‘อุตฯเหล็กไทย’ หืดขึ้นคอ ต่างชาติรุกตลาด-ยึดฐานผลิต

จากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลกที่มีผลกระทบ ผนวกประเทศมหาอำนาจอย่างจีนที่ก้าวเป็นผู้นำเทคโนโลยีสามารถผลิตสินค้าในปริมาณมหาศาลสามารถคุมต้นทุนได้จีนจึงเข้ามาครองส่วนแบ่งทางการตลาดจำนวนมากทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย

จากข้อมูลสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พบว่าในภาพรวมแม้อุตสาหกรรมเหล็กในไทยจะมีการเติบโตแต่ก็มีโรงงานไม่น้อยต้องปิดตัวลง เพราะด้วยต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ทั้งค่าไฟ-น้ำมัน

อีกทั้งจากภาคอสังหาริมทรัพย์จีนที่มีความต้องการใช้เหล็กสัดส่วน 30% ของความต้องการเหล็กทั้งประเทศ อ่อนตัวลง ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กในภาพรวมของจีนลดลงด้วย

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เล่าว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ผลิตเหล็กจีนซึ่งมีความได้เปรียบเชิงต้นทุน มีการส่งออกมากขึ้น โดยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค.-มิ.ย.) ยอดการส่งออกสินค้าเหล็กสำเร็จรูปที่ 53.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

และหากยังคงส่งออกในระดับนี้ คาดว่าการส่งออกรวมในปี 2567 จะเท่ากับ 106.8 ล้านตัน ใกล้เคียงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 110 ล้านตัน เหมือนปี 2558 หรือสูงสุดรอบ 9 ปี

ในขณะที่ การนำเข้าเหล็กของไทยในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2567 มีปริมาณการนำเข้าสินค้าเหล็กสำเร็จรูปจากจีนยังสูงเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ปริมาณ 2.397 ล้านตันเพิ่มขึ้น 0.9% หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 43% ของปริมาณการนำเข้าของไทย

ในขณะที่อัตราการใช้กำลังผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กไทยต่ำสุดรอบ 7 ปี โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 (ม.ค.-มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 29.3% เท่านั้นโดยปี 2566 มีอัตรการใช้กำลังการผลิตเพียง 31.2% ส่วนปี 2565 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 33.4%

สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) พบสินค้าไม่ได้มาตรฐานกว่า 344 ล้านบาทและพบด้วยว่าเหล็กและวัสดุก่อสร้างสูงเป็นอันดับ 1 มูลค่ากว่า 126 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 37%

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเหล็กไทยกำลังเผชิญสถานการณ์บริษัทเหล็กจีนเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานในไทย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก ส.อ.ท.ได้รวบรวมข้อมูล พบว่ามีบริษัทจีนเข้ามาลงทุนขนาดกำลังการผลิตรวม 12.42 ล้านตันในขณะที่ความต้องการใช้เหล็กของไทยในปี 2567 อยู่ที่ 16 ล้านตันเท่านั้นการผลิตเหล็กตอนนี้จึงใกล้เคียงกับความต้องการใช้ในประเทศแล้ว

ต้องยอมรับว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายที่ต้องหาตลาดส่งออกมากยิ่งขึ้น แต่ด้วยผู้ผลิตยังต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นวิกฤตินี้ทำให้ผู้ผลิตเหล็กสัญชาติไทยต้องทยอยปิดกิจการ เพราะโดนแย่งตลาดทั้งในและต่างประเทศ

หวังว่าภาครัฐจะเห็นถึงความสำคัญไม่เปิดกว้างให้ต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานเหล็กในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากไปกว่าเดิม... ไม่เช่นนั้น ธุรกิจเหล็กในไทยอาจต้องปิดกิจการจนหมดและท้ายที่สุดจะกลายเป็นผู้ผลิตเหล็กจากต่างชาติที่รุกเข้ามาทำธุรกิจนี้แทนคนไทย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ฮิซบอลเลาะห์ระส่ำวันที่ 2 ว.ระเบิด ดับ 20 ราย l World in Brief

เลบานอนระเบิดอีก รอบนี้เป็น ว.ฮิซบอลเลาะห์ วิทยุมือถือที่กลุ่มติดอาวุธฮิซบอลเลาะห์ใช้ ระเบิดทั่วภาคใ...

AI Governance ก้าวแรกที่อย่ามองข้ามสำหรับทุกองค์กร

ในขณะที่แต่ละองค์กรกำลังตื่นตัวกับการวางแผนหรือเริ่มประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ากับกระบวนการแล...

ภาคอีสานครึ่งแรกซัพพลาย5หมื่นล้านโคราชขายบ้านสูงสุดขอนแก่นคอนโดขายดี

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์(RE...

ด่วน! เฟดลดดอกเบี้ย 0.5% ครั้งแรกในรอบ 4 ปี ตลาดหุ้นสหรัฐเด้งรับก่อนปิดลบ!

ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง 0.5% เมื่อวันพุธที่ 18 ก.ย. 2567 ถือเป็นการเริ่...