“ดีป้า"ส่งนวัตกรรมปั้น36"สมาร์ทซิตี้" สู่เป้าหมายเมืองอัจฉริยะ 105 แห่ง

ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ กลุ่มงานโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ให้สัมภาษณ์ “กรุงเทพธุรกิจ”ว่า ดีป้า ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมให้เกิดสมาร์ทซิตี้ หรือเมืองอัจฉริยะให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างฉลาด เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในเมืองที่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เกิดการกระจายความเจริญอย่างเท่าเทียมไปสู่เมืองต่าง ๆ ไม่ให้มากระจุกตัวเพียงแต่กรุงเทพฯ หรือหัวเมืองใหญ่ ซึ่งจะนำพาไปสู่ความเท่าเทียมกันของพลเมืองในการพัฒนาเมืองทั้งด้านโอกาสทางการศึกษา การรักษาพยาบาล และด้านอื่น ๆ ให้เท่าเทียมกับเมืองใหญ่

โดยได้ตั้งเป้าหมายให้เมืองที่มีประชากรมากกว่า 1 หมื่นคน ยกระดับการพัฒนาไปสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ ที่ประชาการมีการใช้ชีวิตที่ดี ทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งเมืองที่เข้าข่ายนี้จะมีประมาณ 2.2 พันเมือง อยู่ในระดับเทศบาลตำบลขึ้นไป และเมืองใหม่ที่จะต้องมีประชาชนเข้ามาใช้บริการไม่ต่ำกว่า 1 พันคนต่อวัน เช่น วังจันทน์วัลเลย์ ของ ปตท. บริเวณเหมืองแม่เมาะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และบริเวณโดยรอบ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

ทั้งนี้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ตั้งเป้าให้เกิดสมาร์ทซิตี้ให้ได้ 105 เมือง ภายในปี 2570 โดยในปัจจุบันได้มีเมืองที่มียื่นขอส่งเสริมแล้วจำนวน 144 เมือง ซึ่งดีป้าจะเข้าไปบ่มเพาะเพื่อให้มีความพร้องในการพัฒนาไปสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ และมีเมืองที่ผ่านการอนุมัติในการพัฒนาไปสู่สมาร์ทซิตี้แล้ว 36 เมือง ใน 25 จังหวัด ซึ่งแต่ละเมืองจะมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาในสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ที่แตกต่างกัน ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะได้จากการเป็นสมาร์ทซิตี้ ก็คือ การได้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของเมือง ที่ภาครัฐ และเอกชน สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแก้ไขปัญหาของเมืองได้อย่างตรงจุด เกิดพัฒนาการให้บริการแบบใหม่ หรือเกิดธุรกิจใหม่ ๆ รวมทั้งสตาร์ทอัพได้อีกมากมายในอนาคต โดยสตาร์ทอัพที่สามารถนำโมเดลความสำเร็จจากการทำธุรกิจในไทยในต่อยอดขยายธุรกิจในทุกประเทศอาเซียนได้ เพราะมีสิ่งแวดล้อมการดำเนินชีวิตที่ใกล้เคียงกัน

นอกจากนี้ สมาร์ทซิตี้ ต้องมีการพัฒนาใน 7 ด้าน คือ 1. สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ หรือเป็นเมืองที่มุ่งเน้นปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการบริหารจัดการ และติดตามเฝ้าระวัง สิ่งแวดล้อม

2. การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ หรือเป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มความสะดวก ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

3. การดำรงชีวิตอัจฉริยะ เป็นเมืองที่มุ่งเน้นให้บริการที่อำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต เช่น การส่งเสริมให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการดำรงชีวิตที่เหมาะสม

 4. พลเมืองอัจฉริยะ หรือเป็นเมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาพลเมืองให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต

 5. พลังงานอัจฉริยะ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเมือง หรือใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด

 6. เศรษฐกิจอัจฉริยะ ความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ ความเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ และประยุกต์ใช้นวัตกรรม ในการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจ และ7. การบริหารภาครัฐอัจฉริยะพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐสะดวก รวดเร็ว เพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน

“โดยแนวทางทั้ง 7 ด้านนี้ ดีป้า ได้กำหนดให้ทุกเมืองสมาร์ทซิตี้ จะต้องเป็นเมืองอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนที่เหลืออีก 6 ด้าน แต่ละเมืองจะเลือกพัฒนาให้ตอบโจทย์ของปัญหา และเป้าหมายของแต่ละเมือง และทั้ง 7 ด้านนี้จะช่วยลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมลภาวะต่าง ๆ ในทุกกิจกรรมการทำงาน ดังนั้นหากส่งเสริมให้เมืองที่มีประชากรมากกว่า 1 หมื่นคน ที่มีกว่า 2.2 พันเมืองไปสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ได้ ก็จะช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน และด้านสิ่งแวดล้อมลงได้มาก”

สำหรับ เมืองที่ได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาไปสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ จะได้รับสิทธิประโยชน์หลายด้าน เช่น การสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาจากภาครัฐ การได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้กับภาคเอกชนที่เข้าไปลงทุนพัฒนาสมาร์ทซิตี้ 8 ปี หากอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก( อีอีซี) จะได้รับเพิ่มอีก 5 ปี รวมเป็น 13 ปี และด้านอื่น ๆ เช่น การพัฒนาคนให้เข้ามารองรับเทคโนโลยีสมาร์ทซิตี้ เป็นต้น

โดยดีป้า ยังได้ร่วมกับ เอ็น.ซี.ซี. ในการจัดงาน “Thailand Smart City Expo 2023” ระหว่างวันที่ 22-24 พ.ย.นี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ซึ่งได้รับความร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) จัดเวิร์คช้อปเพื่อยกระดับการพัฒนาพิธีมอบรางวัล The Smart City Solution Awards 2023 เพื่อเป็นการส่งเสริมผลงานด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในงานจะเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้กับภาครัฐองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าใจถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเมืองของตนเพื่อต่อยอดในการพัฒนาเมืองได้อย่างยั่งยืน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...