ส.ขายตรงไทย ย้ำยึดมั่นจรรยาบรรณธุรกิจ แจง ‘ดิไอคอน กรุ๊ป’ ไม่ใช่สมาชิก!

ยังคงสร้างผลกระทบในวงกว้าง สำหรับกรณีอาณาจักร “หมื่นล้านบาท” อย่าง “ดิไอคอน กรุ๊ป”(The iCon Group) ที่เติบโตอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น 5-6 ปีเท่านั้น ไม่เพียงพลิกชีวิต “บอสพอล วรัตน์พล วรัทย์วรกุล” ผู้ก่อร่างสร้างตัวกลายเป็นนักธุรกิจขายตรง มีเงินทองอู้ฟู่! ขึ้นทำเนียบเศรษฐีหมื่นล้าน

ผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่เพียงประชาชน ผู้บริโภคที่เข้าไปร่วมธุรกิจ ต้องซื้อสินค้ามาสต็อกไว้ และจ่ายเงินในการยิงโฆษณาจำนวนมาก ยังขยายวงไปยัง “นักแสดง” นักการเมือง ที่เข้ามาสวมบทเป็น “พรีเซนเตอร์” และควบ “ตำแหน่งบอส” ขององค์กร “ดิไอคอน กรุ๊ป” ด้วย

ยังไม่หมด เพราะยังบ่อนทำลายภาพลักษณ์ของ “ธุรกิจขายตรงที่ถูกต้อง” ไปด้วย

“ธุรกิจขายตรง” ก่อเกิดในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน หากย้อนอดีต ก่อนเทคโนโลยี ดิจิทัลเข้ามา “ดิสรัปต์” ธุรกิจรูปแบบเดิมๆ นี่เป็นอีกอาชีพค้าขาย ที่ไม่เพียงนำเสนอสินค้าประชิดผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายแบบถึงหน้าบ้าน เป็น “ช่องทาง” ที่บรรดาแบรนด์สินค้าเคยผ่านการทำเงินมาแล้วทั้งสิ้น

นอกจากนี้ “ธุรกิจขายตรง” ยังเป็นอีกอาชีพที่ช่วยสร้าง “รายได้เสริม” ให้กับผู้คน ซึ่งที่ผ่านมา หากเศรษฐกิจในประเทศซบเซา รายได้ชักหน้าไม่ถึงหลัง ทำให้มีคนจำนวนไม่น้อย ที่หันไปจับธุรกิจขายตรง เพื่อเพิ่มช่องทางทำเงินให้กับตัวเอง

ทว่า นับวัน “ธุรกิจขายตรง” เผชิญโจทย์ยากไม่ต่างจากหลายธุรกิจที่มี “ออนไลน์” เข้ามาดิสรัปต์ แย่งส่วนแบ่งทำเงินจากช่องทางขายสินค้า ที่แค่ “คลิกเดียว” ก็มีสินค้าส่งตรงถึงหน้าบ้าน บรรดานักธุรกิจอิสระ ผู้แทนจำหน่ายอาจถูกลดลงบทบาทลง

ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดขายตรงอยู่ระดับ 6-7 หมื่นล้านบาท การเติบโตมากบ้างน้อยบ้าง และถึงขั้น “ติดลบ” ตามภาวะเศรษฐกิจกำลังซื้อ

บอสพอล เศรษฐี และเจ้าของอาณาจักรหมื่นล้าน ดิไอคอน กรุ๊ป

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดประเด็นร้อน “ดิไอคอน กรุ๊ป” ทำให้ภาพลักษณ์ของธุรกิจขายตรงอาจ “ติดลบ” ในสายตาของผู้บริโภค ทำลายความน่าเชื่อถือต่างๆ ทำให้สมาคมการขายตรงไทย ต้องออกโรงชี้แจงเรื่อง “รูปแบบธุรกิจขายตรงที่ถูกต้อง

จากประเด็นข่าวที่เกิดขึ้นของแบรนด์ธุรกิจรายหนึ่ง ทางสมาคมการขายตรงไทย ขอชี้แจงว่าแบรนด์ธุรกิจดังกล่าว “ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมการขายตรงไทย” และสมาคมฯ ขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจขายตรง “ที่ถูกต้อง” ดังนี้

1.ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนก่อนการประกอบธุรกิจขายตรงกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)

2.ค่าธรรมเนียมในการสมัครเป็นผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงต้องมีความเหมาะสม เงินค่าสมัครจ่ายเพื่อคู่มือความรู้ เอกสารฝึกอบรม และสินค้าตัวอย่างเท่านั้น

3.มีความรับผิดชอบต่อผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงโดยมีแผนธุรกิจที่เป็นไปได้จริง และคำนึงถึงการดำเนินธุรกิจในระยะยาว

4.การจ่ายผลตอบแทน รายได้ และตำแหน่ง ให้แก่ผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง ต้องมาจากการขายสินค้าหรือบริการ "ไม่ใช่การระดมทุนหรือใช้เงินซื้อตำแหน่ง" โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นแผนธุรกิจในการจ่ายผลตอบแทนเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณา และอนุมัติ

5.เน้นการจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ ยอดขายมาจากการจัดจำหน่ายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ไม่ได้มาจากการกักตุนสินค้าของผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง และคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ

6.มีการรับประกันความพึงพอใจของสินค้า โดยลูกค้าสามารถคืนสินค้ากับบริษัทภายในระยะเวลาที่กำหนด

7.มีกฎระเบียบที่เข้มงวดในการดำเนินธุรกิจ เพื่อปกป้องผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง และผู้บริโภค

8.ผู้ประกอบการธุรกิจ ผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรง ต้องไม่กล่าวอ้างหรือโฆษณาสรรพคุณของสินค้าเกินจริง

สมาคมการขายตรงไทย มุ่งมั่นที่จะพัฒนา และส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ และผู้จำหน่ายอิสระให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ยึดมั่นจรรยาบรรณ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค อันเป็นพันธกิจที่สมาคมฯ ยึดถือปฏิบัติมากว่า 4 ทศวรรษ

ปัจจุบัน “ทศพร นิษฐานนท์” นั่งตำแหน่งนายกสมาคมการขายตรงไทย ซึ่งมีวาระการทำงานปี 2567-2569 พร้อมเคลื่อนธุรกิจขายตรงภายใต้วิสัยทัศน์ “Collaboration for Sustainable Growth” และมีการส่งสารถึงเพื่อนสมาชิกสมาคมฯ 

“เราเชื่อว่าการพัฒนาธุรกิจขายตรงให้เติบโตอย่างยั่งยืนนั้นต้องอาศัยการผนึกกำลังในหลายมิติ เริ่มจากการเพิ่มศักยภาพของสมาคมผ่านการวางแผนงานร่วมกันของคณะกรรมการบริหารสมาคม เพื่อสนับสนุน และช่วยเหลือบริษัทสมาชิกให้สามารถเติบโตอย่างมั่นคง”

ในการดำเนินงานของสมาคมฯ ยังมีการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อช่วยส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับธุรกิจขายตรงแก่ผู้บริโภค พร้อมทั้งป้องกันปัญหาจากธุรกิจแอบแฝงที่อาจสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรม

ทศพร นิษฐานนท์ นายกสมาคมการขายตรงไทย

นอกจากนี้ การผสานกำลังความเป็นหนึ่งเดียวกันของบริษัทสมาชิกจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้นักธุรกิจอิสระสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง และนำพาอุตสาหกรรมขายตรงไทยให้เป็นที่ยอมรับ และโดดเด่นในระดับประเทศด้วย

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก และภายในประเทศ ที่ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง หรือการแข่งขันที่สูงขึ้นจากรูปแบบธุรกิจออนไลน์ และอีคอมเมิร์ซที่เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นความสะดวกสบายและรวดเร็ว ผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงในประเทศไทยจึงต้องมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยี การปรับกลยุทธ์ทางการตลาด และการสร้างความเชื่อมั่นในธุรกิจ เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

โอบามา ลุยหาเสียงช่วยแฮร์ริส เลือกตั้งสหรัฐ สูสี แม้เข้าช่วงโค้งสุดท้าย

อดีตประธานาธิบดี บารัก โอบามา เชิญชวนให้ชาวอเมริกันลง คะแนนเสียงให้กับรองประธานาธิบดี คามาลา แฮร์ริส...

TikTok เลิกจ้างพนักงานหลายร้อยคน หลังใช้ AI ทำงานกรองเนื้อหาแทน ‘มนุษย์’

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า “ไบต์แดนซ์” (ByteDance) บริษัทแม่ของ TikTok ประกาศว่ากำลังเลิกจ้างพนักงาน...

‘เฮดจ์ฟันด์ชั้นนำ’ หันมาช้อนหุ้นจีน ชี้ราคาปัจจุบันยังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “กองทุนเฮดจ์ฟันด์ชั้นนำของจีน” หันมาซื้อหุ้นเทคโนโลยีจีนที่จดทะเบียนในฮ...

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชนยินดีไทยนั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษชนยูเอ็น

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ออกแถลงการณ์ในวันที่ 11 ต.ค. ความว่า ตามที่ประเทศไทยได้รับการเลือ...