10 เรื่องต้องรู้ Green Chongqing การพัฒนานครฉงชิ่ง สู่เมืองสีเขียว

หากพูดถึงนครฉงชิ่ง (Chongqing) มหานครที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีเนื้อที่ราว 82,400 ตารางกิโลเมตร เกือบเท่ากับภาคกลางของประเทศไทย มีประชากรกว่า 32 ล้านคน หลายคนคงทราบกันดีว่า มหานครแห่งนี้เป็นเมืองเศรษฐกิจทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

 

แต่รู้หรือไม่ว่าเมื่อ 10 ปีก่อน เมืองเศรษฐกิจของแผ่นดินใหญ่แห่งนี้ เคยประสบปัญหามลพิษอากาศอย่างมาก มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรม การเผาไหม้ถ่านหิน และเชื้อเพลิงชีวภาพ ทำให้รัฐบาลเร่งออกนโยบายทุกทางเพื่อแก้ปัญหา ที่รู้จักกันก็คือ สงครามปกป้องท้องฟ้าสีคราม (Blue sky defense battle) รวมถึงนโยบายการส่งเสริมพลังงานสะอาด

 

เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมด้านพลังงานของเมืองฉงชิ่ง ร่วมมือกันจัดการประชุม และศึกษาดูงานด้านการพัฒนาเมือง โดยได้เชิญนักวิชาการจาก สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ซึ่งมี เบญจมาส โชติทอง และ วิลาวรรณ น้อยภา  เผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Green Chongqing ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง ดังนี้ 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ‘วันคุ้มครองโลก 2024’ โลกร้อนแก้ได้ มุ่งให้ความรู้ - พฤติกรรมเด็กรุ่นใหม่
  • ‘ปุ๋ยจากศพ’ วิธีจัดการร่างในวันไร้ลมหายใจ เทรนด์ใหม่ในสหรัฐ
  • ไฮโดรเจนพัฒนารวดเร็วในญี่ปุ่น เข้าใกล้การใช้งานในวงกว้างมากขึ้น

 

10 เรื่องต้องรู้ "นครฉงชิ่ง" สู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

1. ภูมิทัศน์สวยงาม ต้นไม้ใหญ่ และพื้นที่สีเขียวสองข้างถนนถูกจัดการเป็นอย่างดี สัมผัสได้ตั้งแต่ออกเดินทางจากสนามบินเจียงเป่ย (Jiangbei) ไปตลอดทาง

2. บทบาทองค์กรทางสังคม (Social organizations) ซึ่งเป็นคำที่จีนใช้เรียกองค์กรพัฒนาเอกชนหรือ NGO ได้เข้ามามีส่วนช่วยเฝ้าระวังมลพิษ และทำงานร่วมกับบริษัทเอกชนมากขึ้น รวมทั้งกระตุ้นเยาวชน และสังคมให้เรียนรู้ และปกป้องธรรมชาติ เช่น กรณีศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติ การอนุรักษ์นกอินทรี

3. ขยายชุมชนเกษตรอินทรีย์ โดยนำองค์ความรู้สมัยใหม่เข้ามาใช้ในการทำเกษตร มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตชนบท สร้างงานให้กับคนในท้องถิ่น โดยได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ อย่างกรณีเมืองดาชู (Dashu Town)

4.ป้ายทะเบียนรถยนต์แยก 2 สี ชัดเจน ให้เข้าใจว่าป้ายทะเบียนสีเขียวคือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV (Electricity vehicle) ซึ่งมีประมาณ 20% ในเมืองนี้ และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนป้ายทะเบียนสีน้ำเงินคือ รถที่ใช้เชื้อเพลิงแบบเดิม

5. พัฒนาเทคโนโลยีระบบชาร์จสำหรับรถยนต์ EV และขยายจุด/สถานีชาร์จแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ EV ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในเขตเมือง แม้ยังมีจำกัดในเขตพื้นที่ชนบท

6. สถานีสลับแบตเตอรี่สำหรับรถแท็กซี่ EV ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที น่าตื่นเต้นมากสำหรับยุคนี้ (ต่อไปน่าจะขยายเพิ่ม และพบเห็นได้ทั่วไป)

 

7. เกิดธุรกิจสตาร์ตอัปใหม่ๆ ด้านธุรกิจพลังงานสะอาด โดยการสนับสนุนจากรัฐบาล บางบริษัทเพิ่งก่อตั้งได้ 4-5 ปี สามารถขยายงานได้แบบก้าวกระโดด

8. การให้บริการแบบครบวงจรของบริษัทผลิตอุปกรณ์ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งแต่การขออนุญาตติดตั้ง การติดตั้ง ระบบการติดตามแบบเรียลไทม์ บริการทำความสะอาดแผงโซลาร์ ฯลฯ แต่ก็ยังขาดความรับผิดชอบเรื่องการจัดการซากอุปกรณ์หลังใช้งาน

9. พัฒนาระบบเก็บพลังงาน (Energy storage) ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับอุตสาหกรรม ครัวเรือน และเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานนอกสถานที่ เช่น การแคมปิ้ง

10. ความร่วมมือวิจัยด้านพลังงาน เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของนักวิชาการ ช่วยขับเคลื่อนการลงทุนของภาคเอกชน เช่นที่ Chongqing University มีงานวิจัยเกี่ยวกับพลังงานสะอาด การรีไซเคิลวัสดุ พลังงานจากขยะ

 

 

นักวิชาการ TEI เล่าต่อว่า ยังมีอีกหลายเรื่องที่นครฉงชิ่ง และรัฐบาลจีนเร่งส่งเสริมพลังงานสะอาดเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2060 ด้วย เห็นได้ชัดจากการเดินหน้าส่งเสริม และกระตุ้นภาคเอกชนปรับตัวด้านธุรกิจพลังงาน

 

ซึ่งหากเปรียบกับประเทศไทย ที่ตั้งเป้าจะบรรลุเป้าหมายนี้ภายในปี 2030 ก่อนจีน แต่มาตรการด้านพลังงานสะอาดของเรายังมีน้อย นอกจากนี้ ได้ทราบจากภาคเอกชนในการประชุมที่ฉงชิ่งเป็นเสียงเดียวกัน ว่าความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านพลังงานสะอาดทุกวันนี้ เป็นเพราะนโยบาย และมาตรการส่งเสริมจากรัฐบาล

 

อย่างไรก็ดี แม้การพัฒนาด้านพลังงานสะอาดของจีนรุดหน้าไปมาก ได้มีการพัฒนาโครงสร้างทางพลังงานที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิลกระจายทั่วประเทศ แต่ปัจจุบันจีนยังใช้แหล่งพลังงานส่วนใหญ่จากถ่านหินกว่า 50% และน้ำมันดิบ เกือบ 20%

 

ขณะเดียวกัน จีนมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ซึ่งสังคมคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด มีการพัฒนาเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ทำให้เกิดการบริโภค และการใช้พลังงานสูงขึ้น ซึ่งที่นักวิชาการจีนให้ข้อมูลว่า รัฐบาลจีนจะยังคงผลิตพลังงานจากแหล่งฟอสซิลต่อไป เพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศเอาไว้

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...