22 มีนาคม วันอนุรักษ์น้ำโลก ตระหนักปัญหาขาดแคลนน้ำ สู่การแย่งชิงน้ำในอนาคต

22 มีนาคม ของทุกปีตรงกับ "วันอนุรักษ์น้ำโลก (World Water Day)" เพื่อระลึกถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในหมู่มวลมนุษยชาติ ในเรื่องการอนุรักษ์น้ำ และการพัฒนาแหล่งน้ำ

แม้ว่าพื้นที่ 2 ใน 3 ของโลกจะเป็นน้ำ แต่ส่วนใหญ่เป็นน้ำเค็มที่พบได้ในทะเล และมหาสมุทร คิดเป็นร้อยละ 97.5 ส่วนอีกร้อยละ 2.5 เป็นน้ำจืด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งบริเวณแอนตาร์กติกา และกรีนแลนด์ รวมไปถึงน้ำใต้ดินที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ด้วย 

 

แหล่งน้ำจืดที่นำมาดื่มกิน และนำมาใช้ประโยชน์ จึงได้มาจากทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ และลำธาร ซึ่งมีจำนวนเพียงร้อยละ 0.26 ของน้ำจืดที่มีอยู่ทั้งหมด และน้ำจืดในปริมาณดังกล่าว ยังมีส่วนหนึ่งที่อยู่ในสภาพปนเปื้อน และมีสารพิษ ต้องทำการบำบัดก่อนนำมาใช้อีกด้วย 

ปัจจุบันมีประชาชนเกือบ 1,400 ล้านคน ทั่วโลก ที่ขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับบริโภค และป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคอหิวาตกโรค ท้องร่วง ไข้รากสาดน้อย และโรคพยาธิต่างๆ เป็นต้น

 

 

ประวัติความเป็นมาของ วันอนุรักษ์น้ำโลก (World Water Day)

22 มีนาคมของทุกปีตรงกับ วันอนุรักษ์น้ำโลก มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในวันที่ 22 มีนาคม ปี 1992

โดยมีเนื้อหาสำคัญโดยตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำของมนุษย์ และตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำขึ้นได้ในอนาคต

จึงมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมที่จะเป็นแผนแม่บทให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้เฝ้าระวังทรัพยากรน้ำในประเทศนั้น ๆ แล้วสมัชชาทั่วไปแห่งสหประชาชาติก็ได้ออกประกาศให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี เป็นวัน World Water Day หรือ วันอนุรักษ์น้ำโลก

ความสำคัญของทรัพยากรน้ำ

น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ซึ่งน้ำเป็นของเหลวที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน เมื่อเราดื่มน้ำเข้าไปในร่างกายจะทำให้ร่างกายมีปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ผิวพรรณชุ่มชื้นเปล่งปลั่ง ระบบต่างๆ ภายในร่างกายทำงานได้ดีถือเป็นการช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย (Homeostasis

อีกทั้งน้ำยังเป็นตัวช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกายได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุให้เราสามารถขับปัสสาวะได้ง่ายขึ้นด้วย

 

 

ประโยชน์ทรัพยากรน้ำ

  • ใช้สำหรับการบริโภคและอุปโภค เพื่อดื่มกิน ประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ทำความสะอาด ฯลฯ
  • ใช้สำหรับการเกษตร ได้ แก่ การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลา และสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร
  • ด้านอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต ล้างของเสีย หล่อเครื่องจักร และระบายความร้อน ฯลฯ
  • การทำนาเกลือ โดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล หรือระเหยน้ำที่ใช้ละลายเกลือสินเธาว์
  • น้ำเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า
  • เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  • เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเล และแหล่งน้ำที่ใสสะอาดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของมนุษย์

 

การอนุรักษ์น้ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

ในแง่ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์น้ำมีส่วนช่วยให้วัฏจักรของน้ำเกิดขึ้นด้วยดี เพราะน้ำที่สะอาด และบริสุทธิ์จะช่วยให้ต้นไม้ และสัตว์ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วย 

อีกทั้งน้ำยังเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิต ซึ่งหลายชีวิต เช่น พวกปลาหรือพืชน้ำต่างก็อาศัยอยู่ในน้ำตั้งแต่เกิดจนตาย และสัตว์อื่นๆ หรือพืชบนบกนั้นต่างก็ต้องการน้ำเฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ พวกเขาจึงสมควรได้รับน้ำที่สะอาด และบริสุทธิ์ไม่ต่างจากเรา

 

 

ปัญหาของทรัพยากรน้ำ

ปัญหาสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นของทรัพยากรน้ำ คือ

1. ปัญหาการมีน้ำน้อยเกินไป เกิดการขาดแคลนอันเป็นผลเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้งเสียหายต่อพืชเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์

2. ปัญหาการมีน้ำมากเกินไป เป็นผลมาจากการตัดไม้มากเกินไป ทำให้เกิดน้ำท่วมไหลบ่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สิน

3. ปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาใหม่ในปัจจุบัน สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย ได้แก่

  • น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกทิ้งสู่แม่น้ำลำคลอง
  • น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
  • น้ำฝนพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างจากแหล่งเกษตรกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง
  • น้ำเสียที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลเสียหายทั้งต่อสุขภาพอนามัย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และมนุษย์ ส่งกลิ่นเหม็น รบกวน ทำให้ไม่สามารถนำแหล่งน้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

 

ผลกระทบของน้ำเสียต่อสิ่งแวดล้อม

  • เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด ท้องเสีย
  • เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรคต่างๆ
  • ทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อดิน น้ำ และอากาศ
  • ทำให้เกิดเหตุรำคาญ เช่น กลิ่นเหม็นของน้ำโสโครก
  • ทำให้เกิดการสูญเสียทัศนียภาพ เกิดสภาพที่ไม่น่าดู เช่น สภาพน้ำที่มีสีดำคล้ำไปด้วยขยะ และสิ่งปฏิกูล
  • ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสูญเสียพันธุ์ปลาบางชนิดจำนวนสัตว์น้ำลดลง
  • ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในระยะยาว

วิธีการอนุรักษ์ตามแบบฉบับของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 

ต้องไม่ตัดไม้ทำลายป่า เพื่อเป็นการรักษาแหล่งต้นน้ำไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำทำให้ไม่มีความแห้งแล้งเกิดขึ้น 

การแยกน้ำเสียหรือน้ำที่ไม่บริสุทธิ์ เช่น น้ำที่ผสมกับผงซักฟอก ไม่เทลงไปในลำธารหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนนั่นเอง หากเราร่วมกันอนุรักษ์น้ำ เราก็จะมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหาร และที่อยู่ของสัตว์ป่าตลอดไป

 

อ้างอิง : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , วิกิพีเดีย

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...