เปิด ‘ความเสี่ยงไซเบอร์’ องค์กรไทย หวั่น ‘มัลแวร์-แฮกบัญชี’ โจมตีหนัก

พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์’ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดรายงานสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนปี 2566 ข้อมูลในรายงาน ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหา “การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก” ในปริมาณน้อยที่สุดมีองค์กร 22% ที่พบจำนวนอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% เมื่อเทียบอดีต

ทั้งนี้ การปกป้องเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยังคงเป็นข้อกังวลหลัก เพราะบริการพื้นฐานสำคัญเหล่านั้นต้องเผชิญกับการโจมตีที่สร้างความเสียหายในระดับที่สูงกว่าภาคส่วนอื่นๆ

ข้อกังวลอันดับต้นๆองค์กรไทย

ขณะที่ ประเภทการโจมตีที่องค์กรในไทยมีความกังวลมากที่สุด ได้แก่ มัลแวร์ 57% และการเข้าควบคุมบัญชีผู้ใช้ 57% และการโจมตีรหัสผ่าน 53% ซึ่งภายใต้สถานการณ์ที่ต้องพึ่งพาบริการและแอปพลิเคชันระบบคลาวด์มากขึ้น ธุรกิจในไทยระบุว่า ปัญหาสำคัญด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่ตนเองต้องเผชิญหน้า คือ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากอุปกรณ์ อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ หรือ ไอโอทีที่ไม่ปลอดภัย 54% ความจำเป็นที่ต้องจัดซื้อโซลูชันระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์หลากหลายรูปแบบ 47% และการทำธุรกรรมดิจิทัลกับบุคคลภายนอก 47%

อย่างไรก็ดี หากเทียบประเทศอื่นๆ ในอาเซียนพบว่า ไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างดี ในด้านการเผชิญความเสี่ยงเกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์และการยกระดับทักษะในด้านนี้ โดยมีองค์กรเพียง 37% เท่านั้นที่มองว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์อยู่ในระดับสูงหรือสูงมาก และถือเป็นอัตราส่วนที่ต่ำที่สุดในอาเซียน

ขณะที่ องค์กรในไทยที่มองว่าเกิดการโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% นั้น มีจำนวนอยู่เพียงราว 22% ขององค์กรทั้งหมดที่มีความมั่นใจในการติดตามปัญหาระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งนับว่าเป็นอัตราส่วนที่ต่ำที่สุดในอาเซียน

ในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น อุตสาหกรรมต่างๆ มีความมั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัย แต่เห็นได้ชัดในภาคบริการ (ธนาคารและการเงิน) ตลอดจนการขนส่งและโลจิสติกส์

ยก‘ไทย’คะแนนนำซิเคียวริตี้พื้นฐาน

ส่วนในระดับประเทศนั้น ไทยถือว่ามีความมั่นใจค่อนข้างสูงที่ 87% ว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในปัจจุบันจะปกป้องภัยคุกคามได้ อีกทั้งไทยยังมีคะแนนนำในด้านทักษะระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์พื้นฐาน โดยธุรกิจกว่า 78% มีการฝึกอบรมเรื่องนี้แก่พนักงานอย่างเป็นทางการ

ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ยังคงเป็นภารกิจที่ธุรกิจในไทยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา องค์กรในไทยราว 38% เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทมีการพูดถึงระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ทุกเดือน นอกจากนี้ธุรกิจในไทยราว 49% ยังได้เพิ่มงบประมาณด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เพราะต้องการปรับปรุงการดำเนินงาน (54%) มีการออกหรือปรับกฎระเบียบใหม่ตามกฎหมายด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (44%) เพื่อเดินหน้าเปลี่ยนแปลงกระบวนการสู่ดิจิทัลมากขึ้น (37%) และเนื่องจากสภาพการณ์ของภัยคุกคามมีการเปลี่ยนแปลง (37%)

“ธัชพล โปษยานนท์” ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า ความมั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจได้วางแนวทางที่ยืดหยุ่นในการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีรูปแบบซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยไทยได้รับ ผลจากการโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก ในปริมาณน้อยที่สุด แต่ก็มีการเพิ่มงบประมาณด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์น้อยที่สุดเช่นกันเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

"เพราะองค์กรในไทยได้เตรียมตัวมาเป็นเวลาหลายปีจนเห็นผลลัพธ์จากการลงทุนในด้านดังกล่าว อย่างไรก็ดี ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดสำหรับผู้บริหาร เพราะอาชญกรไซเบอร์เองก็เดินหน้าปรับตัวและใช้เทคนิคต่างๆ ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเช่นกัน”

เปิด 3 กลยุทธ์ไซเบอร์ซิเคียวริตี้

ขณะที่ กลยุทธ์ด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่สำคัญที่สุดสามอันดับแรกในไทยประกอบด้วย การรักษาความปลอดภัยแก่ IoT/OT การยกเครื่องระบบตรวจจับภัยคุกคามและระบบแพลตฟอร์มตรวจหาพฤติการณ์ที่สัมพันธ์ การจัดการตัวตนและการเข้าถึงระบบ รวมถึงกลยุทธ์การประสานงาน การรับมือ และระบบอัตโนมัติด้านการรักษาความปลอดภัย (SOAR) สำหรับ SOC

การผสานการทำงานกับ AI เป็นเทคโนโลยีที่ธุรกิจต่างๆ กำลังเตรียมติดตั้งในเร็วๆ นี้ ทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในไทย โดยธุรกิจด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยี สื่อสาร ให้ความสนใจในการนำ AI เข้ามาใช้มากที่สุดในภูมิภาค และคาดว่าจะเติบโตในอัตราที่เร็วขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

“ปัญหาการโจมตีทางไซเบอร์ยังคงขยายตัวไปพร้อมกับการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และเห็นชัดเจนอย่างมากในบางอุตสาหกรรม เช่น ภาคธนาคารและการเงิน ซึ่งโดนกดดันให้ต้องทำเร่งทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันและเกิดการแข่งขันกันในระดับสูง ดังนั้นองค์กรต่างๆ ในไทย โดยเฉพาะในภาคธนาคารและการเงิน จึงจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างระบบไอที ที่แข็งแกร่งเพื่อให้ธุรกิจมีความพร้อมในการรับมือช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในแบบต่างๆ”  'ธัชพล' ทิ้งท้าย

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...