โลกตั้งรับ ‘เฟด' ลดดอกเบี้ย 0.25% 'พุธนี้' พร้อมจับตาแบงก์ชาติทั่วโลก

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานความเคลื่อนไหว ทั่วโลกจับตาการประชุมดอกเบี้ยนโยบาย FOMC ของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ในวันที่ 17-18 ก.ย.67 นี้ ที่จะเริ่มต้นขึ้นในอีก 36 ชั่วโมงหลังจากนี้

การประชุมของเฟดครั้งนี้ถือเป็นจุดสนใจหลักของนักลงทุนทั่วโลก ทุกคนต่างจับตามองว่าเฟดจะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ตามที่คาดการณ์กันไว้หรือไม่ หรือจะเลือกใช้นโยบายที่เข้มข้นกว่านั้น โดยลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.5% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัว นอกจากนี้ นักลงทุนยังให้ความสำคัญกับสัญญาณที่บ่งบอกถึงทิศทางนโยบายการเงินของเฟดในอนาคตอีกด้วย

ทำให้ธนาคารกลางในกลุ่ม G20 และกลุ่มประเทศอื่นๆ กำลังเตรียมปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน นำโดยบราซิลมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีครึ่ง ขณะที่ธนาคารอังกฤษกำลังประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับลดอัตราการคลายตัวของงบดุล

สหรัฐ

นักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg Economics นำโดย แอนนา หว่อง, สจ๊วร์ต พอล, เอลิซา วิงเกอร์, เอสเตลล์ โอ และคริส จี คอลลินส์ ได้วิเคราะห์ท่าทีของเฟดโดยคาดการณ์ว่า พาวเวลมีความต้องการที่จะลดดอกเบี้ย 0.5% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 

อย่างไรก็ตาม จอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ซึ่งเป็นสมาชิก FOMC ไม่ได้ส่งสัญญาณสนับสนุนการลดดอกเบี้ยอย่างชัดเจนก่อนการประชุมสิ้นสุดลง ทำให้พาวเวลอาจไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากคณะกรรมการในการตัดสินใจครั้งนี้

ทั้งนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับยอดขายปลีกสหรัฐในเดือนสิงหาคม ที่กำลังจะเปิดเผยออกมา โดยเฉพาะภาคยานยนต์อาจเผชิญกับความท้าทาย ภาคค้าปลีกอื่นๆ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่คณะกรรมการ FOMC จะพิจารณาในการประชุมครั้งนี้

เอเชีย

  • ญี่ปุ่น

สำหรับการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 20 ก.ย.67 ขณะที่คาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการ BOJ และกรรมการคนอื่นๆ ของ BOJ ได้ส่งสัญญาณก่อนหน้านี้ว่า BOJ อาจจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการติดตามผลกระทบของความผันผวนในตลาดการเงินที่จะมีต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ



ข้อมูลล่าสุดชี้ให้เห็นว่า "เงินเฟ้อ" ของญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันให้ BOJ พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ 

อย่างไรก็ดี แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าอัตราดอกเบี้ยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่คำอธิบายของผู้ว่า BOJ  เกี่ยวกับแนวโน้มของนโยบายการเงิน อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนต่อ “ค่าเงินเยน” ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนที่ถือเงินเยน เนื่องจากค่าเงินเยนทำผลงานได้อย่างโดดเด่นเหนือสกุลเงินอื่นในกลุ่มเดียวกัน

  • จีน 

คาดว่าธนาคารกลางจีน (PBOC) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิม โดยจีนจะคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง 1 ปี แต่ก่อนหน้านี้ จีนประกาศลดดอกเบี้ยมาแล้วถึง 2 ครั้ง ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ที่ผ่านมา

  • อินโดนีเซีย

คาดว่าธนาคารกลางอินโดนีเซียมีแนวโน้มจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน 

  •  ไต้หวัน

จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีที่ 19 ก.ย.67 นี้ โดยคาดว่าอาจจะมีการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ยุโรป

  • อังกฤษ

ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะประชุมในวันพฤหัสบดี ที่ 19 กันยายน 67 นี้ ท่ามกลางการจับตาว่าอาจจะมีการเดินหน้าปรับลดดอกเบี้ยลงอีกเป็นครั้งที่สองหรือไม่ หลังจากเมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา BOE เพิ่งประกาศลดดอกเบี้ยซึ่งอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี ลง 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 5.0%

ก่อนหน้านี้ BOE เคยส่งสัญญาณว่าอาจจะมีการปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกในปีนี้ แต่สำนักวิเคราะห์บางราย เช่น ING คาดการณ์ว่าอังกฤษอาจจะลดดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนแทน โดยนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าเป็นเพราะอัตราการเติบโตของค่าแรงหยุดการปรับตัวลงแล้ว และเงินเฟ้อในภาคบริการก็สูงขึ้น 

อ้างอิง Bloomberg

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จีนเริ่มใช้มาตรการตอบโต้บริษัทสหรัฐ 9 ราย กรณีขายอาวุธให้ไต้หวัน

กระทรวงการต่างประเทศของจีน ประกาศ มาตรการตอบโต้บริษัท 9 แห่งที่มีความเชื่อมโยงกับกองทัพสหรัฐ กรณีขาย...

‘สหราชอาณาจักร-ไทย’ลงนามข้อตกลงการค้ากระตุ้นการส่งออก

สหราชอาณาจักรและไทยร่วมลงนามการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้น (ETP) เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน...

ขอเพียงกำลังใจ

ขอเพียงกำลังใจ ผลงานการคว้าชัยชนะ 2 นัดรวด ทำให้แข้งฟุตซอลทีมชาติไทยของเรา บรรลุเป้าหมายแรก ในการผ่า...

จังหวัดภูเก็ต ‘เป็นเกาะ’ ทำไมถึงมีน้ำท่วม ?

ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ภูเก็ตเป็นเกาะทำไมน้ำท่วม ? รองศาสตราจารย์ รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ หัวหน้าศูน...