'ณัฐพงษ์' ชงปฏิรูประบบภาษี กังวลกู้กระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่สร้างอนาคตประเทศ

ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาฯ วาระพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 วาระสอง นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน อภิปรายว่า ปัญหาใหญ่ของประเทศไทยขณะนี้ คือการจัดเก็บรายได้ จัดเก็บภาษีต่อจีดีพี จาก 16 เปอร์เซ็นต์เหลือ 14 เปอร์เซ็นต์ และดูเหมือนจะจัดเก็บภาษีจากคนจนมากกว่าเก็บคนรวย อย่างไรก็ตาม ตนเป็นห่วงว่าการกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น จะทำให้เกิดวัฏจักรขาลง เพราะขาดพื้นที่การคลังระยะยาว ไม่สามารถสร้างรายได้ในอุตสาหกรรมในอนาคต ทำให้ในอนาคตรัฐเก็บภาษีได้น้อยลงไปอีก 

นายณัฐพงษ์ กล่าวต่อว่า ส่วนวิธีการแก้ไขก็ต้องปฏิรูประบบภาษีและระบบงบประมาณ ต้องตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรให้รัฐจัดเก็บภาษีเพิ่มสัดส่วนรายได้ต่อจีดีพี ลดความเหลื่อมล้ำ พูดง่ายๆคือพุ่งเป้าเก็บคน 1%ในส่วนที่เหมาะสม  เพื่อกระจายทำสวัสดิการให้ประชาชน พัฒนาต้นทุนมนุษย์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างระยะยาวให้ประเทศเป็นวัฏจักรขาขึ้น 

“สิ่งที่พวกเราต้องตั้งคำถามไปถึงรัฐบาลนี้และรัฐบาลหน้า นอกจากข้อเสนอปฏิรูประบบภาษี อยากเห็นการลดรายจ่ายประจำ จะทำอย่างไรให้พวกเรามั่นใจว่า ไม่ใช่กู้เพื่อแจกเพียงอย่างเดียว แต่กู้เพื่ออัพสกิล พัฒนาต้นทุนมนุษย์ด้วยเหตุผลข้างต้น ผมขออนุญาตไม่เห็นด้วยกับกมธ.เสียงข้างมาก และขอปรับลดกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กู้จนชนเพดาน ไม่สร้างอนาคตตให้กับประเทศ” หัวหน้าพรรคประชาชน อภิปราย.
 

จุลพันธ์ ยอมรับความห่วงเก็บรายได้ไม่เข้าเป้า ประเมินหากผิด ตัวเลขไม่ถึงหมื่นล้าน

ทั้งนี้ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ฐานะรองประธานกมธ. คนที่สอง  ชี้แจงว่า งบประมาณปี 2568 โดยข้อห่วงใยที่มีในตัวเลขการจัดเก็บรายได้ โดยเฉพาะเรื่องภาษีสรรพสามิต ที่จัดเก็บพลาดเป้าเกิดจากการที่รัฐบาลตัดสินใจช่วยประชาชน ในเรื่องของการลดราคาพลังงานในประเภทต่างๆ ทั้งนี้ ยืนยันว่ากระทรวงการคลัง สามารถบริหารจัดการการจัดเก็บรายได้เพิ่มเติม โดยในปลายปีงบประมาณ 2567 อยู่ในกรอบน่าจะตามเป้า หากจะผิดพลาดบวกลบไม่ได้อยู่ในจุดที่มีนัยยะสำคัญหรือไม่เป็นตัวเลขหลักหมื่นล้าน

"ที่ท่านเป็นห่วง และไม่กระทบกับการจัดเก็บรายได้ในปี 2568 ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การดำเนินการต่างๆ โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในงบฯปี 68 จะทำให้รัฐบาลสามารถเพิ่มการจัดเก็บรายได้ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นจะเพิ่มความสามารถของรัฐบาลในการมาชำระหนี้สินในอนาคต ลดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีต่อไป" นายจุลพันธ์ชี้แจง 

นายจุลพันธ์ อภิปรายต่อว่า ในประเด็นข้อห่วงใยเรื่องการขาดดุลเพิ่มเติมสูงกว่าปกติ แต่หากรัฐบาลไม่ดำเนินการใดๆ ไม่ได้ยืนยันว่าประเทศไทยจะพ้นกับความเสี่ยง  เพราะความเสี่ยงในรูปแบบอื่นยังเกิดขึ้น คือความเสี่ยงที่ประชาชนจะไม่ได้รับบริการการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือการช่วยเหลือในภาวะเศรษฐกิจต่างๆ ในอนาคต

ทั้งนี้หลังการอภิปรายและชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติเห็นด้วยกับมาตรา 4 ตามคณะกมธ. ด้วยคะแนน 266 ต่อ147 งดออกเสียง 1 เสียง.

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...