“โลกร้อน”ทำทะเลรับบทหนักดูดซับคาร์บอน ซ้ำ“ขยะ”คร่าวชีวิตสัตว์ทะเล”

แน่นอนห่วงโซ่อาหารลำดับเกือบสุดท้ายอย่าง“มนุษย์” ก็ได้รับผลกระทบในแง่แหล่งอาหารที่จะหายากขึ้นตามไปด้วย  

รัตนาวลี พูลสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยา กรมประมง กล่าวว่า น้ำทะเลดูดซับพลังงานความร้อน ของโลกไว้ 90% เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น และเมื่อรวมกับการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่ประมาณ 30% ก็เป็นอีกตัวการที่ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง นำไปสุ่สภาวะ “น้ำทะเลมีความเป็นกรด”

 โดยเฉลี่ยน้ำทะเลจะสูงขึ้นปีละประมาณ 3.1 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งจะสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลวัยอ่อน แหล่งผสมพันธ์ุ อย่างเต่า ปลา รวมถึงกุ้ง รวมถึงชุมชนประมงชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน จะต้องปรับตัว ถ้าปรับตัวไม่ได้ชาวประมงอาจสูญเสียอาชีพ หรือพึ่งพาท้องทะเลได้น้อยลง เพราะ โลกร้อนทำให้การพยากรณ์อากาศแม่นยำน้อยลง หรือ ที่เรียกว่า “โลกรวน” นั่นเอง 

ในภาคการประมงนั้นต้องมีการรับมือการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลสามารถทำได้ด้วยการ ใช้น้ำหรือทรัพยากรอย่างมีคุณค่า รวมถึงการใช้ IOT  (Internet of Things) ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำและอุณหภูมิน้ำในแหล่งอนุบาลอีกด้วย แต่การควบคุมน้ำทะเลนั้นเป็นเรื่องที่ยากเพราะมีหลายปัจจัยอย่างภาวะโลกร้อน น้ำเสียในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งการรับมือทำได้แค่ในเบื้องต้นเท่านั้น

“สัตว์ทะเลนั้นก็ได้มีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดต่ออุณหภูมิน้ำที่เปลี่ยนไปมากขึ้นอย่างการเปลี่ยนฤดูกาลการวางไข่ การฟื้นตัวของปะการังที่ฟอกขาว แต่ก็ยังมีสัตว์ทะเลบางส่วน รวม 20-30% เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ”

สพ.ญ. ราชวดี จันทรา สัตวแพทย์ปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยทะเลอ่าวไทยตอนบน ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก (ศวบต.) กล่าวว่า กระแสลมที่แปรปรวนนอกจากจะมีผลต่อหาดตื้นเขินแล้ว ยังส่งผลต่อการพลัดพรากของคู่แม่ลูกสัตว์ทะเลหายากที่เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ทะเลหายากท้องแก่ และป่วย จนก่อให้เกิดโศกนาฎกรรมลูกสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นตาย บนชายหาด ป่าชายเลน หรือผืนทะเล

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบอย่างมากคือคุณภาพน้ำในมหาสมุทร คือพื้นที่อ่าวไทยตอนบนกว่า 50 % มีคุณภาพน้ำอยู่ในสถานะ พอใช้ รองลงมาคือสถานะเสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมากตามลำดับ เพราะปัจจุบันคุณภาพน้ำส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ได้แก่ ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม สารอาหาร และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ

ข้อมูลจากหนังสือวารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ระบุว่า   ในทุก ๆ ปี จะมีการปล่อยน้ำจืดจากภาคกลางลงสู่อ่าว กอไก่ อย่างในพื้นที่ปากแม่น้ำเพชรบุรีและปากอ่าวบางตะบูนเป็นจุดปล่อยสำคัญจนเกิดการสะสมของตะกอน และหลายครั้งทำให้เกิดปรากฎการณ์“น้ำแดง” ตามชื่อที่ชาวบ้านเรียก แต่ในทางวิทยาศาสตร์เรียกว่าภาวะยูโรฟิเคชั่น หรือ ภาวะการขาดออกซิเจนรุนแรง เป็นหนึ่งในผลจากภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากน้ำเสียจากบ้านเรือนประชากรและเกษตรกรรมที่ถูกปล่อยรวมกัน เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มีฟอตเฟส ที่เป็นอาหารของแพลงตอนพืช สาหร่าย ทำให้พืชเติบโตอย่างรวดเร็วร่วมกับปัจจัยเร่งอย่างแสงแดดเพื่อสังเคราะห์แสง และอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้เจริญเติบโตได้ดี ทำให้ออกซิเจนในพื้นที่นั้นลดลงขณะที่ตอนกลางคืนพืชก็ปล่อยคาร์บอนไดออกไซน์สู่ทะเลเพิ่มขึ้นด้วยเมื่อพืชตายจะทำให้น้ำเน่าเสียจนเกิดสีแดงขึ้น ถึงแม้ในบริเวณนั้นจะมีอาหารแต่หากขาดออกซิเจนปลาก็ไม่สามารถเข้ามาหาอาหารได้ ถ้าเกิดเป็นบริเวณกว้างจะทำให้สัตว์หน้าดินและปลาที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันหรือออกไปจากบริเวณนั้นไม่ทันตายได้

 “คาร์บอนไดออกไซน์ที่เพิ่มความเป็นกรดให้น้ำทะเลจากการดูดซับในอากาศและพืชในทะเลปล่อยออกมา ถูกเรียกว่า “แฝดตัวร้าย”

ของภาวะโลกร้อน ความเป็นกรดแทรกซึมอยู่ทุกที่ ในอาหารของสัตว์ที่มีโครงสร้างหินปูนในการดำรงชีวิตหรือสัตว์เปลือก ประเภท กุ้ง หอย ปู พวกมันจะสร้าง เปลือกหุ้มตัวได้ยากขึ้น”

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กำหนด "มาเรียมโปรเจค” ส่วนหนึ่งเพื่อการส่งเสริมจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการดูแลขยะพลาสติกไม่ให้ทิ้งสู่ท้องทะเล และการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สำรวจติดตามและประเมินจำนวนสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม กลุ่มประชากรไกลฝั่ง เพื่อยกระดับการปฏิบัติภารกิจในด้านการคุ้มครอง อนุรักษ์ สำรวจประเมิน และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  หากทะเลและชายฝั่งปลอดภัย นั่นหมายถึงแหล่งอาหารของมนุษย์ก็ปลอดภัยทุกฝ่ายจึงต้องช่วยกันอย่างจริงจัง 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...