โรดแมพแผนความเท่าเทียม "สตรี"และการมีส่วนร่วมพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดังนั้น การตระหนักถึงประเด็นสตรีจึงพบเห็นได้ในหลายเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งล่าการประชุมระดับรัฐมนตรีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค ที่ประชุมสรุปถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี 2023 ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระดับรัฐมนตรีมีสาระสำคัญเพื่อทบทวนการทำงานของเอเปคในปีที่ผ่านมาและให้แนวทางสำหรับการดำเนินการต่อไป โดยสาระร่างถ้อยแถลงส่วนหนึ่งให้ความสำคัญการสร้างเชื่อมโยง ว่าด้วยการส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุนที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในภูมิภาคเอเปค MSME สตรี และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจแต่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (เช่น กลุ่มชนพื้นเมือง ดั้งเดิม ผู้พิการ และกลุ่มคนจากชุมชนชนบทและชุมชนห่างไกล)

ขณะเดียวกันในกรอบความร่วมมือเดียวกันนี้ แต่เป็นเวทีระดับผู้นำได้ออก"ปฏิญญาผู้นำเอเปค "Golden Gate Declaration" เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระดับผู้นำที่เน้นย้ำ ความมุ่งมั่นในเรื่องต่าง ๆนั้น ก็ได้ระบุถึงการให้ความสำคัญกับบทบาทสตรีด้วย 

“การสนับสนุนแรงงาน”ว่าด้วย  เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่แรงงาน โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองทุกคน และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นสำหรับทุกคน รวมทั้งการสนับสนุนความเท่าเทียม ทางเพศสภาพและการสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้แก่สตรี เยาวชน และกลุ่มอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ ทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้ใช้ เช่น กลุ่มชนพื้นเมืองดั้งเดิม ผู้พิการ และกลุ่มคนจากชุมชนชนบท และชุมชนห่างไกล เป็นต้น "

นอกจากนี้ต้อง การมีส่วนร่วมในตลาดการสร้างทักษะและขีดความสามารถ การให้โอกาสในการเป็นผู้นำ การมีเสียงและมีอำนาจในการดำเนินการ และการสนับสนุนต่อนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และการใช้เทคโนโลยีของสตรี โดยการลดช่องว่างของอัตราการมีส่วนร่วมระหว่างบุรุษและสตรี

ย่อมลงมาอีกหน่อยคือเวทีความร่วมมือประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ในส่วนประเทศไทย คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ให้การรับรองร่างปฏิญญาว่าด้วยการส่งเสริมรูปแบบธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก : ส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่างเท่าเทียม (Declaration on Promoting Inclusive  Business Models : Empowering Micro, Small and Medium The Sustainable Development Goals Enterprises for Equitable Growth) ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ มีสาระสำคัญโดยสรุปคือ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการสนับสนุนการดำเนินการในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยเพื่อการเติบโตอย่างเท่าเทียม โดยพิจารณาจากบริบทของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านความสามารถและทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะได้รับรองหลักการจากคณะกรรมการด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยอาเซียน (ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small, and Medium Enterprise หรือ ACCMSME) แล้ว

 

ทั้งนี้ เพื่อให้เจตนารมณ์เป็นความจริงในทางปฎิบัติ จึงมีการกำหนดชุดเครื่องมือการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสตรีวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ในระดับชาติ (Strengthening Women’s Entrepreneurship in National MSME Policies and Action Plans) โดยจะขอเรียกสั้นๆ ว่า โครงการชุดเครื่องมือกำหนดนโยบาย หรือ Policy Toolkit Project  เพื่อสนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในภูมิภาคอาเซียน และการสร้างระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการของสตรี 

บทที่ 1 คุณลักษณะความเท่าเทียมทางเพศที่เพิ่มพลังทางเศรษฐกิจของสตรีที่สอดคล้องกับการเพิ่มจำนวนการจ้างงานของสตรีบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำอย่าง McKinsey & Company และ Boston Consulting Group ระบุว่า การเพิ่มจำนวนตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product—GDP) แต่หากไม่มีการแก้ไขการลดช่องว่างทางเพศหรือกล่าวถึงประเด็นนี้ ภูมิภาคอาเซียนอาจจะเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ เพราะการเพิ่มบทบาทของผู้ประกอบการสตรีจะช่วยส่งเสริมให้ MSME มีความเข็มแข็ง 

บทที่ 2  ความเสมอภาคทางเพศในเชิงกฎหมาย และความท้าทายที่ผู้ประกอบการสตรีต้องเผชิญในด้านการเงิน การตลาด ทุนมนุษย์ และโครงสร้างการสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง และการส่งเสริมสนับสนุนทักษะต่างๆ อาทิ ทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล การเปลี่ยนผ่านสู่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(e-commerce) และแนวคิดในการลดภาระที่ไม่จำเป็นต่างๆ 

บทที่ 3 ได้กล่าวถึงภาพรวมโดยสังเขป เกี่ยวกับนโยบายและโครงสร้าง MSME ในแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน และยังนำเสนอภาพรวมโดยสังเขป เกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและกฎหมายที่มีบริบทกว้างขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเป็นผู้ประกอบการสตรี

บทที่ 4 ด้านนโยบายในหัวข้อนวัตกรรมและเทคโนโลยี การเงิน ระบบกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การเข้าถึงตลาดในประเทศและต่างประเทศ การเพิ่มทุนมนุษย์ บริการสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจ (Business Development Support—BDS) กลไกการกำกับดูแล ความเป็นผู้นำนโยบายและการประสานงาน และการติดตามผลกระทบของนโยบายสำหรับกิจการที่สตรีเป็นเจ้าของและบทที่ 5 แนวทางในการสร้างระบบนิเวศที่อำนวยความสะดวกในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรี 

"สตรี" คือกลไกทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญที่ SDG มองว่าการสร้างความเท่าเทียมไม่เพียงลดจุดอ่อนและเพิ่มความสุขให้มวลมนุษยชาติอย่างถ้วนหน้าแล้ว ความเท่าเทียมที่เราทุกคนกำลังพยายามอยู่นี้คือเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจที่เคยถูกกดเอาไว้เป็นเวลานานมาแล้วให้กลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาร่วมกันอีกครั้งอย่างเท่าเทียม  

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...