โครงการ BAAC Carbon Credit จาก ธ.ก.ส. ขับเคลื่อนสร้างรายได้ให้ชุมชน

พร้อมขยายผลการสร้างคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ไปยังชุมชนธนาคารต้นไม้ ทั้ง 6,800 ชุมชน และหนุนการปลูกป่าเพิ่มอีกปีละ 108,000 ต้น วางเป้าหมายสร้างปริมาณการซื้อ – ขายคาร์บอนเครดิตอีกกว่า 510,000 ตันคาร์บอน ภายใน 5 ปี เชิญชวนหน่วยงานภาครัฐเอกชน ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านธุรกิจ การดูแลรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม การสร้างรายได้ให้ชุมชน และการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร   (ธ.ก.ส.) เป็นประธานเปิดโครงการ BAAC Carbon Credit และการซื้อ – ขายคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้อย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย จากชุมชนธนาคารต้นไม้บ้านท่าลี่ และบ้านแดง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 ตันคาร์บอน (ที่ได้รับการรับรองปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเครดิต

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมาโดย ธ.ก.ส. รับซื้อในราคากึ่ง CSR ตันละ 3,000 บาท คิดเป็นเงินรวม 1.2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนชุมชนในการดูแลสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์เป้าหมายการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ.2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ในปี ค.ศ.2065 โดยมีนายสุวิกรม อัมระนันทน์ หรือเปอร์ จากรายการ Perspective ร่วมพูดคุยสนทนาในประเด็นย้อนรอย BAAC Carbon Credit กับผู้นำชุมชน นายธนพิสิฐ ใจกว้าง ประธานธนาคารต้นไม้บ้านท่าลี่ 

ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกป่าตามแนวพระราชดำริ “ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนอย่างยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการธนาคารต้นไม้

ปัจจุบันมีชุมชนธนาคารต้นไม้ 6,814 ชุมชน มีสมาชิก 124,071 คน มีต้นไม้ขึ้นทะเบียนในโครงการกว่า 12.4 ล้านต้น มูลค่าต้นไม้กว่า 43,000 ล้านบาท และการยกระดับไปสู่ชุมชนไม้มีค่า มีการนำต้นไม้ที่ปลูกมาแปลงเป็นสินทรัพย์ เพิ่มมูลค่าให้กับที่ดิน และนำมาใช้เป็นหลักประกันเงินกู้กับ ธ.ก.ส. สมาชิกในชุมชนมีรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากต้นไม้/ป่าไม้ ปีละ 116 ล้านบาท และเพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับชุมชนที่ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ธ.ก.ส. จึงได้ร่วมกับชุมชนธนาคารต้นไม้ดำเนินโครงการ BAAC Carbon Credit เพื่อเดินหน้าแนวทางการส่งเสริมการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตในประเทศ ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ และตามมาตรฐานประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เริ่มจากการขึ้นทะเบียนโครงการ การตรวจนับจำนวนต้นไม้ การตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตจากผู้ประเมินภายนอก (Validation and Verification Body: VVB)

การรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตจาก อบก. เพื่อนำปริมาณการกักเก็บดังกล่าวไปตอบโจทย์ความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ได้อย่างยั่งยืน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...