เวลาเพื่ออนาคต

เพราะผมเชื่อว่าปุถุชนทั่วไปนั้นสามารถสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ใดๆ ก็ได้ หรือจะขายสินค้าอะไรก็ได้ แต่เราไม่มีวันสร้างเวลาขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง คนที่ประสบความสำเร็จจึงล้วนเป็นคนที่บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดและรู้จักใช้เวลานั้นให้เป็นไปตามที่เขาต้องการให้เป็น

ความแตกต่างทางกายภาพของมนุษย์นั้นมีมากมายทั้งส่วนสูง น้ำหนัก ยิ่งเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เช่น ฐานะ ความเป็นอยู่ การศึกษา ฯลฯ ก็ยิ่งพบความแตกต่างมากขึ้นไปอีก แต่ไม่ว่าจะแตกต่างกันอย่างไรทุกคนก็ล้วนมีเวลาให้ใช้วันละ 24 ชั่วโมงเท่ากัน

ความสำเร็จของคนแต่ละคนจึงหมายถึงการใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นคนรุ่นใหม่ในธุรกิจเทคสตาร์ตอัพหรือเจ้าของกิจการวิ่งวุ่นทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย สะท้อนให้เห็นความขยันขันแข็งและพลังล้นเหลือของพวกเขา

หากความขยันทุ่มเทเป็นดัชนีของความสำเร็จธุรกิจของพวกเขาทุกคนก็น่าจะประสบความสำเร็จกันหมด แต่ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นแบบนั้น เพราะเราก็ยังเห็นคนขยันและทุ่มเทประสบปัญหาทางธุรกิจจนไปไม่ถึงฝั่งฝันกันมากมาย

การวิ่งไปมาเพื่อทำงานอย่างเต็มกำลังนั้น อาจเป็นสิ่งที่หลายๆ คนทำอย่างภาคภูมิใจเพราะนั่นดูเหมือนเป็นความสำเร็จในก้าวแรกๆ ที่ทำให้เรามีงานไหลมาเทมาให้ทำเยอะแยะมากมาย ซึ่งผมเองในอดีตที่ก่อตั้งบริษัทใหม่ๆ ก็เคยรู้สึกแบบนี้เช่นกัน

ก่อนที่จะวิ่งไปวิ่งมาเพื่อทำงานในลักษณะนี้อยู่สัก 3-4 ปีผมก็พบว่า การทำงานแบบนี้อาจไม่ส่งผลดีต่อการเติบโตของบริษัทในระยะยาว เพราะการวิ่งวุ่นทำงานอย่างไม่รู้เหนื่อยเช่นนี้อาจทำให้เราหลงลืมรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ และความพิถีพิถัน ตลอดจนอาจขาดการกลั่นกรองประเด็นต่างๆ ไปโดยไม่ตั้งใจ

แม้การทำงานแบบวิ่งวุ่นไปมาตลอดเวลานั้นจะไม่ผิด โดยฉพาะกับคนวัยหนุ่มสาวที่มีพลังงานล้นเหลือ แต่การหยุดทบทวนสิ่งที่ทำในแต่ละวันอาจทำให้เราบริหารเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่า

ผมเองจึงเริ่มจัดลำดับความสำคัญของงานที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งหากพิจารณาอย่างถ่องแท้ก็จะพบว่างานที่วิ่งไปวิ่งมาในแต่ละวันนั้นไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญหรือเป็นเรื่องเร่งด่วนเสมอไป หากดูกันจริง ๆ จะพบว่างาน 10 รายการที่ต้องทำนั้น มีงานสำคัญที่ต้องใส่ใจเต็มที่เพียง 2-3 งานเท่านั้น

นั่นหมายความว่าเราสามารถเลือกทำงานแค่ 20% ที่สำคัญที่สุด แต่งานเหล่านั้นอาจส่งผลมากถึง 80% ของผลลัพธ์ที่ได้ในวันนั้น ซึ่งแน่นอนว่างานที่น้อยลงทำให้เรามีเวลาเหลือในแต่ละวันมากขึ้นซึ่งสามารถจัดสรรเวลาดังกล่าวให้กับครอบครัว หรือใช้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ได้ทันที

งานที่ตัดทิ้งไป 80% นั้นไม่ได้หมายความว่าไม่สำคัญ แต่อาจเป็นงานที่ทำได้ในภายหลัง หรือเป็นงานที่รับปากผู้อื่นเอาไว้โดยไม่มีเงื่อนไขเรื่องเวลามาเป็นตัวกำหนดจึงไม่ต้องเร่งรีบทำให้เสร็จในวันนั้นก็ได้ เราจึงพบว่าการทำงานแบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้พลังมากเหมือนในอดีต แต่ใช้ภูมิปัญญาจัดการก็สามารถได้ประสิทธิภาพไม่ต่างจากเดิมเลย

การใช้เวลาให้เต็มประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องของการใช้เวลาอย่างชาญฉลาด และคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตทุกคนก็ล้วนใช้เวลาได้อย่างฉลาดและคุ้มค่าที่สุดเสมอ 

…ยังมีข้อคิดอื่นๆให้ติดตามต่อในสัปดาห์หน้าครับ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...