“จุลพันธ์” คาด 12-13 ก.ย. แถลงนโยบาย-ประชาพิจารณ์เอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ เสร็จแล้ว

“จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์” ชี้ทีม รมต.คลังสายแข็ง พร้อมลุยต่อขับเคลื่อนงานที่ค้างให้จบ คาด 12-13 ก.ย. แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา เผยทำประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจรเสร็จเรียบร้อยแล้ว คนเห็นชอบสูงกว่า 80% เตรียมนำข้อคิดเห็นปรับปรุง พูดคุยพรรคร่วมรัฐบาล ก่อนชง ครม.

วันที่ 5 ก.ย. 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงการทำงานว่า หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณในวันที่ 6 ก.ย. จะต้องมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายใน 15 วัน แต่เรารู้ว่าบ้านเมืองอยู่ในสุญญากาศนานไม่ได้ จึงมีการเตรียมแนวนโยบายของรัฐบาลไว้ล่วงหน้าและขณะนี้เสร็จแล้ว และเข้าใจว่าในวันที่ 11 ก.ย. จะมีการเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎร จากนั้นวันที่ 12-13 ก.ย. จะเป็นการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยทาง ครม. ก็พร้อมที่จะตอบข้อซักถามในการอภิปราย เมื่อเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายตามขั้นตอนทางกฎหมาย ครม. ชุดใหม่ก็จะมีการประชุม ครม. นัดแรก เพื่อเดินหน้าประเทศต่อไป

นายจุลพันธ์ กล่าวว่า สำหรับทีม รมว.คลัง ชุดนี้แข็งอยู่แล้ว และทำงานได้ดี โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลัง ก็มีความถนัดในเรื่องของตลาดทุน และภาคเอกชน ส่วนนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง ก็มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวิชาการ จึงน่าจะเป็นส่วนผสมที่ลงตัว และโชคดีที่ได้ทำงานต่อเนื่อง เชื่อว่าจะช่วยผลักดันด้านเศรษฐกิจต่อไปได้

นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ส่วนนโยบายยังมีอีกหลายอย่างที่ยังค้างอยู่เยอะ และมีภารกิจที่ต้องขับเคลื่อนอีกหลายอย่าง ทั้งในเรื่องนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งโครงการดิจิทัลวอลเล็ต และในเรื่องอื่น ๆ ที่ทำไว้ เช่น กองทุนวายุภักษ์ Financial Hub และอีกหลาย ๆ อย่างเยอะมาก หลาย ๆ อย่างมันจ่อมาแล้ว เรามีหน้าที่ต้องทำให้จบโดยเร็ว

...

นายจุลพันธ์ ยังกล่าวถึงนโยบายสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex) ว่า ไม่ใช่โจทย์ใหม่เป็นสิ่งที่คิดมานานแล้ว และเริ่มต้นมาจากสภาฯ ที่มีการศึกษาผลกระทบต่าง ๆ และส่งมาให้ยัง ครม. และ ครม. จึงได้สั่งการให้ดำเนินการทำประชาพิจารณ์

นายจุลพันธ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ได้มีการทำประชาพิจารณ์ตัวร่าง พ.ร.บ. สถานบันเทิงครบวงจรเสร็จเรียบร้อยแล้ว และเข้าใจว่ามีคนที่เห็นชอบน่าจะสูงถึง 80% ตอนนี้สิ่งที่เราทำก็เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายให้มีการแก้ไขปรับปรุงคือการจัดทำประชาพิจารณ์ โดยจะได้นำความคิดเห็นจากประชาพิจารณ์ ซึ่งมีหลายประเด็นที่ส่งความเห็นมา แล้วเป็นประเด็นที่น่าสนใจนำไปปรับตามนั้น จากนั้นก็มีหน้าที่ในการส่งเข้า ครม. โดยทุกพรรคร่วมรัฐบาลจะต้องมีการพูดคุยกันก่อนว่าโอเคหรือไม่ ถ้าพรรคร่วมรัฐบาลและ ครม. เห็นชอบตรงกันก็ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างเพื่อส่งไปสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ไม่ได้รีบไม่ได้อะไรเลย ขั้นตอนซึ่งทุกอย่างก็เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอน ดูว่าจังหวะเวลาไหนที่มีความเหมาะสมที่สุด

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...