“วราวุธ” ลุยจัดระเบียบขอทาน-คนเร่ร่อน แนะประชาชนอย่าให้เงิน ย้ำผิดกฎหมาย

รมว.พม. ส่งทีม ศรส. จัดระเบียบขอทานสถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช หลังถูกร้องเรียน พบคนเร่ร่อน 3 ราย และที่จตุจักรอีก 2 ราย ย้ำขอทานผิดกฎหมาย แนะทางแก้ปัญหาคืออย่าให้เงิน 

วันที่ 27 ก.ค. 67 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้มอบนโยบายการจัดระเบียบขอทานให้กับหน่วยงานสังกัดกระทรวงพม. ทั่วประเทศเพื่อช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหาขอทาน โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายอย่างเต็มที่ อีกทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ประชาชนว่าการขอทานผิดกฎหมาย และการให้ทานอาจเสี่ยงต่อการสนับสนุนธุรกิจบาปและการค้ามนุษย์ ล่าสุด เมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 26 ก.ค. ที่ผ่านมา กระทรวง พม. โดยศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทีมปฏิบัติการหน่วยเคลื่อนที่เร็วจากศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตคลองเตย และเขตวัฒนา สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง ลงพื้นที่จัดระเบียบขอทานและคนเร่ร่อน บริเวณสถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช เนื่องจากมีกรณีร้องเรียนพบคนเร่ร่อนทำร้ายประชาชน 

นายวราวุธ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ดังกล่าว ศรส.รายงานว่าไม่พบผู้ทำการขอทาน แต่พบคนเร่ร่อนในที่สาธารณะ 3 รายเป็นคนไทยทั้งหมด จึงเชิญตัวไปสถานีตำรวจ เพื่อทำการคัดกรองเบื้องต้น ทั้ง 3 ราย ยินยอมเข้ารับการช่วยเหลือคุ้มครองของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ ทีมปฏิบัติการหน่วยเคลื่อนที่เร็วจากศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร บ้านมิตรไมตรีสายไหม ได้ลงพื้นที่จัดระเบียบขอทานและคนเร่ร่อน บริเวณจตุจักร ซึ่งไม่พบผู้ทำการขอทาน แต่พบคนเร่ร่อน 2 ราย แต่ทั้ง 2 ราย ปฏิเสธเข้ารับการช่วยเหลือคุ้มครองของศูนย์ฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่พยายามพูดคุยถึงการช่วยเหลือต่างๆ ของศูนย์ฯ และยังพบผู้แสดงความสามารถ 2 ราย ที่มีบัตรผู้แสดงความสามารถของกระทรวง พม. ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้พูดคุยทำความเข้าใจถึงการขออนุญาตสำนักงานเขต เพื่อทำการแสดงในที่สาธารณะอย่างถูกต้อง

...

นายวราวุธ กล่าวว่า การจัดระเบียบขอทานและคนเร่ร่อน กระทรวง พม. ได้ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขอเน้นย้ำว่าการขอทานผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 และการแก้ปัญหาขอทานที่ดีที่สุดคือ เราไม่ควรให้เงินด้วยความสงสาร และต้องขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ หากพบเห็นขอทาน ขอให้โทรแจ้งมาที่ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน(ศรส.) กระทรวง พม. ผ่านสายด่วน 1300 บริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...