Corporate AI Shift ทางไหนสำหรับองค์กร | ต้องหทัย กุวานนท์

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุค AI ยังเต็มไปด้วยอุปสรรคที่หลายองค์กรยังแก้ไม่ตก ปัญหาหลักที่เจอคือความไม่สอดคล้องระหว่างระบบที่มีอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานที่ AI ต้องการ

 เช่น ปัญหาข้อมูลที่กระจัดกระจายไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการปรับตัวของพนักงานที่ยังไม่มีทักษะเพียงพอในการใช้เทคโนโลยี AI อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

กระทั่งบริษัทขนาดใหญ่อย่าง IBM ก็ยังเจอปัญหาในการใช้ AI เข้ามาช่วยในการตัดสินใจเนื่องจากการจัดการข้อมูลภายในองค์กรยังไม่เป็นระบบเพียงพอ

บริษัทอย่าง Walmart ก็มีปัญหาในการนำเอา AI เข้ามาใช้จัดการสต็อกสินค้า เพราะการเชื่อมโยงระบบเดิมเข้ากับ AI กลายเป็นงานที่ซับซ้อนเกินกว่าที่คาดไว้

สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่องค์กรต่างๆ กำลังเผชิญในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้ AI อย่างเต็มรูปแบบ

ในปี 2567 Generative AI อย่าง Gemini ของ Google และ GPT-4 ของ OpenAI ได้พัฒนาขีดความสามารถไปอีกขั้น โดยมีเครื่องมือที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจ ในการสร้างคอนเทนต์ การบริการลูกค้า และช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสะท้อนถึง การยอมรับ AI (Adoption) เป็นเครื่องมือเสริมการทำงาน 

ในขณะที่การผนวกรวม AI (Integration) เช่น Microsoft ที่ผนวก GPT-4 เข้าไปในระบบองค์กร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแบบอัตโนมัติ เป็นตัวอย่างขององค์กรที่ผนวกรวม AI เข้ากับโครงสร้างหลักในการดำเนินงาน 

การแข่งขันในตลาดนี้ชี้ให้เห็นว่า องค์กรต่างๆ ต้องพิจารณาว่าจะต้องการใช้ AI เพื่อช่วยเสริมงาน หรือจะผนวกรวม AI เข้ากับระบบเดิมเพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานอย่างยั่งยืน

อุตสาหกรรมที่กำลังเป็นผู้นำในการผนวก AI เข้าสู่กระบวนการหลักของธุรกิจ ได้แก่ ยานยนต์ การเงิน และสุขภาพ

ซึ่งแต่ละภาคส่วนได้ใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในรูปแบบต่างๆ เช่น AI มีบทบาทสำคัญในการพัฒนายานยนต์ไร้คนขับ เช่นเดียวกับการปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการใช้ Machine Learning เพื่อคาดการณ์ปัญหาในระบบซัพพลายเชน 

ในด้านการเงิน AI ถูกใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาล เพื่อการคาดการณ์แนวโน้มทางการเงิน ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ

ในธุรกิจสุขภาพ AI ถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรค โดยช่วยแพทย์วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรวดเร็ว และยังสามารถทำนายความเสี่ยงของโรคในระยะยาวได้ 

การผนวกรวม AI ในแต่ละอุตสาหกรรมเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการใช้ AI เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

ในอนาคตอันใกล้ การใช้งาน AI จะเปลี่ยนแปลงภาพรวมของธุรกิจอย่างสิ้นเชิง AI จะเข้ามาทำหน้าที่ในส่วนของงานประจำ ทำให้พนักงานสามารถมุ่งเน้นงานเชิงกลยุทธ์มากขึ้น

ในบ้านเรา บริษัทขนาดใหญ่เช่น SCG และ CP Group ได้เคลื่อนไหวเชิงรุกด้าน AI ผ่านการลงทุนในสตาร์ตอัปด้าน

เช่น SCG ที่ลงทุนใน AnyMind Group เพื่อเสริมสร้างโซลูชันการตลาดดิจิทัลและโลจิสติกส์ และ CP Group ที่ลงทุนใน Abacus และ XAG เพื่อพัฒนาด้านการเงินและเกษตรกรรม 

แม้ว่าจะยังไม่ถึงขั้นผนวกรวม AI อย่างเต็มรูปแบบ แต่การเคลื่อนไหวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการขับเคลื่อนเชิงรุกขององค์กรไทยในการก้าวเข้าสู่ยุคการปฏิรูปองค์กรด้วย AI.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

รัฐบาลสหรัฐเปิดศึก ‘กูเกิล’ ใหญ่เกินไปจน ‘ผูกขาดตลาด’

คอนเซปต์ทางธุรกิจเรื่อง Too Big to Fail ที่เคยเชื่อกันว่าธุรกิจใหญ่เกินไปที่จะล้มได้ หรือใหญ่เกินไปท...

รู้จัก ‘การประมูลแบบดัตช์’ หนทางรอดสินค้าค้างสต็อกแฟชั่นออนไลน์

แพลตฟอร์มแฟชั่นหรูชื่อดังอย่าง Farfetch, Matchesfashion และ Yoox Net-a-Porter กำลังเผชิญกับวิกฤติทาง...

'เฮอริเคนมิลตัน' ขึ้นฝั่งฟลอริดา ทอร์นาโดหลายลูกถล่มซ้ำ

รอน เดอซานติส ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา แถลงข่าวประจำวันเมื่อเย็นวันพุธ (9 ต.ค.67) ตามเวลาท้องถิ่น ยืนยันเ...

‘ทรัมป์-แฮร์ริส’ ถล่มกันยับด้วยพายุเฮอริเคน

รองประธานาธิบดีแฮร์ริส กล่าวเมื่อวันอังคาร (8 ต.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น เธอคิดว่าอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ ...