“อียู” ขึ้นภาษีอีวีจาก“จีน”สะท้อน กฎการค้าสวนทางเป้าหมายเน็ตซีโร่

ส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้าจีนเมื่อรวมภาษีเดิม จะทำให้อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ราว 45% ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตรถยนต์อีวีจีนต้องเสียภาษีเพิ่มอีกหลายพันล้านดอลลาร์ในการส่งออกรถไปอียู

การเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมครั้งนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพ.ย. ต่อเนื่องไปเป็นเวลา 5 ปี โดยผ่านการลงมติจาก 10 ชาติสมาชิกนำโดย ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก และมี 5 ชาติที่คัดค้านซึ่งรวมถึง “เยอรมนี” ขณะที่อีก 12 ชาติงดออกเสียง โดยมีรายละเอียดของอัตราภาษีดังนี้

SAIC 35.3% Geely 18.8% BYD 17.0% Tesla 7.8% บริษัทอื่นๆ ที่ให้ความร่วมมือในการสอบสวน อัตรา 20.7% บริษัทอื่นๆ ที่ “ไม่ให้” ความร่วมมือในการสอบสวนอัตรา 35.3%

อย่างไรก็ดี EC ยังคงเปิดช่องทางเจรจากับจีนเพื่อหาทางออกในเรื่องนี้ โดยเฉพาะประเด็นการกำหนดราคานำเข้าขั้นต่ำสำหรับรถยนต์จากจีน และการกำหนดปริมาณการนำเข้ารถยนต์ ซึ่งหากทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลง ก็อาจส่งผลให้มีการพิจารณาทบทวนภาษีดังกล่าว

รายงานข่าวก่อนหน้านี้ ระบุว่า EC มีความกังวลว่า ตลาดโลกกำลังถูกยึดครองด้วยรถ EV ราคาถูกของจีน โดยเหตุผลสำคัญที่ทำให้รถของจีนมีราคาถูกนั้นเป็นเพราะการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลจีน

ขณะที่ หอการค้าจีนใน EU ตอบโต้ว่าการที่รถ EV ของจีนมีราคาถูกและได้เปรียบทางการค้านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลจีนให้เงินสนับสนุนในการผลิตแต่อย่างใด ข้อโต้แย้งนี้สอดคล้องกับ ข้อมูล China Passenger Car Association (CPCA) ที่ระบุว่าในเดือนส.ค. 2023 การส่งออกรถยนต์ของจีนเติบโตขึ้นถึง 31% ซึ่ง EU  

โดยเฉลี่ยรถ EV ของจีนมีราคาถูกกว่ารถ EV ยุโรปถึง 20% และมียอดขายขยายตัวขึ้น 8% และคาดว่าจะแตะ 15% ในปี 2025 ซึ่งสวนทางกับผู้ผลิตรถยนต์ EV ของยุโรปที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนักเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ถูกลงมาเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรถ EV ของจีนได้ เช่น Renault ได้ประกาศว่า จะลดค่าใช้จ่ายในการผลิตรถ EV ลงให้ได้ 40% สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์เยอรมัน (VDA) เองก็แจ้งว่า EU ต้องคำนึงถึงการโต้ตอบจากจีนด้วย และควรคิดถึงวิธีการที่ทำให้ผู้ผลิตสัญชาติยุโรปมีประโยชน์มากกว่า

“กลัวว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอีกครั้ง เหมือนกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับธุรกิจแผง Solar Cell ที่จีนเข้ามาครองตลาดยุโรปอย่างง่ายดาย”

ทั้งนี้ มีข้อมูลบ่งชี้ว่า ระหว่างปี 2016-2022 รัฐบาลจีนจ่ายเงินสนับสนุนการผลิตรถ EV มากถึง 57 พันล้านดอลลาร์ จึงทำให้จีนกลายเป็นผู้ผลิตรถ EV รายใหญ่ที่สุดของโลก แม้ในปี 2022 รัฐบาลจีนได้หยุดการให้เงินสนับสนุนแล้ว แต่ยังคงมีบางส่วนที่ยังได้รับการสนับสนุนอยู่บ้าง

ความขัดแย้งระหว่าง EU กับ จีน สวนทางกับ เป้าหมายที่ทุกประเทศจะช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจกลงเพื่อทำให้อุณหภูมิของโลกไม่เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2.0 องศาเซลเซียส ภายในศตวรรษนี้ และในปี 2050 ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือที่เรียกว่า“Net Zero”

โดยในเดือน ก.ค. 2021 EC เองได้จัดทำแผนการทำงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว และเกิดเป็น “European Green Deal” หรือมาตรการลดคาร์บอนไดออกไซด์ลง 55% ในปี 2030 หรือ Fit for 55 Package ซึ่งเป็นร่างกฎหมายเพื่อรับรองเรื่องการปรับปรุงสิทธิการซื้อขายและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การส่งเสริมการคมนาคมสีเขียวทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศการกำหนดอัตราภาษีธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการกำหนดสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนการตั้งเป้าหมายการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและการออกมาตรการCBAM(Carbon Border Adjustment Mechanism)มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรปคือการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิกEU

ข้อริเริ่มดังกล่าวนี้ นำไปสู่ กฎหมายและกฎระเบียบ 6 ข้อประกอบด้วย 

1. Renewable Energyหรือกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน มีสาระสำคัญ คือ ปรับปรุงกฎหมายเพิ่มอัตราการใช้พลังงานทดแทนให้เป็น 40% ของพลังงานทั้งหมดในปี 2030 (ปัจจุบัน 20%) 

2. Sustainable/Smart Mobility หรือกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งอัจฉริยะและยั่งยืน มีสาระสำคัญ คือ ยกระดับมาตรฐานยานพาหนะที่ใช้ในกลุ่มประเทศสมาชิก EU โดยอนุญาตให้ใช้ยานพาหนะที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์เท่านั้น ภายในปี 2035

“จะส่งผลกระทบกับการส่งออกอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์และอุปกรณ์การชาร์จพลังงานสำหรับรถไฟฟ้า และรถไฮโดรเจน จากประเทศไทย รวมทั้งการปรับปรุงมาตรฐานการควบคุมมลพิษ Euro-7ส่งผลกระทบกับธุรกิจระบบเครื่องยนต์ดีเซล และเบนซิน”

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงกฎหมายควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบิน และการเดินเรือ โดยจะเริ่มในปี 2026 อันจะส่งผลกระทบกับเครื่องบินไทย การเดินเรือไทยที่เข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิก EU ซึ่งต้องมีการเตรียมพร้อมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง

3. Forestry/Biodiversity หรือกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ มีสาระสำคัญ คือมาตรการการปกป้องป่าที่เป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกอาทิ การไม่ใช้พลังงาน Biofuel เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย และข้าวโพด ที่มาจากการรุกพื้นที่ป่า หรือสร้างผลลัพธ์ทำให้ขาดแคลนอาหาร และทำให้ราคาอาหารแพงขึ้น รวมถึงการไม่ซื้อสินค้าทุกประเภทที่มาจากการรุกพื้นที่ป่า เช่น กาแฟ

4. Taxonomy หรือกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ธุรกิจสีเขียว คือการกำหนดนิยามกิจกรรมของธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็จะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศสมาชิก EU มากขึ้น เช่น การระดมทุนใน Green Bond หรือได้สิทธิพิเศษทางสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ Soft Loan

5. Due Diligenceหรือกฎระเบียบความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ คือการกำหนดกรอบการทำธุรกิจตามหลัก

บรรษัทภิบาล Sustainable Corporate Governance ธุรกิจที่ไม่สร้างผลกระทบและดูแลสิ่งแวดล้อม และธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชน

6. CBAM หรือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งมาตรการนี้มีการปรับราคาสินค้านำเข้าบางประเภท เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิก EU และปกป้องธุรกิจภายในกลุ่มประเทศสมาชิก EU ที่ต้องแบกภาระต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะต้องปฏิบัติตามมาตรการ European Green Deal เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ทำให้การแข่งขันเป็นธรรม เมื่อเทียบกับสินค้านำเข้าจากประเทศที่ 3 นอก EU ที่ราคาสินค้าถูกกว่าเพราะการผลิตไม่มีต้นทุนการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ด้านข้อมูลจากสภาเศรษฐกิจโลก (WEF) ชี้ว่า นโยบายสนับสนุนของรัฐบาล ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2015 คิดเป็นเพียง 1% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั่วโลก ตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่าในปี 2023 มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก 14 ล้านคัน คิดเป็นประมาณ 18% ของยอดขายใหม่ คาดการณ์ว่าภายในปี 2040 จะมีรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับผู้โดยสารประมาณ 240 ล้านคันบนท้องถนน

ท่ามกลางความพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายเน็ตซีโร่ ซึ่งต้องก้าวข้ามความขัดแย้งทางการค้าที่มีเดิมพันด้านความอยู่รอดของประชาชนและเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ควรขัดขวางการเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่ว่าด้วยความยั่งยืน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'อิสราเอล' ปฏิเสธ รถถังโจมตีฐานทัพ UN ในเลบานอน ชี้ 'แค่ขนทหารบาดเจ็บ'

กองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติในเลบานอน (United Nations Interim Force in Lebanon: UNIFIL) รายง...

เปิดสมรรถนะจีน ‘ไม่ใช่แค่ซ้อมแต่พร้อมรบ’

ร้อยเอกหลี่ซี่ โฆษกกองบัญชาการภาคตะวันออก กองทัพปลดแอกประชาชนจีน (พีแอลเอ) เผยว่า การซ้อมรบ Joint Sw...

‘สหรัฐ’ เตรียมส่งทหารไป 'อิสราเอล' พร้อมระบบสกัดกั้นขีปนาวุธขั้นสูง

ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน เผยเมื่อวันอาทิตย์ (13 ต.ค.) ว่า การส่งทหารไปอิสราเอล พร้อมกับระบบต่อต้าน...

วันเดียวจบ! จีนซ้อมรบเตือนไต้หวันห้ามแบ่งแยกดินแดน

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน รัฐบาลปักกิ่งประกาศเมื่อราว 18.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น 13 ชั่วโมงหลังเริ่มซ้อมรบ...