กลับมาแล้วคร้าบ! 'Creative' ที่คิดถึง กลับมาเปิดตัวไอเทมด้านเสียงอีกครั้ง

"แค่เห็นโลโก้ก็คิดถึงอดีต" นี่คือความรู้สึกที่หลายคนเห็นพ้องต้องกันหลังจาก Creative แบรนด์ผลิตภัณฑ์ด้านเสียงที่เคยครองตลาดในประเทศไทยในอดีตได้ชนิดที่ว่า เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ถ้าบ้านไหนมีคอมพิวเตอร์ หรือสนใจด้าน Gadget หรืออุปกรณ์ไอที จะต้องมีผลิตภัณฑ์ของ แบรนด์ CREATIVE ติดบ้านอย่างน้อยหนึ่งชิ้น เรียกว่าเป็นไอเทมสามัญประจำบ้านเลยทีเดียว แต่หลังจากนั้นก็ค่อยๆ ผ่อนคันเร่งการทำตลาดในไทยไปจนหลายคนหลงลืม

ผ่านมานับสิบปี วันนี้ Creative กลับมาอีกครั้ง พร้อมแต่งองค์ทรงเครื่องใหม่กับยกทัพเทคโนโลยีด้านเสียงมาแบบไม่มีกั๊กในไลน์อัปผลิตภัณฑ์ ที่จะมาตีตลาดลำโพง หูฟัง และ Sound Bar หนนี้อย่างเอาจริง

บ็อบบี้ ซีห์ ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคอาเซียน-ครีเอทีฟ เทคโนโลยี ผู้นำด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ความบันเทิงดิจิทัล ภายใต้ "แบรนด์ CREATIVE" กล่าวว่า "วันนี้เราได้จัดงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของแบรนด์ CREATIVE ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านเสียงขั้นสูงล่าสุดที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้หลากหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มออดิโอไฟล์ที่ใส่ใจในคุณภาพเสียง รวมถึงผู้ใช้งานที่ต้องการยกระดับการฟังเพลงในชีวิตประจำวัน โดยผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดจาก "Creative" ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ มีดังนี้

  1. Sound Blaster G8 ซาวด์บาร์ที่ควบคุมเสียงและสร้างประสบการณ์เพื่อเกมเมอร์และสตรีมเมอร์โดยเฉพาะ
  2. Sound Blaster Katana V2 ซาวด์บาร์ขนาดกะทัดรัด เพรียวบาง ให้เสียงทรงพลัง
  3. Pebble X Plus ลำโพงมินิมอลในตระกูล PEBBLE
  4. Creative Aurvana Ace 2 หูฟังไร้สาย True Wireless ที่โดดเด่น หรูหรา มีคลาส พร้อมฟังก์ชันและฟีเจอร์ครบครัน"

สิ่งที่ บ็อบบี้ ซีห์ กล่าวไปถือเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นและความสำคัญในการทำตลาดในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น โดยมีบริษัท ทีเอเจ แอสโซซิเอชั่น จำกัด เป็นหนึ่งในตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Creative และ Sound Blaster ในประเทศไทย ซึ่งมีตัวแทนจำหน่ายและช่องทางการจำหน่าย ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้า

ด้าน บุญชัย ธนาสว่างกุล ฝ่ายการตลาด บริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด (ประเทศไทย) CREATIVE บอกว่า ในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในวันนี้ นับเป็นการกลับมาบุกทำตลาดไทยภายใต้ "แบรนด์ CREATIVE" โดยมีไฮไลท์สำคัญอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีนี้จนถึงต้นปี 2568 ทั้งนี้ทาง "Creative" ยังคงมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ทางด้าน audio ที่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่มีความโดดเด่นและเข้าถึงได้

ทั้งนี้กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจของ Creative ที่จะส่งมอบเทคโนโลยีล้ำสมัยและคุณภาพเสียงที่เหนือกว่า ช่วยให้ผู้ใช้ในประเทศไทยได้รับประสบการณ์เสียงที่ดีขึ้น"

ส่วน ดิเรก ชัว ผู้อำนวยการ บริษัท ทีเอเจ แอสโซซิเอชั่น จำกัด หนึ่งในตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Creative และ Sound Blaster ในประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในนามตัวแทนบริษัทฯ มีความยินดีที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี ทางทีเอเจ แอสโซซิเอชั่นและทีมงานมุ่งมั่นที่จะผลักดันผลิตภัณฑ์ภายใต้ "แบรนด์ CREATIVE" ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงธุรกิจในระดับองค์กรและภาครัฐ ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ด้านการขายมากกว่า 20 ปี

สำหรับแบรนด์ Creative ก่อตั้งขึ้นในปี 1981 โดยแบรนด์ CREATIVE เป็นผู้บุกเบิกโลกแห่งเทคโนโลยีเสียง โดยมอบประสบการณ์เสียงที่ดีที่สุดให้กับผู้คน ด้วยการทลายความเงียบของคอมพิวเตอร์พีซี จากกลุ่มผู้ก่อตั้งที่มีวิสัยทัศน์ รวมถึงทีมวิศวกรด้านเสียง นักพัฒนา และมืออาชีพทางธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ความบันเทิงดิจิทัล

Creative จึงเป็นอีกหนึ่งผู้นำของวงการพัฒนานวัตกรรม จากการผลิตซาวด์การ์ด ไปจนลำโพงคุณภาพสูง และหูฟังที่ล้ำสมัย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ทหารอิสราเอลปลิดชีพผู้นำฮามาส ‘ยายาห์ ซินวาร์’ ในกาซา

การสังหารเขาได้ถือเป็นความสำเร็จใหญ่หลวงสำหรับอิสราเอล และเป็นเหตุการณ์สำคัญในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ...

เมเจอร์ร่วมทุนทาคาระ เลเบ็น ผุดมอลตัล รีเสิร์ฟ ปิ่นเกล้ามูลค่า1.3พันล้าน

เพชรลดา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า เมเจอร์ฯถือว่าเป็นผู้นำใ...

ลงทุนกองทุนต่างประเทศแบบไหนดี ระหว่าง Hedge vs. Unhedge

การลงทุนในกองทุนต่างประเทศ นอกจากต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่มาจากสินทรัพย์ลงทุนแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงไ...

“เงินคู่คลัง” เจาะลึก หุ้นได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยของกนง.

ถือเป็นอีกเรื่องราวสุดเซอร์ไพร์ส หลัง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราด...