'ดีอี' ชู 3 ตัวแปรดิจิทัลเครื่องมือเปลี่ยนไทย ดันอันดับการแข่งขันพุ่งทะยาน

วันนี้ (19 ก.ย.) สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ฉลอง 60 ปี จัดสัมมนา “60 Years OF EXCELLENCE” เปิดงานเสวนาในหัวข้อ The Digital Imperative โดยมี ศาสตร์จารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวปาฐกาถา โดยระบุว่า เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับการพัฒนาของโลกที่เข้าสู่ยุคที่ดิจิทัลเป็นปัจจัยหลักในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเริ่มมีการนำประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมาเป็นองค์ประกอบในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ 

รวมทั้งมีการจัดทำดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล (Digital Competitiveness) ในระดับนานาชาติ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย และสร้างการรับรู้แก่บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ และกระทรวงดีอีในการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย

วางเป้าการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันดิจิทัล

ปลัดกระทรวงดีอี ระบุว่า การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของไทยในปี 2566 หรือ Thailand Digital Competitiveness Ranking 2023  ตาม IMD World Digital Competitiveness Ranking 2023 ดีขึ้น 5 อันดับ โดยไทยอยู่อันดับที่ 35 จากเดิม อันดับที่ 40 ในปี 2565 ทั้งนี้ ได้มีการตั้งเป้าหมายอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของไทย จะต้องอยู่ใน 30 อันดับแรกของโลกภายในปี 2569 นี้ 

นอกจากนี้ ประเทศไทยมีแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2566-2570 ที่มุ่งเน้นให้ประเทศมีระบบนิเวศที่เหมาะสมต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การทำธุรกรรมฯ เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างโอกาส ความยั่งยืน และความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

โดยมี 3 เป้าหมายภายใน 2570 คือ 1) เพิ่มสัดส่วนมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจดิจิทัลต่อ GDP เป็น 30% และ 2) ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ใน  IMD-WDCR อยู่ใน 30 อันดับแรก และ 3) มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและการเข้าใจดิจิทัลของประเทศไทยอยู่ที่ 80 คะแนน

สถาบัน IMD – International Institute for Management Development ได้เผยผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลของโลก หรือ WDCR ประจำปี 2566 ว่า ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 5 อันดับ ขยับขึ้นมาอยู่ที่ อันดับ 35 จากเดิมปี 2665 อยู่อันดับที่ 40 และเมื่อวิเคราะห์รายตัวชี้วัดตามปัจจัยหลัก 3 ด้าน พบว่า ปีที่ผ่านมา ที่มีอันดับดีในหลายด้าน โดยด้านเทคโนโลยี (Technology) อยู่ในอันดับที่ 15 (เดิมอันดับที่ 20) ด้านความรู้ (Knowledge) อยู่ที่อันดับ 41 (เดิมอันดับที่ 45) และด้านความพร้อมในอนาคต (Future Readiness) อยู่ที่อันดับ 42 (เดิมอันดับที่ 49)

โดยผลการศึกษาที่สำคัญ พบว่า ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญกับ 10  ตัวชี้วัด จาก 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย 

  • 1) ด้านความรู้ (Knowledge) ได้แก่ ทักษะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี (Digital/Technological Skills), การจ้างงานทางวิทยาศาสตร์และความเชี่ยวชาญทางเทคนิค (Scientific and Technical Employment) 
  • 2) ด้านเทคโนโลยี (Technology)  ได้แก่ การเริ่มต้นประกอบธุรกิจ (Starting a Business), การพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี (Development & Application of Tech) 
  • 3) ด้านความพร้อมในอนาคต (Future Readiness) ได้แก่ การค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ต (Internet Retailing), รัฐบาลดิจิทัล (e-Government), ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership), ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security), ความสามารถด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของรัฐบาล (Government Cyber Security Capacity), การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวตามกฎหมาย (Privacy Protection by Law Content)

 

ปลัดกระทรวงดีอี กล่าวว่า มี 3 ปัจจัยที่จะเป็นการแสดงให้เห็นว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยดิจิทัล คือ 1. E-government สร้างระบบนิเวศเพื่อบริการประชาชนและขับการงานด้วยข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่ามามีการใช้ระบบ Paper less ในการบริหารจัดการภายในหน่วยงานขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ 

โดยการลดใช้กระดาษนั้น ในระบบงานให้เหลือน้อยที่สุด และใช้การจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบ Cloud ซึ่งมีความปลอดภัย สามารถบริหารจัดการข้อมูลได้สะดวก การให้บริการประชาชน โดยประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนการให้บริการประชาชน ให้มีความสะดวก รวดเร็ว มั่นคงปลอดภัย บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านหน่วยงานภาครัฐ ด้วยระบบยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Digital ID) 

2.Digital Manpower ที่ผ่านมามีการหารือร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพไทยตลอดช่วงชีวิตเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีด้วยระบบนิเวศสำหรับการพัฒนาทักษะและลักษณะ Single platfrom ซึ่งจากปัจจุบันสภาพของสังคมแรงงานด้านดิจิทัล และผู้เชี่ยวชาญยังคงมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในขณะที่ตลาดด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว 

ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลคนและการรับส่งข้อมูลสำหรับบุคคลที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการยกระดับและพัฒนาศักยภาพกำลังคนถึงการพัฒนาช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลจึงจำเป็นต้องมีการสร้างกำลังพลดิจิตอลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

3.Digital Trust กำหนดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการถูกหลอกลวงออนไลน์ ด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และปราบปราม การสร้างความมั่นคงปลอดภัย และความเชื่อมั่นในการใช้งานดิจิทัล ด้วยการบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ AOC 1441 ให้บริการรับเรื่องร้องเรียนภัยออนไลน์ตลอด 24 ชม. พร้อมกับการใช้เทคโนโลยี AI ในการตรวจสอบข้อมูล ติดตามเส้นทางการเงิน รวมทั้งจัดตั้ง GCC 1111 ให้บริการสอบถามข้อมูลและรับเรื่องร้องเรียนภาครัฐ รวมถึงรับแจ้งเบาะแสข่าวปลอม อาชญากรรมออนไลน์

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...