เบิกฤกษ์ 25 ตุลาคม 67 เปิด 'วัน แบงค็อก' พลิกกรุงเทพฯ สู่มหานครระดับโลก

วัน แบงค็อก โครงการแลนด์มาร์คระดับโลก พัฒนาโดย บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้พัฒนาภายใต้แนวคิด “The Heart of Bangkok” หรือ "เมืองกลางใจ ที่ใช้ใจสร้าง" วางหมุดหมายส่งมอบประสบการณ์ใหม่ของการใช้ชีวิตทุกรูปแบบของเมืองต้นแบบแห่งอนาคต ร่วมยกระดับกรุงเทพฯ ให้ก้าวสู่ความเป็นมหานครระดับโลกและเป็นจุดหมายปลายทางที่ผู้คนทั่วโลกต้องการมาเยือน

นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า บริษัทมีความเชื่อมั่นว่าภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ร่วมสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนให้มองเห็นถึงศักยภาพของเศรษฐกิจไทย ทำให้โครงการ "วัน แบงค็อก" ได้ร่วมเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับสถานะของกรุงเทพฯ สู่การเป็น “ศูนย์กลางไลฟ์สไตล์ครบวงจรระดับโลก” (Global Integrated Lifestyle Hub)

สำหรับแนวคิดในการพัฒนา มาจากการให้ความสำคัญกับผู้คน ชุมชน สังคม และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยใช้เวลาร่วมทศวรรษในการออกแบบและพัฒนาโครงการ ที่ให้ความสำคัญทุกด้าน ตั้งแต่วางแผนโครงการให้มีความพร้อมในระยะยาว (Future-Proof) การสร้างสรรค์นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยโดยร่วมมือกับบริษัทชั้นนำทั่วโลก มุ่งสู่การเป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตที่ยั่งยืน

“วัน แบงค็อก พร้อมปรากฏสู่สายตาคนทั่วโลกในวันที่ 25 ต.ค.นี้ โดยเตรียมผนึกกำลังกับคู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ จัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมโชว์พิเศษโดย Auditoire หนึ่งในทีมจัดพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 และอีเวนต์ระดับโลกมากมาย ร่วมรังสรรค์ไฮไลต์โชว์ หนึ่งเดียวในโลกเพื่องานนี้โดยเฉพาะ”

A Rhythmic Retail Destination Like No Other!

สำหรับพื้นที่ในเมกะโปรเจค ได้รวมความที่สุดแห่งประสบการณ์การชอปปิงและไลฟ์สไตล์ครบวงจรมาไว้บนพื้นที่ค้าปลีกหรือรีเทล 3 เดสติเนชั่น ในแนวคิด The Rhythmic Experience มีพื้นที่เช่าสุทธิรวมกว่า 190,000 ตารางเมตร(ตร.ม.) 

รีเทลประกอบด้วย  Parade และ The Storeys พร้อมเปิดให้บริการ 25 ตุลาคม นี้ ส่วน ส่วน POST 1928 มีแผนเปิดให้บริการในเฟสถัดไป โดยได้วางคอนเซปต์ที่มีเอกลักษณ์ เชื่อมเป็นหนึ่งเดียวอย่างไร้รอยต่อ ทั้งการมี "Retail Loop" รวมกว่า 900 ร้านค้า ส่วน Parade และ The Storeys เน้นด้านร้านอาหารและร้านเครื่องดื่ม

ยังมี "Food Loop" รวมร้านอาหารดังจากทั่วโลกกว่า 250 ร้าน ซึ่งไฮไลต์คือร้านที่มาเปิดในไทยเป็นที่แรก เช่น วูฟแกงส์ สเต็คเฮ้าส์, พูรา บราซ่า, Ant Hole, โอยะ, อะแวร์ คอฟฟี่, ฮัทเทนโดะ, Tempura Tendon Hannosuke Tokyo และร้านที่ไม่เคยเปิดสาขาในศูนย์การค้ามาก่อน อาทิ โกปิ๊เฮี้ยะไถ่กี่, โฮเตอิ, เทมเปอร์, ฟิลล์เล็ทส์, เวจจี้ เฟิร์ส คาเฟ่, ครัวอัปษร รวมถึง กินโรล เป็นต้น

อีกทั้งมีไฮไลต์ร้านค้าและแบรนด์ชั้นนำ ร่วมสร้างประสบการณ์ "หนึ่งเดียวในโลก" เฉพาะที่ วัน แบงค็อกเท่านั้น (Made in One Bangkok) ได้แก่  King Power City Boutique มาในแนวคิด “AN EXPERIENTIAL SHOPPING JOURNEY IN THE CITY” รูปแบบใหม่ ดีไซน์การตกแต่งภายในโดยสตูดิโอฝีมือเด่นระดับโลกอย่าง Hayon Studio พื้นที่มากกว่า 5,000 ตร.ม. อยู่ในบริเวณชั้น 1-2 โซน Parade

นอกจากนี้ ยังเห็นการกลับมาของยักษ์ "อิเซตัน" กับการปั้น "มิตซูโคชิ" สไตล์ “เดปาจิกะ” ฟู้ด เดสติเนชั่นระดับเวิลด์คลาส แห่งแรกในไทย, สารพัดไทย ศูนย์รวมสินค้าไทยในรูปแบบที่พรีเมียมและอินเทรนด์, เทค เฮาส์, วัน คอนเทนต์ สโตร์ ร้านหนังสือดูเพล็กซ์ฟลอร์ คอนเซ็ปต์ใหม่แห่งแรก, วัน อัลทรา สกรีนส์ โรงภาพยนตร์ระดับ อัลตร้าลักซ์ชัวรี่ แนวคิดใหม่ “THE EXCLUSIVE MOVIE CLUB” กับความคมชัดสูงสุดจากเทคโนโลยี LASER 4K, CHANG CANVAS พื้นที่แห่งการเฉลิมฉลองช่วงเวลาพิเศษ รวมถึง แฟล็กชิพสโตร์ของ จิม ทอมป์สัน, คลับ21, สวอทช์, คอนเซ็ปต์สโตร์, Little Gaia แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ และครอบครัว

ขณะเดียวกันยังมี ห้างค้าปลีก "บิ๊กซี" (BIG C) มาในคอนเซปต์ใหม่แห่งแรก ในชื่อว่า BIG C Foodplace Bangkok Marche อีกทั้งการจัดทำ FOODSTREET  รวบรวมอาหารสตรีทฟู้ดชื่อดัง การันตีด้วยรางวัลมิชลินไกด์ รวบรวมไว้ครบ

The Finest Hospitality, Futuristic Workplace & Ultimate Living

ทางด้านโรงแรมได้จัดทำทั้ง "โรงแรมริทซ์-คาร์ลตัน กรุงเทพฯ" โรงแรมหรูระดับ 6 ดาวแห่งแรกบนถนนพระราม 4 มีแผนเปิดให้บริการเดือน พ.ย. 2567 ยังมีโรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก ถือเป็นโรงแรมแบรนด์แอนดาซแห่งแรกในกรุงเทพฯ พร้อมเปิดให้บริการช่วงปี 2568 และ เฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพ คาดว่าจะเปิดให้บริการ ในปี 2569

สำหรับพื้นที่อาคารสำนักงาน ในเฟสที่หนึ่ง ประกอบด้วย Tower 3, Tower 4 และ Tower 5 โดยปัจจุบันมียอดจองพื้นที่สำหรับอาคาร Tower 4 อยู่ที่ 80% และ Tower 3 อยู่ที่ 30% ส่วน Tower 5 เปิดให้จองแล้ว

ปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำที่ได้ลงนามสัญญาเพื่อย้ายสำนักงานเข้ามาที่โครงการ วัน แบงค็อก แล้ว เช่น บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), เอสเต ลอเดอร์ คอมพานีส์, บริษัท เอ. เมนารินี (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไลน์แมน วงใน และบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ฯลฯ 

ทางด้าน Residences at One Bangkok ที่พักอาศัยเจาะตลาดบน บนถนนวิทยุ จะเปิดให้เข้าชมปลายปี 2567 

Inspiring Urban Canvas

อีกพื้นที่สร้างสรรค์กับ "Art Loop" ได้จัดทำสู่เส้นทางแห่งศิลปะและวัฒนธรรมความยาวกว่า 2 กิโลเมตร(กม.) ครอบคลุมทั้งโครงการ พร้อมมี One Bangkok Public Art Collection ผลงานศิลปะสาธารณะจากศิลปินระดับโลกและศิลปินท้องถิ่นที่น่าจับตา มุ่งคัดสรรและออกแบบให้เข้ากับโครงการ รวมถึงมีไฮไลต์ประติมากรรมชิ้นพิเศษจาก อนิช คาพัวร์ (Anish Kapoor) และ โทนี แคร็กก์ (Tony Cragg) พร้อมด้วยการจัดทำ The Wireless House One Bangkok นิทรรศการที่ชุบชีวิตประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของประเทศไทยกลับมาเล่าใหม่อย่างร่วมสมัย บนสถาปัตยกรรมที่พาย้อนกลับในปี พ.ศ. 2456  

The One Bangkok Celebration

สำหรับการจัดงานอีเวนท์ระดับโลก ได้ร่วมมือจากทุกฝ่ายในการเปิดตัว วัน แบงค็อก ระดมเหล่าออแกไนเซอร์แนวหน้าของเมืองไทย และ Auditoire เอเจนซี่ผู้เชี่ยวชาญด้าน Brand Experience แถวหน้าของโลก มาสร้างสรรค์โชว์และอีเวนต์ระดับโลกมากมาย อีกทั้งยังหนึ่งในทีมงานจัดพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 ที่ผ่านมาด้วย 

สำหรับพิธีเปิดจะมีการแสดงดนตรีแสงสีเสียงสุดยิ่งใหญ่ พร้อมศิลปินไทยและต่างประเทศกว่า 300 ชีวิต ร่วมด้วยคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดังมากมายที่จะมาสร้างสีสันตลอดทุกสัปดาห์ และร่วมสร้างความตื่นเต้นตลอดทั้งวัน ทั้งคืน มีขึ้นระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567

นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชั่นและข้อเสนอสุดพิเศษจากร้านค้าชั้นนำมากมาย รวมทั้งโปรแกรมอีเว้นท์พิเศษต่าง ๆ ที่หมุนเวียนอย่างต่อเนื่องตลอดจนถึงสิ้นปี

ทั้งหมด จะทำให้การเปิดตัว "วัน แบงค็อก" ร่วมฉลองช่วงเวลาสำคัญของการเปลี่ยนผ่านกรุงเทพฯ สู่การเป็นมหานครระดับโลก ตามวิสัยทัศน์แห่งความยั่งยืนสู่เมืองอัจฉริยะ “เมืองกลางใจ” ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการและเติมเต็มประสบการณ์การใช้ชีวิต ในทุกมิติ

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

แบงก์ชาติอินโดนีเซียเข้าแทรกแซงค่าเงิน หลังรูเปียห์ร่วงหนักในรอบปี

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานในวันนี้ (7 ต.ค.) ว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) กำลังเข้าแทรกแซงค่าเงินรูเ...

เกิดระเบิดใกล้สถานทูตอิสราเอลในเดนมาร์ก

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน เกิดระเบิดห่างจาก สถานทูตอิสราเอล ประจำกรุงโคเปนเฮเกนของ เดนมาร์ก ราว 500 เมต...

‘ทูตไทย-ตม.เกาหลีใต้’ ร่วมมือเข้ม ‘ลดผีน้อย’ เพิ่มแรงงานถูกกฎหมาย

กระแส “แบนเที่ยวเกาหลี” ของชาวไทยกระหึ่มโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปลายปี 2566 เนื่องจากสำนักงานตรวจคนเข้...

รีวิว 'PICO 4 Ultra' แว่น VR/MR รุ่นใหม่สู่โลกเสมือนที่สมจริงยิ่งกว่าเดิม

ในยุคที่เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality - VR) และผสมความจริง (Mixed Reality - MR) กำลังเปลี่ยนแ...