นิวยอร์กไทมส์ รายงาน เพจเจอร์ฮิซบอลเลาะห์มาจากไต้หวัน

นิวยอร์กไทมส์ รายงานอ้างแหล่งข่าวอเมริกัน และเจ้าหน้าที่ผู้ไม่เปิดเผยนามจำนวนหนึ่งว่า วิทยุติดตามตัว (เพจเจอร์) ที่ระเบิดขึ้นพร้อมกันในเลบานอนเมื่อวันอังคาร (17 ก.ย.67) สั่งจากบริษัทโกลด์อพอลโล ผู้ผลิตไต้หวัน แล้วถูกอิสราเอลเข้าไปจัดการก่อนมาถึงเลบานอน

ก่อนหน้านี้แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดกับฮิซบอลเลาะห์รายหนึ่งเผยกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า “เพจเจอร์ที่ระเบิดเป็นชุดที่เพิ่งขนส่งมาเมื่อเร็วๆ นี้ ฮิซบอลเลาะห์นำเข้ามา 1,000 เครื่อง” ซึ่งดูเหมือน “ถูกจารกรรมที่ต้นทาง”

นิวยอร์กไทมส์รายงานด้วยว่า เพจเจอร์ราว 3,000 เครื่องถูกสั่งมาจากบริษัทโกลด์อพอลโล ส่วนใหญ่เป็นรุ่น AP924

นายเอลิจา แม็กเนียร์ นักวิเคราะห์การทหาร และความมั่นคงในกรุงบรัสเซลส์ เผยกับเอเอฟพี

"การที่อิสราเอลจะฝังระเบิดลงไปในเพจเจอร์ชุดใหม่ พวกเขาต้องเข้าถึงซัพพลายเชนของอุปกรณ์เหล่านี้

หน่วยข่าวกรองอิสราเอลได้แทรกซึมเข้าไปในกระบวนการผลิตเพิ่มส่วนประกอบระเบิด และกลไกการสั่งการจากระยะไกลเข้าไปในเครื่องเพจเจอร์ โดยไม่ทำให้เกิดความสงสัย" นักวิเคราะห์กล่าวพร้อมชี้ความเป็นไปได้ที่ภาคีฝ่ายที่ 3 ผู้ขายเพจเจอร์ อาจเป็นแนวหน้าหน่วยข่าวกรองที่อิสราเอลจัดตั้งขึ้นเพื่อการนี้

ด้านอิสราเอลยังไม่แสดงความเห็นใดๆ กับเหตุเพจเจอร์ระเบิดทั่วเลบานอน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9 คน รวมถึงเด็กหญิงหนึ่งคน บาดเจ็บอีกราว 2,800 คน หนึ่งในนั้นคือ ทูตอิหร่านประจำกรุงเบรุต

 

 

 


พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

แหล่งข่าวเผย อิสราเอลแจ้งสหรัฐจะทำอะไรบางอย่างในเลบานอน!

เมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) กระทรวงสาธารณสุขเลบานอนแถลงว่า วิทยุมือถือ (ว.) ที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ใช้ ได้ระเ...

ว.ฮิซบอลเลาะห์ระเบิด แปะฉลาก ‘เมด อิน เจแปน’

ภาพถ่าย ว.ฮิซบอลเลาะห์ที่ระเบิดเมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) พบฉลาก “ICOM” และ “เมด อิน เจแปน” สำนักข่าวรอยเ...

'บิลลี ไอลิช-โจ โรแกน' เชียร์'คามาลา แฮร์ริส'

เว็บไซต์บลูมเบิร์กรายงาน ป็อปสตาร์ “บิลลี ไอลิช” โพสต์คลิปเคียงข้างพี่ชายบนอินสตาแกรม กระตุ้นให้ผู้ต...

‘รถไฟ’ กระจายความเจริญ กรณีศึกษา: โฮคุริคุ ของญี่ปุ่น | กันต์ เอี่ยมอินทรา

ได้เห็นการเชื่อมต่อด้วยระบบรางระหว่างกรุงเทพกับลาวแล้วก็อดคิดถึงรถไฟต่างประเทศไม่ได้ เพราะรถไฟไทยเรา...