บางจาก ชู ‘คลีนโมเลกุล’ ลดคาร์บอน ลุยผลิตน้ำมันเครื่องบินชีวภาพ ‘หมื่นล้าน’

 กลุ่มบริษัทบางจาก จัดงานสัมมนา Bangchak Group Greenovative Forum ครั้งที่ 13 “Regenerative Fuels: Sustainable Mobility” เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2566 เพื่อนำเสนอทิศทางการลดคาร์บอน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการบินที่กำลังมีความต้องการน้ำมันอากาศยานชีวภาพ

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจากและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวเปิดงานสัมมนาว่า การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ จะเป็นแนวทางให้โลกเขียวขึ้น ผ่านการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดในรูปแบบเชื้อเพลิงต่างๆ

ทั้งนี้ ปัจจุบันทุกๆ การใช้พลังงานทั่วโลกใช้รวมกันอยู่ที่ 1.7 ล้านล้านล้านจูล (EJ) ต่อวัน เทียบเท่ากับพลังงานที่ใช้แอร์บัส 320 ที่บินรอบโลกวันละ 3.5 แสนรอบ โดย 80% เป็นพลังงานฟอสซิล เที่ยบเท่ากับปริมาณพลังงาน 1.4 ล้านล้านล้านจูล ซึ่งมีการบริโภคน้ำมันต่อวัน 220 ล้านบาร์เรล เท่ากับน้ำ3.5 หมื่นล้านลิตรต่อวัน ประชากรโลก 8 พันล้านคน ถือว่าบริโภคมากกว่าการดื่มน้ำ 2 เท่า ถือเป็นการใช้พลังงานที่เยอะมาก

อย่างไรก็ตาม เชื้อเพลิงในรูปแบบพลังงานที่ใช้โดยน้ำมันมากถึง 30% ถ้าเทียบพลังงาน 1 จูน กับปริมาณน้ำหนัก 1 กิโลกรัมนั้น น้ำมัน 1 กิโลกรัม จะสามารถวิ่งได้ระยะทาง 15 กิโลเมตร ส่วนแบตเตอรี่น้ำหนัก 1 กิโลกรัม วิ่งได้ราว 1 กิโลเมตร จึงต้องใส่แบตเตอรี่ถึง 20 กิโลกรัม เพื่อให้วิ่งได้ในระยะมางเท่าดับรถที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมัน

ทั้งนี้ ประชากรโลกส่วนใหญ่อยู่ในเอเซีย แหล่งกำเนิดพลังงานไม่ได้อยู่ในเมือง จะเห็นว่าไม่มีการเจาะน้ำมันในเมือง แต่พบได้ตามชายฝั่งทะเลลึก ซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายพลังงานมาให้กับผู้บริโภค หากเป็นพลังงานในรูปของก๊าซจะสามารถขนส่งได้ตามท่อ 

ส่วนของเหลวขนส่งตามท่อ เรือ รถและรถไฟ ในขณะที่ถ่านหินจะขนส่งลำบาก ในขณะที่อิเล็กตรอนจะขนส่งตามสาย ดังนั้น รูปแบบพลังงานที่จะขนส่งได้ดีสุด คือ พลังงานที่ควรอยู่ในรูปแบบของเหลว แม้กระทั้งก๊าซธรรมชาติที่ต้องใช้แรงอัดถึง 400 เท่าเพื่อเปลี่ยนเป็นของเหลวเพื่อให้ขนส่งได้ง่ายขึ้น

“หากต้องการพลังงานสะอาดที่ต้องการชดเชยเชื้อเพลิงฟอสซิลปริมาณ 80% จะต้องหาตัวที่ตอบโจทย์ให้ได้ คือ กรีน อิเล็กตรอน ที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน ที่มาจากแสงแดด ลม และน้ำ หากเทียบการสร้างเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเพื่อมาชดเชยพลังงาน 220 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะต้องสร้างถึง 1.3 แสนเขื่อน และยังต้องสร้างสายไฟแรงสูงเพื่อนำพลังงานมาให้ผู้บริโภคความยาว 320 ล้านกิโลเมตร เทียบความยาวในการพันรอบโลกถึง 8 พันครั้ง”

“คลีนโมเลกุล”ลดปล่อยคาร์บอน

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า บางจากจึงอยากแนะนำ "Clean Molecules" ซึ่งเป็นโมเลกุลสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuels) ซึ่งถือเป็นโมเลกุลสะอาดที่มาจากพืช ที่จะตอบโจทย์สำหรับการเดินทางและขนส่งอย่างยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นการสร้างโรงงานผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF จากน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหาร (Used Cooking Oil) จึงตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน

นอกจากนี้ กลุ่มบางจากยังอยู่ระหว่างพัฒนาการนำกากไม้มาเข้าสู่กระบวนการหมักเพื่อให้เกิดเชื้อเพลิง รวมถึงอีกวิธีที่ยาก คือ การผลิตน้ำมันจากสาหร่าย และอีกเชื้อเพลิงคือ e-Fuels ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ หรือ Synthetic Fuels ชนิดหนึ่งที่ผลิตจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกกักเก็บ และก๊าซไฮโดรเจนที่ได้จากพลังงานหมุนเวียนแยกเป็นไฮโดรเจน ซึ่งยุโรปกำหนดว่าปี 2035 จะไม่ให้ขายรถที่ใช้เชื้อเพลิง แต่ก็ได้ยกเลิกไปหากสามารถใส่เชื้อเพลิง e-Fuels ได้

“เชื้อเพลิงเหลวถือเป็นสิ่งที่ทำได้ ส่วนคลีนโมเลกุลจะช่วยเสริม ถ้าปริมาณเชื้อเพลิง 220 ล้านบาร์เรลต่อวันนั้นเยอะมาก บางจากจึงแนะนำคลีนโมเลกุลควบคู่กับเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ถือเป็น 2 เทคโนโลยีที่จะช่วยตอบโจทย์โลกนี้”

รุกผลิตน้ำมันเครื่องบินชีวภาพ

สำหรับโรงงานผลิต SAF ที่โรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง มีการลงทุนเบื้องต้น 10,000 ล้านบาท โดย SAF คาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการได้ ช่วงปลายปี 2567 เริ่มผลิตต้นปี 2568 กำลังการผลิตเริ่มต้น 1,000,000 ลิตรต่อวัน จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมการบินลงได้ 80,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (เทียบกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเชื้อเพลิงการบินในปัจจุบัน)

ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทบางจาก พร้อมเพิ่มกำลังการผลิตรองรับความต้องการใช้ SAF ในอนาคต ตามแนวโน้มความต้องการใช้ SAF ทั่วโลก สอดคล้องกับข้อกำหนดในสหภาพยุโรปที่กำหนดสัดส่วนการผสม SAF ในน้ำมันอากาศยานที่จะบินเข้าสู่สนามบินในสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (จากการลงมติของสมาชิกสภายุโรป เมื่อต้นเดือน ก.ค.2566 ที่ผ่านมา กำหนดไว้ที่ 2% ใน ค.ศ.2025 และเพิ่มขึ้เป็น 6%, 37% และ 85% ในค.ศ.2030, 2040 และ 2050 ตามลำดับ)

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...