สถานทูตออสเตรเลียโชว์นวัตกรรมแก้ปัญหามลพิษพลาสติกในประเทศไทย

วันสาธิตนวัตกรรมพลาสติกในประเทศไทย (Demo Day)”  นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากผู้ประกอบการ 6 ทีม เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น นวัตกรรมการสกัดหมึกพิมพ์ออกจากบรรจุภัณฑ์พลาสติก และนวัตกรรมเครื่องพิมพ์สามมิติเพื่อแปลงบรรจุภัณฑ์พลาสติก

วิธีแก้ปัญหาจากมลพิษพลาสติกเหล่านี้เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือนวัตกรรมพลาสติกในลุ่มน้ำโขง ภายใต้เครือข่ายนวัตกรรมพลาสติกภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของออสเตรเลีย (IPPIN)

Demo Day เป็นวันแสดงผลงานของทีมที่ผ่านโปรแกรม IPPIN Accelerator ซึ่งได้รับการอบรมอย่างเข้มข้นเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยทีมผู้ประกอบการ และนักวิจัยได้รับคำแนะนำเพื่อปรับปรุงไอเดีย และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาด

ดร.แองเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย กล่าวว่า เครือข่ายนวัตกรรมพลาสติกภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของออสเตรเลีย (IPPIN) เป็นโครงการระดับภูมิภาคที่สำคัญในการสนับสนุนนวัตกรรมเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติก และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือนวัตกรรมพลาสติกในลุ่มน้ำโขงนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง-ออสเตรเลีย (Mekong-Australia Partnership) ประเทศออสเตรเลีย ตระหนักถึงความเร่งด่วนของความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทย และภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกำลังเผชิญ รวมถึงปัญหามลพิษจากพลาสติก และมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับภูมิภาคนี้เพื่อเสริมศักยภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” ทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยกล่าวเพิ่มเติม

อมิเลีย ไฟฟิลด์ (Amelia Fyfield) ที่ปรึกษาและผู้อำนวยการ สำนักงานวิทยาศาสตร์แห่งชาติของออสเตรเลีย (CSIRO) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า กลุ่มพันธมิตรความร่วมมือลุ่มน้ำโขงออสเตรเลีย แสดงถึงความมุ่งมั่นของ CSIRO ในการที่จะเสริมสร้างศักยภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน

“ผ่านเครือข่ายนวัตกรรมพลาสติกภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของออสเตรเลีย (IPPIN) เราภูมิใจที่ได้สนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศไทยให้ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมใหม่ที่สร้างอนาคตที่สะอาด”

โดยการอบรมดังกล่าวเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมระดับโลกที่ให้การส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

 

 

รศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อํานวยการ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า “ประเทศไทยและภูมิภาคแม่น้ำโขงเป็นที่เต็มไปด้วยศักยภาพทั้งความสามารถ ความมุ่งมั่น และความคิดสร้างสรรค์ที่น่าทึ่ง แทบรอไม่ไหวที่จะได้เห็นทางออกที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ที่จะช่วยลดปัญหาประเทศไทยในการเดินหน้าลดขยะพลาสติก”

ด้วยการสนับสนุนผู้ประกอบการด้านความยั่งยืน ผลงานในวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ CSIRO ที่จะปฏิบัติพันธกิจโดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนวิธีที่เราผลิต ใช้ รีไซเคิล และกำจัดขยะพลาสติก

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...