‘บิทคับ’ เผย 5 ปัจจัยทำให้อาเซียนเข้าสู่ 'ยุคทอง'

"จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา" ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด กล่าวเสวนาในงาน ASEAN Economic Outlook 2025 ในหั วข้อ The Growth of Finance in Southeast Asia ว่าอาเซียนกำลังเข้าสู่ ‘ยุคทองคำ’ จาก 5 ปัจจัยสำคัญ คือ

1.ในอนาคตภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะแข็งแกร่ง 10 ประเทศเติบโตไปพร้อมกันจากข้อตกลง DEFA 

2.ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหา “สังคมสูงอายุ” ยกเว้นอาเซียน แม้ไทยกำลังเจอกับปัญหานี้ด้วย แต่ในประเทศเพื่อนบ้านที่มีคนหนุ่มสาวเป็นวัยแรงงาน เช่น ฟิลิปปินส์มีแรงงานอายุเฉลี่ย 30 ปี และเวียดนาม 25 ปี 

3.ต้นทุนการผลิตต่ำ และค่าแรงงานก็ต่ำด้วย ทำให้นักลงทุนตัดสินใจย้ายฐานการผลิตจากภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ

4.ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่มีความมั่งคั่งจากทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบ เช่น 1 ใน 3 ของแรร์เอิร์ทหรือแร่หายากอยู่ที่เวียดนาม

5.ความสงบ ในขณะที่ความสัมพันธ์ของทั่วโลกกำลังชะงักงัน อย่างจีน และสหรัฐหรือความขัดแย้งในตะวันออกกลาง แต่ไทย และอาเซียนเป็นภูมิภาคที่สามัคคี

ไทยต้องทำ ‘เศรษฐกิจรากฐาน’ แข็งแรง

การพัฒนาเศรษฐกิจประเทศมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างรากฐานที่มั่นคง ซึ่งขณะนี้เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่ต้องเร่งแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่สูงถึง 93% สูงสุดเป็นประวัติการณ์

อีกทั้ง การสูญเสียความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติต่อตลาดทุนไทยเกี่ยวกับปัญหาด้านธรรมาภิบาล ซึ่งจำเป็นจะต้องเร่งดำเนินมาตรการในการกำกับดูแล เพื่อดึงเงินทุนให้กลับเข้ามาในประเทศ

นอกจากนี้ การริเริ่มในประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม การบรรลุเป้าหมายเน็ตซีโร่ หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ มีความจำเป็นที่ไทยจะต้องปรับตัวให้เข้ากับกฎระเบียบการค้าโลกใหม่ ไม่อย่างนั้นไทยจะเผชิญกับเงินทุนไหลออกในอีก 6 ปีข้างหน้า

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยจำเป็นต้องฝึกแรงงานรุ่นใหม่ให้มีทักษะที่เหมาะสมกับอนาคต โดนเฉพาะในสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งขณะนี้ไทยผลิตบัณฑิตจบใหม่ในสาขาดังกล่าวน้อยกว่าเวียดนามถึง 50 เท่า

เม็ดเงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์ เข้าอาเซียน

อาเซียนเตรียมประกาศข้อตกลงเศรษฐกิจดิจิทัล DEFAในปี 2025 ประเด็นแรกที่คนไทยทุกคนจำเป็นต้องรู้ คือ ภายในปี 2025 ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนจะลงนามร่วมกันภายใต้

“กรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน” หรือ “DEFA” (Digital Economy Framework Agreement) ที่จะร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนให้รวมเป็นหนึ่งเดียว และจะมีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลให้อาเซียนกลายเป็นภูมิภาคที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และจะดึงดูดเม็ดเงินด้านเศรษฐกิจดิจิทัลเข้ามาในภูมิภาคจำนวนมาก

ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการเป็นประธานในการเจรจา (Negotiation Share) ของกรอบความตกลงนี้ และในปัจจุบันมีความคืบหน้าในการลงนามไปแล้วกว่า 50% ซึ่งจะเกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเปลี่ยนแปลงการซื้อขาย (Trade Digitalization) ให้เกิดการเชื่อมต่อแบบไร้พรมแดนระหว่างกันในประเทศสมาชิกอาเซียน

DEFA ถือเป็นข้อตกลงที่มีความสำคัญเพราะมีลักษณะ Legally Binding (ทุกฝ่ายมีผลผูกพันตามกฎหมาย) ที่มีผลบังคับใช้กับทุกฝ่ายในข้อตกลงให้เดินหน้าตามกรอบความร่วมมือเดียวกันเป็น One ASEAN ที่จะดึงดูดความสนใจของนักลงทุน และนักพัฒนาจากทั่วโลกให้เข้ามาสู่ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งถูกประมาณการว่า เพียง 60% ของการลงนาม DEFA นี้สามารถดึงเม็ดเงินเข้าภูมิภาคได้กว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.2 หมื่นล้านบาท)

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

แบงก์ชาติอินโดนีเซียเข้าแทรกแซงค่าเงิน หลังรูเปียห์ร่วงหนักในรอบปี

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานในวันนี้ (7 ต.ค.) ว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) กำลังเข้าแทรกแซงค่าเงินรูเ...

เกิดระเบิดใกล้สถานทูตอิสราเอลในเดนมาร์ก

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน เกิดระเบิดห่างจาก สถานทูตอิสราเอล ประจำกรุงโคเปนเฮเกนของ เดนมาร์ก ราว 500 เมต...

‘ทูตไทย-ตม.เกาหลีใต้’ ร่วมมือเข้ม ‘ลดผีน้อย’ เพิ่มแรงงานถูกกฎหมาย

กระแส “แบนเที่ยวเกาหลี” ของชาวไทยกระหึ่มโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปลายปี 2566 เนื่องจากสำนักงานตรวจคนเข้...

รีวิว 'PICO 4 Ultra' แว่น VR/MR รุ่นใหม่สู่โลกเสมือนที่สมจริงยิ่งกว่าเดิม

ในยุคที่เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality - VR) และผสมความจริง (Mixed Reality - MR) กำลังเปลี่ยนแ...