เทรนด์แบงก์ชาติทั่วโลกทยอยลด ‘คลัง’ ฟันธงดอกเบี้ยขาลง

ทิศทางดอกเบี้ยของโลกอยู่ในช่วงขาลง ซึ่งธนาคารกลางต่างจับตามองผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ผ่านมา และธนาคารกลางของหลายประเทศทยอยปรับลดดอกเบี้ยลง โดยธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 6% เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2567 เป็นการปรับลดก่อนที่จะรู้ผลการประชุมของเฟด และปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 3 ปี

ในขณะที่ที่ก่อนหน้านี้ธนาคารกลางของหลายประเทศปรับลดดอกเบี้ยลง โดยธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 12 ก.ย.2567 ลง 0.25% มาอยู่ที่ 3.50% รวมถึงธนาคารกลางของเดินมาร์กปรับในวันเดียวกันลง  0.25% มาอยู่ที่ 3.10%

ส่วนธนาคารประชาชนจีน ลดดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 15 ส.ค.2567 ลง 0.15% มาอยู่ที่ 2.50% (MLF) โดยในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา มีธนาคารกลางที่ยังลดดอกเบี้ยนโยบาย ประกอบด้วย นิวซีแลนด์ ลด 0.25% มาอยู่ที่ 5.25% เมื่อวันที่ 14 ส.ค.2567 เป็นครั้งแรกรอบ 4 ปี 

รวมถึงธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ลด 0.25% มาอยู่ที่ 6.25% เมื่อวันที่ 15 ส.ค.67 ลงครั้งแรกรอบ 4 ปี และธนาคารกลางสวีเดน ปรับลด 0.25% เหลือ 3.50% เมื่อวันที่ 20 ส.ค.2567 เป็นการปรับลดครั้งที่ 2 ของปีนี้

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ทิศทางการปรับดอกเบี้ยมองว่าในส่วนประเทศไทยแม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีความเป็นอิสระ แต่ถ้าถามว่าจะส่งผลกับประเทศไทยอย่างไร 

ทั้งนี้ ในมุมนักวิชาการมองว่าไทยต้องพิจารณาการดำเนินนโยบายการเงิน หากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจประกาศลดอัตราดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับสหรัฐค่อนข้างมาก โดยทุกครั้งที่สหรัฐเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยจะกระทบเงินทุนไหลเข้าและไหลออกของไทยพอสมควร โดยกรณีสหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อน แต่กรณีลดอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เงินบาทแข็งค่า

ขณะที่ปัจจุบันค่าเงินบาทแข็งมาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ผนวกกับเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามเพิ่มขึ้น และแนวโน้มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่จะไหลเข้ามา คงจะต้องพิจารณาหลายด้าน ทั้งค่าเงินและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ปัจจัยเหล่านี้ต้องปล่อยให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)  หารือ

“ประเทศไทยถือเป็นแดนสวรรค์ของคนที่อยากเอาเงินมาเก็บไว้ เพราะประเทศไทยไม่ว่าเศรษฐกิจจะโตหรือไม่ เงินเราก็เป็นบวกตลอดเวลา ทั้งยังมีสถานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ดี” นายพิชัย กล่าวต่อว่า

“คลัง” ชี้ถึงเวลาเพิ่มกรอบเงินเฟ้อ

สำหรับการหารือเรื่องกรอบเงินเฟ้อระหว่างกระทรวงการคลังและ ธปท.ปลายปี 2567 ได้นัดพูดคุยกันแล้วและหารือกันต่อเนื่องผ่านทางโทรศัพท์บ้างและการนัดพบกัน

ทั้งนี้ จุดยืนของกระทรวงการคลัง มองว่า วันนี้สถานการณ์ทุกอย่างเริ่มดีขึ้น และเมื่อรัฐบาลประกาศนโยบายที่ชัดเจนสร้างความเชื่อมั่นกลับมา สะท้อนจากการฟื้นตัวของตลาดทุน ดังนั้นในภาพรวมจึงมองว่าเป็นจังหวะเหมาะที่จะเร่งให้เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้นอีกหน่อย

โดยวันนี้เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวแล้วแต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นก็ได้เวลาแล้วที่เงินเฟ้อควรจะเพิ่มขึ้นอีก ส่วนจะใช้เป็นค่ากลางหรือเป็นการกำหนดกรอบสูง-ต่ำก็อยู่ที่พิจารณา

“เงินเฟ้อไทยวันนี้ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่มองไปข้างหน้าทีไรก็มีแต่คาดการณ์ว่าเดี๋ยวจะขยับสูงขึ้น แต่ก็ยังไม่เกิดขึ้นสักที ซึ่งเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำอยู่เรื่อยมา”

นายพิชัย กล่าวว่า เงินเฟ้อต่ำถ้ามองในมุมผู้ซื้อก็คงมองว่าดี ทำให้ซื้อของในราคาถูก ขณะที่มุมมองผู้ขายจะไม่ค่อยชอบ สังคมเราผูกกันหมด ถ้าฝั่งผู้ขายมีปัญหา ต้องหยุดผลิตไปทำให้ของขาดตลาด สุดท้ายผู้บริโภคก็จะเจอปัญหาของแพง

ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อต้องอยู่ระดับที่เหมาะสม ซึ่งระดับนั้นควรเป็นเท่าไหร่จะต้องดูสถานการณ์โลก ประเทศเพื่อนบ้านและคู่แข่งด้วย

ผลประชุมเฟดสะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐ

นายกรรณ์ หทัยศรัทธา นักกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ทั่วโลกกำลังจับตาการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดครั้งนี้ไม่ว่าผลการปรับดอกเบี้ยจะออกมาอย่างไรต่างมีผลต่อนัยยะทางเศรษฐกิจของสหรัฐ 

ทั้งนี้ช่วงบ่ายวันที่ 18 ก.ย.2567 หุ้นไทยเริ่มมีแรงเทขายออกมา เนื่องจากมีความกลัวว่าเฟดจะทำอะไรที่ผิดพลาดหรือไม่ ซึ่งจังหวะนี้นักลงทุนควรเพิ่มพอร์ตในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากดอลลาร์ออ่นค่า บาทแข็งค่า โฟลด์ไหลเข้า และมีกองทุนวายุภักษ์ ซึ่งมีข่าวดีค่อนข้างมาก เพราะควรเลือกลงทุนในหุ้นแลกการ์ดในประเทศ

นายสงวน จุงสกุล ผู้บริหารฝ่ายธุรกิจสายงานตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาตลาดรับรู้การลดดอกเบี้ยค่อนข้างมากเป็นส่วนใหญ่แล้ว ดังนั้น กรณีเฟดลดดอกเบี้ยลงคงไม่ทำให้ตลาดผันผวนมากนักโดยอาจเห็นการเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์อ่อนค่ามากระยะเวลาสั้นเช่นเดียวกับเงินบาทที่คาดว่าจะเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นที่ระดับ33.10 บาทต่อดอลลลาร์ จากปัจจุบัน33.40 บาทต่อดอลลาร์

หวัง กนง.ลดดอกเบี้ยปีนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง

บล.เอเชีย พลัส ระบุว่า รายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐชุดล่าสุดออกมาทั้งยอด RETAIL SALES และ INDUTIAL PRODUCTION ยังสูงกว่าคาด ซึ่งยังไม่ได้สะท้อนเศรษฐกิจชะลอตัวลงแรงอย่างมีนัย

ทั้งนี้ การทยอยปรับลดดอกเบี้ยในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว บวกกับเงินบาทที่มีการแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ซึ่งแม้จะเป็นผลดีต่อการเรียกความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน แต่ในเชิงเศรษฐกิจมักกระทบภาคส่งออก ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับลดดอกเบี้ย โดยเป็นการเพิ่มคาดหวังว่าจะเห็น กนง.ปรับลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้ง ราว 0.25%

อย่างไรก็ตามผลการประชุมเฟดครั้งนี้คาดว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปี โดยในกรณีที่มีการลดดอกเบี้ยลงแรงและเร็ว อาจส่งสัญญาเศรษฐกิจชะลอตัวแบบ HARD LANDING แต่ถ้าดอกเบี้บลดลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ท่ามกลางเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ ซึ่งสะท้อนว่าเฟดได้ทำ SOFT LANDING สำเร็จ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

แหล่งข่าวเผย อิสราเอลแจ้งสหรัฐจะทำอะไรบางอย่างในเลบานอน!

เมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) กระทรวงสาธารณสุขเลบานอนแถลงว่า วิทยุมือถือ (ว.) ที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ใช้ ได้ระเ...

ว.ฮิซบอลเลาะห์ระเบิด แปะฉลาก ‘เมด อิน เจแปน’

ภาพถ่าย ว.ฮิซบอลเลาะห์ที่ระเบิดเมื่อวันพุธ (18 ก.ย.) พบฉลาก “ICOM” และ “เมด อิน เจแปน” สำนักข่าวรอยเ...

'บิลลี ไอลิช-โจ โรแกน' เชียร์'คามาลา แฮร์ริส'

เว็บไซต์บลูมเบิร์กรายงาน ป็อปสตาร์ “บิลลี ไอลิช” โพสต์คลิปเคียงข้างพี่ชายบนอินสตาแกรม กระตุ้นให้ผู้ต...

‘รถไฟ’ กระจายความเจริญ กรณีศึกษา: โฮคุริคุ ของญี่ปุ่น | กันต์ เอี่ยมอินทรา

ได้เห็นการเชื่อมต่อด้วยระบบรางระหว่างกรุงเทพกับลาวแล้วก็อดคิดถึงรถไฟต่างประเทศไม่ได้ เพราะรถไฟไทยเรา...