ประวัติ ปรีดี พนมยงค์ และบทบาทสำคัญทางการเมือง

ปรีดี พนมยงค์ อดีตนักการเมืองคนดังที่มีบทบาทในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมายาวนาน ได้ติดคำค้นหาในโซเชียลในช่วงเปิดปีใหม่ 2567 ในเรื่อง "จดหมายปรีดี" จากหอจดหมายเหตุฝรั่งเศส ที่ถึงกำหนดการสามารถเปิดเผยได้ ทั้งนี้ ปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างไรกับการเมืองไทย เรารวมประวัติที่น่าสนใจมาให้แล้ว

ประวัติ ปรีดี พนมยงค์

ปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ณ บ้านหน้าวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรชายของนายเสียง กับนางลูกจันทน์ พนมยงค์ สำหรับชีวิตครอบครัว ปรีดี พนมยงค์ สมรสกับท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย ที่บ้านพักชานกรุงปารีส เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 รวมอายุได้ 83 ปี

ด้านการศึกษา ในปี 2463 ปรีดี พนมยงค์ ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนไปศึกษาวิชากฎหมาย ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยเข้าศึกษากฎหมายที่วิทยาลัยกอง (Caen) และศึกษาต่อที่วิทยาลัยปารีส สอบไล่ได้ปริญญารัฐเป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย" (Docteur en Droit) ฝ่ายนิติศาสตร์ และสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจ ในระหว่างศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ได้รับเลือกเป็น สภานายกแห่งสมาคมนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศส

ภาพจากสถาบันปรีดี พนมยงค์

...

ขณะที่ศึกษาในฝรั่งเศส ระหว่างปี 2466-2467 ปรีดี พนมยงค์ ได้ร่วมมือกับนักเรียนไทยในฝรั่งเศสกับสวิตเซอร์แลนด์ และนักเรียนไทยในประเทศอื่นส่วนที่ขึ้นต่อสถานทูตสยามกรุงปารีส ตั้งเป็นสมาคมอันหนึ่งอันเดียวกันเรียกชื่อว่า "สามัคยานุเคราะห์สมาคม" อักษรย่อ "ส.ย.า.ม." เรียกเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า "Association Siamoise d'intellectualité et d'Assistance Mutuelle" อักษรย่อ "S.I.A.M." ซึ่งเขาได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการสมาคมฯ คนแรก จากนั้นในปี 2468 และปี 2469 เขาได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมฯ ต่อเนื่องกัน 2 ปี ซึ่งเขาได้เริ่มแปลงสมาคมฯ ให้เป็นสหภาพแรงงานและการต่อสู้ท่านอัครราชทูตสยามสมัยนั้น ซึ่งเป็นตัวแทนระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

สำหรับประวัติการทำงาน ปรีดี พนมยงค์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์อำมาตย์ตรีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ในปี 2472 เป็นบุคคลสำคัญในการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาในปี 2475 ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว และได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และดำรงตำแหน่งผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นคนแรก

บทบาททางการเมือง

  • ปี 2476 ปรีดี พนมยงค์ ได้ตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา
  • ปี 2484 ขณะที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  • ปี 2489 เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของไทย แต่ในวันที่ 21 สิงหาคม 2489 เขาได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง

ผลงานสำคัญด้านการเมืองของปรีดี พนมยงค์ ที่ทำให้เขาเป็นที่จดจำคือเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในประเทศ เพื่อติดต่อประสานงานกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ และติดต่อประสานงานกับขบวนการเสรีไทยภายนอกประเทศ ภายใต้การนำของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลง เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐบุรุษอาวุโส และร่วมกับรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ดำเนินการประกาศว่า การที่รัฐบาลไทยประกาศสงครามกับอเมริกาและอังกฤษเป็นโมฆะ พร้อมทั้งหาทางผ่อนคลายสัญญาสมบูรณ์แบบที่ผูกมัดไทย เนื่องจากผลของการแพ้สงคราม

ข้อมูลอ้างอิง : สถาบันปรีดี พนมยงค์, รัฐบาลไทย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...