้าทำลาย ‘ปอด’
  • วิจัยพบคนที่มี ‘ไมโครพลาสติก’ ในร่างกาย  เสี่ยง ‘โรคหัวใจ’ ตายไวขึ้น 4.5 เท่า 
  • พบ ‘ไมโครพลาสติก’ ในอัณฑะมนุษย์ เสี่ยงก่อโรคระบบสืบพันธุ์ในเพศชาย
  • พบ ‘ไมโครพลาสติก’ ใน ‘อสุจิ’ สาเหตุสเปิร์มลดลง สืบพันธุ์ยาก

 

7. หัวใจและหลอดเลือด (2024)

งานวิจัยของ ดร.ราฟฟาเอล มาร์เฟลลาจากมหาวิทยาลัยกัมปาเนีย ในอิตาลี พบว่า 58% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาหลอดเลือดแดงคาโรติด ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ใบหน้า และลำคอ มีชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กทั้งระดับไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบโพลีเอทิลีน (PE) และโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ปะปนอยู่ในหลอดเลือด  

จากการติดตามผลหลังจากผ่านไป 34 เดือน พบว่า 20% ของผู้ที่มีพลาสติกในหลอดเลือดแดงมีอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือเสียชีวิตจากสาเหตุใด ๆ สูงกว่าคนที่ไม่มีพลาสติกในร่างกายถึง 4.5 เท่า โดยไม่รวมพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของแต่ละบุคคล  

นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบว่าผู้ป่วยที่มีพลาสติกในไขมันภายในหลอดเลือดแดง และอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง และเสียชีวิตได้มากกว่าด้วยเช่นกัน

 

8. อัณฑะ (2024)

นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาอัณฑะของมนุษย์ 23 ตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากผู้เสียชีวิตและผ่านการชันสูตรพลิกศพในปี 2559 ที่เป็นผู้ชายมีอายุตั้งแต่ 16-88 ปี ขณะที่เสียชีวิต พบว่า ทุกตัวอย่างมีไมโครพลาสติกอยู่ในทุกตัวอย่าง โดยพบพลาสติกมากถึง 12 ชนิด  

อัณฑะของมนุษย์มีความเข้มข้นของพลาสติกสูงถึง 330 ไมโครกรัมต่อเนื้อเยื่อหนึ่งกรัม ดยโพลีเอทิลีน สารที่ใช้ในถุงพลาสติกและขวดพลาสติก เป็นสารที่พบมากที่สุดในอัณฑะ รองลงมาเป็นสารพีวีซี

การที่พบไมโครพลาสติกในอัณฑะจึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นพิเศษ เพราะสมองและอัณฑะ เป็นอวัยวะเพียงสองอย่างเท่านั้น ที่ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อบางส่วนขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมทะลุผ่านเข้าไปได้

 

9. อสุจิ (2024)

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชิงเต่า ค้นพบไมโครพลาสติกขนาดเล็กที่ใช้ในการผลิตแผ่นโฟมและท่อพีวีซี และทำให้เกิดโรคมะเร็ง 8 ชนิด ในตัวอย่างน้ำอสุจิของผู้ชายที่เข้าทดสอบทั้ง 36 คน 

อสุจิตัวที่มีไมโครพลาสติกปนอยู่จะสามารถเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าปรกติ และอาจทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย แถมทำให้คุณภาพของอสุจิลดลง ทีมวิจัยระบุว่าไมโครพลาสติกอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อัตราการเจริญพันธุ์ทั่วโลกลดลง
 

ที่มา: Bloomberg, The Guardian, TRT WORLD

กราฟิก: ณัชชา พ่วงพี

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...